วันนี้วันดี ได้มาเรียนรู้กับแผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ (กลุ่มภาคกลาง)


อย่าคิดว่า KM หรือ storytelling เป็น solution เพราะต้องนำกลับไปใช้ก่อน

กิจกรรมช่วงเช้า เริ่มจากการชี้แจงวัตถุประสงค์ โดย นพ. ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ สรุปได้ว่า

2-3 ปี ที่ผ่านมา มีเรื่องเล่าดีๆ จากคนทำงานในภาคสุขภาพหลายเรื่อง จนมีคำถามว่า เมื่อไหร่เรื่องดีๆ เหล่านี้จะกระจายไปทั่วโรงพยาบาล ทั่วแผนก ทั่วหอผู้ป่วย หรือทั่วประเทศ   วิธีที่เชื่อว่าจะได้ผลคือ การใช้ KM และ RCN (Research Communication Network) เป็นเครื่องมือในการแผ่ขยาย และพวกเราจะเป็นทั้งผู้ปฏิบัติ ผู้เล่า และผู้ที่จะเอาทั้งกระบวนการและเรื่องดีๆ ไปขับเคลื่อน

คุณสมหญิง สายธนู แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ ย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า สิ่งที่ผู้มาเข้าร่วมจะได้ คือ

เล่าเรื่อง success story ที่ลึกถึงวิธีคิด ว่าทำอย่างไรจึงเกิดการเปลี่ยนแปลง

เรียนรู้จากเรื่องของเพื่อน

เรียนรู้กระบวนการ

สุดท้าย หวังว่ากิจกรรมแบบนี้ จะเป็นวิถีการทำงานแบบปกติ

วิทยากรมี 2 ท่าน คือ ดร .จิรัชฌา วิเชียรปัญญา มหาวิทยาลัยรังสิต  

                               ดร. นิรนาท แสงสา วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง

 

              ดร.จิรัชฌา วิเชียรปัญญา (อ.จอย)

 

             

              ดร.นิรนาท แสงสา (อ.อร่อย)

โดย อ.จิรัชฌา หรือ อ.จอย ได้ชี้แจงว่า 2 วันนี้ จะเอาเพียงส่วนย่อยๆ ของ KM มาใช้ คือ เฉพาะส่วนแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสร้างความรู้ 

      จากนั้นได้เกริ่นนำว่า ความรู้มี 2 ประเภท คือ

ความรู้ที่อยู่ในตัว แทนด้วยภาพเด็กขี่จักรยาน เป็นความรู้ที่จัดการยาก ประกอบกับสังคมไทยไม่ค่อยได้พูด ได้เล่า แต่หากดึงความรู้ส่วนนี้ออกมาได้จะเกิดพลัง คุณค่า มหาศาล

ความรู้ที่อยู่นอกตัว แทนด้วยภาพเอกสาร ที่มักเริ่มด้วยสร้างที่เก็บ จัดหมวดหมู่แต่อาจไม่มีเนื้อหา

ซึ่งการสร้างความรู้ยังอธิบายได้ด้วย SECI Model ด้วย 

สิ่งที่ืจะใช้ใน 2 วันนี้คือเทคนิค storytelling เป็นเทคนิคหนึ่งของการทำให้ความรู้ในตัวออกมาเป็นความรู้นอกตัว ผ่านเรื่องเล่า เป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นช่องทางของการเรียนรู้ในองค์กร

กฎ กติกา ของ storytelling

อย่าคิดว่า KM หรือ storytelling เป็น solution หรือเป็นสูตรสำเร็จเพราะต้องนำกลับไปใช้ก่อน

เล่าจากข้อเท็จจริง ไม่ใช่จินตนาการ มีใครบ้างในเรื่องเล่า มีวิกฤติ แต่ห้ามพูดว่าใครทำให้เกิดวิกฤติ แต่ถ้าทำให้เกิดความสำเร็จ เอ่ยชื่อได้ 

เรื่องเล่าต้องไม่ผ่านมานานเกินไป

เป็นเรื่องที่ภาคภูมิใจ ที่อยากบอกผู้อื่น

ในระหว่างกระบวนการ ถามได้ แต่ต้องให้คนเล่า เล่าจบก่อน ไม่ถามลองภูมิ หรือ ตรวจสอบความรู้ แต่ถามให้เห็นภาพเหตุการณ์ชัดเจนขึ้น

-  ฟังอย่างลึกซึ้ง ตั้งใจ

-  เมื่ออยู่ในกระบวนการ ขอให้เทคโนโลยีอย่ามารบกวนเรา ขอให้ตั้งระบบสั่น และ ปลีกตัวออกไปเงียบๆ อย่าให้กระทบกระเทือนกับจิตของผู้เล่า

 

หมายเลขบันทึก: 200796เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2008 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท