หลักสูตรท้องถิ่น


หลักสูตรท้องถิ่น

      เนื่องจากหลักสูตรที่ใช้ในประเทศไทยเป็นหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากส่วนกลาง และได้ใช้หลักสูตรเดียวกันทั่วประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนทั่วประเทศ มีมาตรฐานทางด้านการศึกษาอยู่ในระดับเดียวกัน การพัฒนาหลักสูตรเพื่อใช้กว้างขวางในระดับประเทศเช่นนี้จึงมีเนื้อหาสาระกว้าง ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นอยู่มาก กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้เปิดโอกาสให้ท้องถิ่นพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นได้โดยการปรับ เพิ่ม ขยาย หรือสร้างหลักสูตรย่อยในระดับท้องถิ่นขึ้นมาเสริมหลักสูตรแม่บท เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น

หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง "การนำหลักสูตรแม่บทมาปรับ ขยาย หรือการสร้างหลักสูตรย่อยขึ้นมาเสริมหลักสูตรแม่บท โดยให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น เพื่อผู้เรียนจะได้นำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในชีวิตจริง หรือเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน" (http://dnfe5.nfe.go.th/localdata/RSouth/KraBe/Curri.htm)

กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากสภาพปัญหาของชุมชน

      การสำรวจสภาพปัญหาชุมชน

      การวิเคราะห์สภาพปัญหาชุมชนและกำหนดความต้องการของผู้เรียน

      การเขียนแผนการสอน

      การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

      การประเมินผล

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากหลักสูตรแกนกลาง

      การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางและวิเคราะห์สภาพปัญหาของชุมชน

      การจัดหมวดหมู่สภาพปัญหาและความต้องการที่ส่งผลต่อผู้เรียน

      การเขียนแผนการสอน

      การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

      การประเมินผล

(http://209.85.175.104/search?q=cache:LOWa49QLj9EJ:student.swu.ac.th/ed481010056/curiculum.doc+%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99+filetype:doc&hl=th&ct=clnk&cd=1&gl=th)

ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจสภาพปัญหาชุมชน 

     การสำรวจสภาพปัญหาชุมชนคือ การศึกษาข้อมูลความเป็นอยู่ของชุมชนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ผู้สำรวจได้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เช่น ครูการศึกษานอกโรงเรียนทุกประเภท เจ้าหน้าที่ และหรือผู้เรียน โดยสามารถดำเนินการได้ดังนี้

1.       ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ซึ่งเป็นข้อมูลทุติยภูมิ หรือข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้แล้ว

     2. ศึกษาข้อมูลโดยการเข้าไปสำรวจจริง เป็นข้อมูลปฐมภูมิที่รวบรวมโดยตรงจากชุมชน ที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นข้อมูลที่แสดงถึงสภาพที่แท้จริงของชุมชนในขณะนั้นๆ

กระบวนการสำรวจสภาพปัญหาชุมชน

1. วางแผนการสำรวจสภาพปัญหาชุมชน

     1.1 เตรียมความพร้อมในด้านเนื้อหา ประเด็นการสำรวจ

     1.2 เตรียมอุปกรณ์ในการสำรวจ เช่นแบบบันทึกข้อมูล,เครื่องบันทึกเสียง,กล้องถ่ายรูป ตลอดจนเทคนิคต่างๆที่จะนำไปใช้ในการสำรวจข้อมูลให้มีความเหมาะสมกับความต้องการที่จะใช้ข้อมูลนั้นๆการสำรวจสภาพปัญหาของชุมชนอาจใช้หลายๆเทคนิคผสมผสานกันเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง สมบูรณ์และเป็นรูปธรรม เช่น สัมภาษณ์

แบบสอบถาม หรือการสังเกต

ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์สภาพปัญหาชุมชนและความต้องการของผู้เรียน

ขั้นตอนที่ 3 การเขียนแผนการสอน

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจะเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ตามสภาพจริง โดยอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า ผู้เรียนจะรู้อะไร อยากทำอะไรและสามารถจะทำอะไรได้ แทนที่ผู้จัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน (ครู) คิดว่าตนเองชอบอะไร ต้องการสอนอะไร และต้องการให้ผู้เรียนเป็นอะไร ดังนั้นครูจึงต้อง ร่วมกับผู้เรียนในการเขียนแผนการสอน (หลักสูตรท้องถิ่น) ซึ่งมีกระบวนการตามลำดับดังนี้

1. การกำหนดหัวข้อเนื้อหา ( Theme ) การเขียน หัวข้อเนื้อหาหรือชื่อของหลักสูตร โดย

     1.1 หัวเรื่องจากความต้องการของชุมชน หรือผู้เรียนที่ครูและผู้เรียนแก้ไขได้

     1.2 เขียนในรูปของประโยคหรือวลีที่สื่อความหมายถึงผลผลิต ( Output ) ที่ต้องการ

     1.3 ข้อความกระชับได้ใจความ ไม่สั้นหรือยาวเกินไป มีหลักคำ (Keywords)ที่สามารถวัดหรือประเมินได้ และมีประเด็นชัดเจน

2. การเขียนสาระสำคัญ ( Concept ) สาระสำคัญหมายถึงบทสรุป ใจความสำคัญของเรื่อง เน้นถึงความคิดรวบยอด หลักการ ทักษะหรือลักษณะนิสัยที่ต้องการปลูกฝังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน แต่ละหัวข้อเรื่องนั้นเป็นหัวใจหรือตะกอนของความรู้ที่จะติดตัวผู้เรียนไปใช้ในอนาคต ซึ่งจะมีวิธีการเขียนดังนี้

     2.1 เขียนในรูปประโยคบอกเล่า ( มีภาคประธานและภาคแสดง ) โดยสรุปลักษณะเด่นหรือเป็นสาระของเนื้อหาที่จะสอน หรือการ

บอกเหตุผล หรือการให้คำนิยาม หรือคำจำกัดความ หรือบอกประโยชน์หรือคุณลักษณะของผู้เรียนที่พึงประสงค์ หรือบอกโทษหรือผลร้ายที่ผู้เรียนจะได้รับหรือเขียนเป็นสุภาษิต คติ หรือคำคม

     2.2 เขียนในลักษณะวงกว้าง หรือวงแคบก็ได้ ขึ้นอยู่กับผู้เรียนและครู ซึ่งจะวัดและประเมินผลเป็นรูปธรรมได้อย่างไร

     2.3 สาระสำคัญในแต่ละเรื่อง อาจมีประเด็นที่หลากหลายซึ่งผู้เขียนสาระสำคัญต้องกำหนดว่าอะไรคือความต้องการที่จะให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน

     2.4 การเขียนสาระสำคัญ ต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์ปลายทาง

3. การกำหนดขอบเขตเนื้อหา เป็นการระบุว่าหัวข้อเนื้อหานั้นครอบคลุมและสัมพันธ์กับวิชาใดสามารถระบุจำนวนชั่วโมงในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ และบูรณาการการเรียนการสอน

     3.1 ผู้เขียนหลักสูตรต้องรู้ขอบเขตโครงสร้างของหลักสูตรแกนกลาง (สายสามัญ,อาชีพ)ที่มีอยู่

     3.2 เขียนขอบเขตของเนื้อหาให้บูรณาการองค์ความรู้ครอบคลุมหลักสูตรที่มีอยู่ในจุดประสงค์ของหลักสูตรนั้นๆ

     3.3 กำหนดระยะเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งการศึกษาด้วยตนเองและศึกษาจากกิจกรรมการพบกลุ่ม

4. การกำหนดจุดประสงค์ทั่วไปหรือจุดประสงค์ปลายทาง เป็นจุดประสงค์ที่คาดว่าผู้เรียนเมื่อเรียนจบในเนื้อหาวิชานั้นๆแล้ว จะทำอะไรได้บ้าง หรือมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างไร ควรเขียนให้ครอบคลุมด้านความรู้ ทักษะและทัศนคติที่ต้องการให้เกิดขึ้น

กับผู้เรียน โดยมีหลักการเขียนดังนี้

     4.1 ผู้เขียนจะต้องตระหนักถึงมวลประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมโดยยึดผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลาง

     4.2 เขียนในรูปของประโยค หรือ วลี ที่คาดว่าต้องการให้ผู้เรียนเป็นเช่นไร

     4.3 การเขียนต้องมีคำหลัก (Key Words) ที่บอกจุดประสงค์ที่เป็นความคาดหวังชัดเจน และครอบคลุมด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน

5. การกำหนดจุดประสงค์เฉพาะหรือจุดประสงค์นำทาง เป็นจุดประสงค์ย่อย หรือเป้าหมายของการเรียนการสอนที่ปรารถนาจะให้เกิดกับผู้เรียนในการเรียนการสอนแต่ละหัวข้อเรื่องย่อยโดยมุ่งเน้นที่จะพัฒนาผู้เรียนในด้านความรู้ความสามารถ ทักษะปฏิบัติ ทัศนคติและกระบวนการจัดการซึ่งนิยมเขียนในลักษณะของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถประยุกต์สู่การเรียนรู้หรือใช้กับชีวิตจริงได้

มีหลักการเขียนโดย

     5.1 เขียนบอกพฤติกรรมที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เช่น บอก แสดง อธิบาย ทำในหัวข้อย่อยแต่ละเรื่องได้

     5.2 เขียนพฤติกรรมที่ผู้เรียนสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมการปฏิบัติการวัดผล ประเมินผลได้

     5.3 เขียนให้เป็นพฤติกรรมย่อยที่เป็นรายละเอียด อธิบายเพิ่มเติมจุดประสงค์ทั่วไปหรือจุดประสงค์ปลายทาง

6. การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้ดำเนินการโดยวิธีของทฤษฎีเชิงระบบ ( System Approach )

     6.1 ครูและผู้เรียน ร่วมกันรวบรวมความรู้ ซึ่งเป็นขั้นตอนของการจัดกิจกรรมหรือ Input ( I ) แก่ผู้เรียน

     6.2 ผู้เรียน แสดงผลของความรู้ที่ได้รับไปอภิปรายหรือคิดค้นวิธีปรับ / ประยุกต์ ใช้ในวิถีชีวิตของผู้เรียน ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนของกระบวนการหรือ Process ( P )

     6.3 ผู้เรียน แสดงผลของความรู้ หรือการเรียนรู้ที่สามารถประยุกต์ใช้ กับชีวิต ซึ่งเป็นขั้นตอนของผลผลิตหรือ Output ( O )

7. สื่อการเรียนการสอน เป็นการระบุว่าในการเรียนการสอนตามหัวข้อเนื้อหา ( Theme ) นั้นๆ จะต้องใช้สื่ออุปกรณ์อะไรบ้าง จะได้สื่อและอุปกรณ์มาด้วย วิธีใด และระบุตามจุดประสงค์เฉพาะเป็นรายข้อ โดยมีหลักการเขียนดังนี้

     7.1 ระบุสื่อการเรียนการสอนที่ต้องใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน ทุกจุดประสงค์เฉพาะเนื้อหาย่อยแต่ละเรื่อง

     7.2 ระบุชื่อเอกสาร สื่อโสตทัศนูปกรณ์ที่ต้องการใช้เป็นรายจุดประสงค์เฉพาะโดยกำหนดวิธีการใช้สื่อนั้นๆ

8. การประเมินผล เป็นการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนได้เรียนตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยการใช้แฟ้มสะสมงาน

ซึ่งเป็นผลการทำงานที่ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ แล้วเก็บเข้าแฟ้มสะสมงานไว้ ครูให้ผู้เรียนประเมินชิ้นงานของตนเอง โดยการเลือกชิ้นงาน

ที่ดีที่สุดเพื่อไว้ประเมินผลต่อไปโดยมีหลักการดังนี้

     8.1 เขียนวิธีการประเมินผล โดยจำแนกตามจุดประสงค์เฉพาะของเนื้อหาแต่ละเรื่องย่อย

     8.2 เขียนวิธีการประเมินผลที่สามารถตรวจสอบพฤติกรรมของผู้เรียนว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร อย่างเป็นรูปธรรมในกระบวนการที่ผู้เรียนแสดงผลการเรียนรู้ ( O

(http://209.85.175.104/search?q=cache:sxEg3mhDKdEJ:pirun.ku.ac.th/~g4786027/download/content/content1/content11/content112/content112.1/content112.1.2.doc+%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99+filetype:doc&hl=th&ct=clnk&cd=8&gl=th)

                จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า  หลักสูตรท้องถิ่นมีความสำคัญอย่างมากในการจัดการศึกษาที่ต้องเกี่ยวข้องกับชุมชน เพราะชุมชน เป็น สังคมขนาดกลางที่เชื่อมโยงสังคมขนาดเล็ก คือบ้าน  โรงเรียน  กับสังคมใหญ่ คือประเทศชาติ และโลก  ดังนั้นในการพัฒนาคนให้เป็นผู้ที่มีคุณภาพ  สามารถดำรงชีวิต อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขนั้น  ชุมชนหรือท้องถิ่นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  การส่งเสริมให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ตามสภาพจริงที่เป็นอยู่ในสังคมนั้น ๆ  จะช่วยให้คนสามารถนำความรู้ไปใช้ได้อย่างแท้จริงสามารถดำรงอยู่ซึ่งวัฒนธรรม  และวิถีชีวิตตามสภาพของแต่ละท้องถิ่น  ขณะเดียวกัน  สามารถนำเอาทรัพยากรในท้องถิ่นนั้น ๆ มาใช้ได้อย่างมีคุณค่า  เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น  ตระหนักถึงคุณค่า  และรู้จักวิธีการดูและรักษาสิ่งแวดล้อมรวมถึงทรัพยากรต่าง ๆ ให้คงอยู่กับชุมชน

 

แหล่งอ้างอิง

กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของชุมชน .  [ ออนไลน์  ].  เข้าถึงได้จาก: http://dnfe5.nfe.go.th/localdata/RSouth/KraBe/Curri.htm

หลักสูตรท้องถิ่น .  [ ออนไลน์  ].  เข้าถึงได้จาก: http://209.85.175.104/search?q=cache:LOWa49QLj9EJ:student.swu.ac.th/ed481010056/curiculum.doc+%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99+filetype:doc&hl=th&ct=clnk&cd=1&gl=th กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น.  [ ออนไลน์  ].  เข้าถึงได้จาก: http://209.85.175.104/search?q=cache:sxEg3mhDKdEJ:pirun.ku.ac.th/~g4786027/download/content/content1/content11/content112/content112.1/content112.1.2.doc+%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99+filetype:doc&hl=th&ct=clnk&cd=8&gl=th

 

คำสำคัญ (Tags): #หลักสูตร
หมายเลขบันทึก: 201190เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2008 18:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท