ศักราช
อาจารย์ ศักราช ลุงปั๋น ฟ้าขาว

ความเชื่อข้อห้ามขึดล้านนา : อดีต ปัจจุบัน อนาคต(๓)


ความเชื่อทางพุทธศาสนาของชาวล้านนามีพื้นฐานมาจากไสยศาสตร์ และเป็นการผสมสานระหว่างศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์

  ความเชื่อเรื่องพระธาตุ ชาวล้านนาเชื่อว่าพระธาตุหรือกระดูกของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นจึงประดิษฐานพระธาตุ สถานที่อันทรงเกียรติ จารึกล้านนาได้ระบุว่าพระธาตุส่วนต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้าได้นำไปประดิษฐาน ที่แห่งใดในบางส่วนของดินแดนล้านนาเพื่อให้เป็นที่สักการบูชาของชาวล้านนา

          ความเชื่อเรื่องเทวดาพุทธ คำสอนของพระพุทธเจ้าบางส่วนมีเรื่องราวเกี่ยวกับเทวดาซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคุณงามความดี ดังนั้นชาวล้านนาจึงมีความเชื่อและศรัทธาในเทวดาโดยแสดง

ความเคารพยกย่องบูชา ดังปรากฏข้อความในจารึกล้านนาบางส่วนที่จารึกชื่อของเทวดาเพราะเชื่อว่าเทวดาจะปกป้องคุ้มครองชาวล้านนา

                  ความเชื่อเรื่องการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล ชาวล้านนาเชื่อว่าผลบุญที่ได้จากการทำบุญ

ทำกุศลจะสามารถอุทิศส่วนบุญเหล่านั้นให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ และผู้ที่ยังมีชีวิตยู่ได้ ดังปรากฏข้อมูล

ในจารึกล้านนาเป็นจำนวนมากที่มีการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล ให้แก่กษัตริย์เชียงใหม่ และพระราชมารดาให้มีอายุยืนนาน อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้เครือญาติ หรือแม้แต่สรรพสัตว์ที่ตนเคยได้ทำร้าย ตลอดจนอุทิศให้เทวดา และวิญญาณต่าง

                  ความเชื่อในคำสอนของพระพุทธศาสนา ทำให้ชาวล้านนามีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับการทำบุญ ทำกุศล ส่งผลให้สังคมล้านนามีความสงบสุข ร่มเย็น และสามารถปรับตัว ปรับใจให้เข้ากับสภาวการณ์บ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างเหมาะสม โดยมีพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจ

                  นอกจากความเชื่อในคำสอนของพระพุทธศาสนาแล้ว ชาวล้านนายังมีความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ ดังปรากฏในจารึกล้านนา เช่น เรือนยันต์ และเสื้อเมือง เป็นต้น

          เรือนยันต์ คือ คาถาที่ใช้สำหรับป้องกันภัย หรือขอความเป็นสิริมงคลให้แก่การทำ

กิจกรรมต่างๆ ในจารึกล้านนาปรากฏเรือนยันต์อยู่ด้านบนเหนือข้อความ และอยู่ใกล้ กับวงดวง

แสดงให้เห็นว่าชาวล้านนามีความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ทำ

กุศลกิจกรรม

                   เสื้อเมือง คือวิญญาณที่คอยปกป้องคุ้มครองผู้คนในสถานที่ต่างๆ เช่น เสื้อเมือง คือ

วิญญาณของอดีตผู้ครองเมืองที่จะคอยปกป้องคุ้มครองผู้คนที่อยู่ในเมืองให้อยู่อย่างสงบสุข               เสื้อบ้าน คือวิญญาณของบรรพบุรุษในหมู่บ้านที่คอยคุ้มครองดูแลชาวบ้าน เป็นต้น

                   ในขณะที่มณี  พยอมยงค์ (2537, หน้า 8-13) กล่าวว่า ชาวล้านนานิยมไสยศาสตร์มีอยู่เป็นอันมาก ทั้งที่ปรากฏในวรรณกรรมและความเป็นอยู่ของชาวบ้าน มีการตู้หรือการทำคุณไสย มีการฝังรูป ทำเสน่ห์ มีการใช้เวทมนตร์คาถาประกอบ ตลอดถึงความเชื่อที่คนล้านนานิยมนับถือต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจลึกลับเหนือมนุษย์ธรรมดา มีการบนบานสารกล่าว การอ้อนวอนขอพรต่อ   พระอินทร์และเทวดา หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ เพื่อขอให้ช่วยเหลือ นอกจากนั้นความเชื่อเรื่องยักษ์ เรื่องของวิเศษยังปรากฏในวิถีชีวิตของชาวล้านนาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น วรรณกรรมของล้านนาไทย พิธีกรรมการบวงสรวง การขอขมาเป็นต้น

            ความเชื่อของชาวล้านนาในอดีตเชื่อว่าในโลกนี้เต็มไปด้วยเสนียดจัญไร อาถรรพ์สามารถที่จะทำให้เดือดร้อนได้ เมื่อเกิดขึ้นจะต้องแก้ไขและป้องกันมิให้เกิดด้วยการทำพิธีปัดรังครวญไล่เสนียดจัญไร ด้วยน้ำพระพุทธมนต์ จากการสวดของพระสงฆ์ และนำพุทธมนต์นั้นต้องใช้ส้มป่อย ซึ่งถือว่าเป็นของวิเศษที่ใช้เป็นเครื่องขับไล่เสนียดจัญไรได้

                  นอกจากนั้นในวิถีชีวิตของชาวล้านนา มีคนส่วนมากมีความเชื่อโหราศาสตร์ เชื่อการทำนายทายทักในเรื่องอนาคตของตนเอง โดยมีโหรเป็นผู้มีบทบาทในการทำนาย เป็นความจริงที่ต้องเชื่อถือเป็นค่านิยมทางความเชื่อที่สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ความเชื่อทางโหราศาสตร์จะสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องฤกษ์ยาม ความเชื่อในโชคชะตา ความเชื่อในเรื่องความฝันอีกด้วย

                   กล่าวได้ว่าความเชื่อทางพุทธศาสนาของชาวล้านนามีพื้นฐานมาจากไสยศาสตร์ และเป็นการผสมสานระหว่างศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ การปฏิบัติพิธีกรรมต่าง ๆ จึงผสมกลมกลืนกันในพิธีกรรมต่าง ๆ ลักษณะความเชื่อของชาวล้านนา จะเป็นไปตามสภาพของแต่ละชุมชน อาจจะมีความเหมือนหรือคล้ายกัน หรืออาจจะแตกต่างกันในรายละเอียดของแต่ละท้องถิ่น

หมายเลขบันทึก: 201012เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2008 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท