หลักสูตรเพื่อพัฒนาผูนําการบริหารการเปลี่ยนแปลง” ว


หลักสูตรเพื่อพัฒนาผูนําการบริหารการเปลี่ยนแปลง” ว

หลักสูตรเพื่อพัฒนาผูนําการบริหารการเปลี่ยนแปลงวันที ่ 1-6 สิงหาคม 2548

แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545 -2559) ยกให้ "คน" เป็นหัวใจการพัฒนา ซึ่งหมายถึงผลสำเร็จของการพัฒนาต่อจากนี้ไป จะต้องวัดได้ที่ตัว "คน" เป็นสำคัญ แสดงออกด้วยคุณภาพชีวิต ความอยู่ดีมีสุข ของประชาชนคนไทยวัตถุประสงค์การพัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดุล เพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนานี้ ถูกกำหนดไว้ด้วยแนวนโยบายเพื่อการดำเนินการ 4 ประการ ครอบคลุมคนทุกคนตั้งแต่แรกเกิดไปจนตลอดชีวิตให้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ มุ่งทั้งพัฒนาการในการเรียนรู้ ความงอกงามในศีลธรรมจรรยา และการเพิ่มพูนสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแต่ละแนวนโยบาย มีสาระประกอบด้วย เป้าหมาย กรอบและยุทธศาสตร์การดำเนินงาน ซึ่งในที่นี้ขอหยิบยกมาเฉพาะเรื่องหลักๆ และเรื่องใหม่ๆ ที่จะต้องดำเนินการ โดยสรุปดังนี้
แนวนโยบายประการที่
1 พัฒนาทุกคนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิตให้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ทำให้ครอบครัวเป็นสถาบันเรียนรู้แห่งแรกของทุกคน ฝึกอบรมให้ความรู้แก่พ่อแม่และผู้เตรียมตัวเป็นพ่อแม่ เด็กปฐมวัยอายุ 0-5 ปี ได้รับการเตรียมความพร้อมในทุกด้านคนไทยทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานสิบสองปี ด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย กับต้องจัดให้มีการศึกษาเฉพาะทาง การศึกษาสำหรับผู้มีความต้องการพิเศษ การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์มีมาตรการสนับสนุนให้ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา หรือได้รับการฝึกอบรมวิชาชีพอย่างน้อย 1 วิชาเพิ่มทักษะก่อนเข้าสู่การทำงาน
แนวนโยบายประการที่
2 ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพพัฒนาหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรท้องถิ่น สร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างบูรณาการองค์ความรู้ทุกด้าน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ได้เลือกเรียนในสิ่งที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ ได้ฝึกปฏิบัติในสภาพที่เป็นจริง เกิดการใฝ่รู้ รู้จักคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาด้วยตนเอง นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันปฏิรูปครู ให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษาทุกคนได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จัดตั้งกองทุนส่งเสริมพัฒนาครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงสถานศึกษาทุกแห่งมีระบบการประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอก เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารที่ต้องดำเนินอย่างต่อเนื่อง เปิดเผยต่อสาธารณชนแนวนโยบายประการที่ 3 ปลูกฝังและเสริมสร้างศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระบบวิถีชีวิตที่ดีงามบูรณาการการศึกษาและศาสนาเข้าด้วยกัน ให้ผู้เรียนทุกระดับการศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับความจริงของชีวิต ธรรมชาติ หลักธรรมของศาสนา และคุณธรรมอันดีงามของระบบวิถีชีวิตเอกลักษณ์ไทยสร้างสรรค์ความรู้และการเรียนรู้ด้านศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เชื่อมโยงกับภูมิปัญญาสากล สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมทันกับการเปลี่ยนแปลง

ส่งเสริมวัฒนธรรมประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นจริง ด้วยกระบวนการทางการศึกษาและฝึกอบรมกำหนดลำดับความสำคัญของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ที่จะต้องเร่งสร้างเสริมให้เกิดขึ้นกับคนไทยในช่วงแรก และช่วงเวลาต่อๆ ไป อาทิ จิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม
แนวนโยบายประการที่
4 พัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการพึ่งพาตนเองและเพิ่มสมรรถนะการแข่งขันในระดับนานาชาติสนับสนุนผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เยาว์วัยผลิตครู คณาจารย์ บุคลากร นักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มีคุณภาพและสัดส่วนทัดเทียมกับที่มีอยู่ในประเทศผู้นำระดับนานาชาติส่งเสริมภาคเอกชนและชุมชนร่วมกันสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการถ่ายทอดและเผยแพร่จากทั้งในและต่างประเทศคิดค้นสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของสินค้าในท้องถิ่น และสามารถใช้ศักยภาพของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างฐานของคุณภาพชีวิตที่ดีได้
แนวนโยบายทั้ง
4 ประการนี้ สนับสนุนซึ่งกันและกัน ไม่ควรให้ขาดตกบกพร่องไปในทางใด ซึ่งจะทำให้เสียความสมดุล เพราะชีวิตที่นับว่าสมบูรณ์นั้น ต้องพร้อมทั้งกาย ศีลจิต และปัญญา จึงจะสามารถสร้างสันติสุขขึ้นได้ภายในตนเอง มั่นคงอยู่ในกุศลเจตนาสม่ำเสมอ แม้ว่าสภาพการณ์ภายนอกจะเต็มไปด้วยความผันผวนเพียงใดก็ตาม

http://www.onec.go.th/news46/pr/sala/s_460107a.htm

หมายเลขบันทึก: 200962เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2008 18:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท