เลิกเหล้า เลิกบุหรี่ แบบเลิกทาส


แม้จะใช้เวลานานถึง 100 ปี จึงจะเสร็จสมบูรณ์ แต่จะค่อย ๆ ได้ผลตามลำดับ จะส่งผลอันดีงามแก่ประเทศชาติอย่างมหาศาล เพราะมาตรการข้างต้นเป็นมาตรการในการหลีกเลี่ยงอบายมุขระดับชาติ

เลิกเหล้า เลิกบุหรี่ แบบเลิกทาส

ธวัชชัย  นาคะบุตร 29 กรกฎาคม 2551

ที่ผ่านมาภาคราชการและภาคเอกชนมีมาตรการที่ช่วยลดการสูบบุหรี่และการดื่มเหล้าหลายมาตรการ แต่ยังมีมาตรการอื่น ๆ ที่น่าพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

      1. มาตรการทางกฎหมาย

1.1    ขึ้นทะเบียนผู้ดื่มเหล้า ผู้สูบบุหรี่ มีบัตรประจำตัวผู้ดื่มเหล้าขึ้นทะเบียน บัตรประจำตัวผู้สูบบุหรี่ขึ้นทะเบียนเพื่อใช้ในการขออนุญาตซื้อเหล้า บุหรี่  ผู้ที่ไม่ขึ้นทะเบียนภายในเวลาที่กำหนดจะไม่มีสิทธิ์ซื้อและบริโภค

1.2    ห้ามคนที่เกิดใหม่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และห้ามชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทยด้วย (แต่ถ้าห้ามไม่ได้ ด้วยขัดต่อกฎหมายต่างประเทศ ก็ห้ามบริโภคในที่สาธารณะ ซึ่งน่าจะประกาศห้ามได้ในเวลาไม่กี่ปี ให้เวลาพวกติดเหล้า บุหรี่ได้ปรับตัวหน่อย สัก 5-10 ปี ออกกฎหมายออกมาก่อน แต่รอเวลาบังคับใช้) ไม่ต้องสนใจองค์กรหรือพวกสิทธิมนุษยชน ถ้าเขาคัดค้าน เพราะเรามั่นใจว่า แม้จะถูกมองว่าเป็นการขัดต่อสิทธิมนุษยชน แต่หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าเป็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน มิให้ถูกละเมิดโดยผู้ดื่มเหล้า และผู้สูบบุหรี่ต่างหาก

1.3    ควบคุมการจำหน่ายเหล้าและบุหรี่ให้กับผู้ที่ขึ้นทะเบียนไว้ จำกัดจำนวนเหล้าและบุหรี่ต่อคน มีบันทึกการจำหน่าย มีการลงลายมือชื่อของผู้จำหน่าย  การลงลายมือชื่อของผู้บริโภคที่ขึ้นทะเบียนไว้

1.4    ห้ามดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ มีโทษปรับเป็นเงิน โดยค่อย ๆ ควบคุมที่ละน้อย ๆ โดยประกาศล่วงหน้าว่าปีใดจะควบคุมอะไรบ้าง อย่างไร  เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบล่วงหน้าเพื่อการปรับตัว โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายเหล้าและบุหรี่ สถานบันเทิง ทำแบบเลิกทาส ใช้เวลา สัก 20-100 ปี คนที่ดื่มเหล้า คนที่สูบบุหรี่ในปัจจุบันคงเสียชีวิตหมดแล้ว ประเทศไทยก็จะไม่มีคนดื่มเหล้า คนสูบบุหรี่อีกต่อไป (ปี พ.ศ. 2536 ผู้เขียนได้ไปอบรมที่รัฐมิสซูรี่ สหรัฐอเมริกา มีกฎหมายห้ามดื่มเหล้าในที่สาธารณะ)

1.5    บังคับให้ผู้ติดเหล้า ติดบุหรี่พบแพทย์เพื่อรักษา ผู้ที่ไม่รักษาถือว่ามีความผิด อาจลงโทษด้วยการ ปรับ

1.6    นำเงินปรับที่ได้มาใช้ในการรักษา การรณรงค์เพื่อการลด ละ เลิกเหล้าและบุหรี่ กีฬา การออกกำลังกายและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

1.7    กำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับราชการ ผู้สมัครเข้าเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ โดยเริ่มบังคับใช้กับประชาชนที่เกิดใหม่เป็นต้นไป ประชาสัมพันธ์ให้ทราบแต่เนิน ๆ ตั้งแต่กฎหมายเริ่มประกาศใช้  ซึ่งต้องออกกฎหมายก่อนการเกิดของผู้ถูกบังคับใช้ เช่น ถ้ากฎหมายประกาศใช้ในปี 2555 ให้บังคับใช้กับคนไทยที่เกิดหลังกฎหมายประกาศใช้

2.       มาตรการทางสังคม

2.1    รณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้เห็นโทษของเหล้า บุหรี่  ประโยชน์ที่จะได้รับจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดการต่อต้าน

2.2    ให้รางวัลผู้ลด ละ เลิกดื่มเหล้า ผู้ลด ละ เลิกสูบบุหรี่ เช่น มอบเกียรติบัตร ประกาศยกย่องทางสื่อมวลชน ประกาศยกย่องที่สำนักงานของหมู่บ้าน ชุมชน ศาลาวัด

2.3    เชิญชวนประชาชนเป็นอาสาสมัครเฝ้าระวังเหล้าบุหรี่โดยไม่ต้องสมัคร เพียงแต่แจ้งเบาะแสให้กับตำรวจ เจ้าหน้าที่ กรรมการระดับหมู่บ้านหรือชุมชน นักเรียนอาจแจ้งครู  อาจารย์หรือตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

2.4    ส่งเสริมการกีฬาเพื่อมวลชนและการออกกำลังกายของประชาชน เน้นการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกายเป็นประจำ สร้างลานกีฬา สนามกีฬาหลาย ๆ ชนิดกีฬาให้เพิ่มมากขึ้น

2.5    ส่งเสริมให้มีกิจกรรมนันทนาการในชุมชนเป็นประจำทุกวันหรือทุกสัปดาห์ โดยห้ามผู้เข้าร่วมกิจกรรมดื่มเหล้าและสูบบุหรี่  อาจจัดโดยหมู่บ้าน เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล  สถานศึกษา หรือร่วมกันจัด หรือพลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดงาน เน้นการจัดงานแบบประหยัด เน้นในระดับหมู่บ้านและชุมชน  อาจเป็นการละเล่น การแสดงที่ไม่ต้องใช้เครื่องเสียง หรือถ้าใช้เครื่องเสียงก็ใช้เครื่องเสียงของหมู่บ้านหรือชุมชน ไม่ต้องเสียค่าจ้าง เสียแต่ค่าไฟฟ้าซึ่งไม่มาก ไม่ต้องเน้นการแต่งกายที่สิ้นเปลื่อง เน้นที่การแสดงออกและการมีส่วนร่วมของประชาชน คล้ายกับรายการลานบ้านลานเมือง หรือรายการเสวนาประชาชนของอาจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง แต่เปลี่ยนมาเป็นการแสดง ดนตรี การละเล่น ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนมีกิจกรรมเพื่อช่วยผ่อนคลายแทนการดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การไปเที่ยวสถานบันเทิงซึ่งมีเหล้าและบุหรี่

2.6    วางแผนลดการผลิตเหล้าและบุหรี่และปรับเปลี่ยนงานของผู้เกี่ยวข้อง  เมื่อกฎหมายการห้ามประชาชนที่เกิดใหม่ ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ ความต้องการบริโภคเหล้าและบุหรี่จะลดลงตามลำดับ รัฐ เอกชนและประชาชนที่เกี่ยวข้องต้องวางแผนรองรับ ปรับเปลี่ยนงาน อาทิ ชาวไร่ยาสูบ เปลี่ยนไปทำเกษตรประณีต เกษตรธรรมชาติ พนักงานยาสูบเปลี่ยนไปทำงานในรัฐวิสาหกิจอื่น ผู้จำหน่ายเหล้าและบุหรี่เปลี่ยนไปจำหน่ายสินค้าอื่นแทน

     

     3. มาตรการทางเศรษฐกิจ

3.1    ลดภาษีให้ผู้เลิกดื่มเหล้า ผู้เลิกสูบบุหรี

3.2    ให้รางวัลผู้แจ้งเบาะแสผู้ที่ละเมิดกฎหมาย ให้รางวัลเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เป็นร้อยละของค่าปรับที่เรียกเก็บได้

หมายเหตุ

       1. การออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นเรื่องยากและท้าทาย แต่หากรัฐบาลมีความตั้งใจจริง และไม่มีผลประโยชน์ซ้อนเร้นอยู่กับนายทุน หน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ที่เสียประโยชน์จากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  การประชาสัมพันธ์ การให้การศึกษาแก่ประชาชน และการรณรงค์ในเรื่องนี้ ย่อมสามารถพลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ในที่สุด จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และเป็นแบบอย่างต่อประเทศอื่น ๆ หากเราทำได้สำเร็จ

        2. แม้จะใช้เวลานานถึง 100 ปี จึงจะเสร็จสมบูรณ์ แต่จะค่อย ๆ ได้ผลตามลำดับ จะส่งผลอันดีงามแก่ประเทศชาติอย่างมหาศาล เพราะมาตรการข้างต้นเป็นมาตรการในการหลีกเลี่ยงอบายมุขระดับชาติ  ระดับประเทศ เป็นการให้การศึกษาและพัฒนาคนอย่างยั่งยืน คนไทย ชาติไทย ประเทศไทยจะเจริญขึ้น พัฒนาขึ้นอย่างแน่นอน แม้จะดูเผิน ๆ เหมือนว่าเป็นวิธีการบังคับ การลิดรอนสิทธิส่วนบุคคล หรือสิทธิมนุษยชนก็ตาม แต่หากพิจารณาให้รอบครอบในกรอบของศีลธรรมอันดีแล้ว เป็นการป้องกันบุคคล ประชาชนหรือมนุษย์มิให้ตกในอันตรายและความเสื่อมต่างหาก

www.tawatchainakabut.multiply.com

www.naturalagri.multiply.com

หมายเลขบันทึก: 200974เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2008 20:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

     ที่ผมทำตอนนี้  ผมทำโครงการรณรงค์ "งดเหล้าเข้าพรรษา"

     ถึงเป็นช่วงสั้นๆ แค่ 3  เดือน ก็ยังดี

     ผมประกาศเชิญชวนให้เข้าร่วมโครงการ

     เมื่อพ้น 3 เดือน โดยไม่ดื่มเหล้า จะได้เกียรติบัตร จาก ท่านผู้ว่า

     (ผมลงชื่อเข้าร่วมโครงการเป็นคนแรกครับ)

                          ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับ small man ดีครับ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ผมว่ามันเป็นเรื่องใหญ่มาก ๆ ที่ควรเร่งแก้ไขกันอย่างจริงจังครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท