การบริหารการจัดการศึกษากับการใช้โรงเรียนเป็นฐาน


การบริหารโรงเรียน

การวิพากษ์บทความ

 

ชื่อบทความ                          :               การบริหารการจัดการศึกษากับการใช้โรงเรียนเป็นฐาน

ชื่อผู้เขียนบทความ             :               น.ต. หญิง นวลลักขณ์ บุษบง

แหล่งที่มา                             :               http://www.itie.org/eqi/modules.php? name=Journal&file=display&jid=252

ชื่อผู้วิพากษ์บทความ         :               นายไพฑูรย์  ทิพยสุข     รหัส  50926683

สรุปสาระสำคัญ                  :               การปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

มีลักษณะการปฏิรูปการศึกษา 3 ลักษณะ คือ 1) การให้ความเป็นอิสระในการตัดสินใจแก่โรงเรียนในขอบข่ายหน้าที่ และภาระงานของโรงเรียน ในเรื่องการกำหนดงบประมาณ และการบริหารงบประมาณด้วยตนเอง 2) การให้โอกาสผู้ปกครอง ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 3) การให้โรงเรียนกำหนดความต้องการของโรงเรียนเอง มีการร่วมคิด ร่วมกำหนดความต้องการของตนเอง รวมทั้งแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง  การบริหารการจัดการศึกษากับการใช้โรงเรียนเป็นฐานโรงเรียนจะต้องกำหนดระบบโครงสร้าง บทบาทความรับผิดชอบอย่างชัดเจน โดยยึดนโยบายและเป้าหมายของโรงเรียนเป็นสำคัญ

ประโยชน์ที่ได้รับ :               จากการอ่านบทความการบริหารการจัดการศึกษากับการใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้นได้รับประโยชน์ต่างๆ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารโรงเรียนอันจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการบริหารโรงเรียน โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา อันจะก่อให้เกิดความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนในที่สุด

 ความคิดเห็น                      :               ความสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเป็นการกระจายอำนาจจากหน่วยงานส่วนกลาง ไปให้โรงเรียนบริหารจัดการเอง ดังนั้นแนวทางการปฏิรูประบบบริหารการศึกษา จะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับ ภาวะผู้นำของผู้บริหารผู้บริหารจะต้องมีความรู้ความสามารถ โดยใช้หลักของการปฏิรูปการศึกษา หลักการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาไปยังสถานศึกษาให้มากที่สุด หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ หลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน โดยคืนอำนาจสู่ท้องถิ่น และให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีบทบาทในการจัดการศึกษาเพิ่มมากขึ้น หลักการบริหารจัดการตนเอง เนื่องจากแต่ละโรงเรียนจะมีบริบทเฉพาะเป็นของตนเอง ซึ่งแต่ละโรงเรียนก็จะแตกต่างกันไป ดังนั้นการที่ให้โรงเรียนบริหารจัดการตนเอง มีอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบในการดำเนินงาน ก็ย่อมจะทำให้โรงเรียนบรรลุถึงเป้าหมาย และเกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานสูงกว่าเดิม ที่ทุกอย่างถูกกำหนดมาจากส่วนกลาง นอกจากนี้ผู้บริหารจะต้อง มีการบริหารจัดการทางด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไปที่ดี มีการทำงานเป็นทีม สร้างความตระหนัก ความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากร กำหนดผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมกับภาระงาน มีการวางแผนกำกับดูแลที่ดี อีกทั้ง การมีส่วนร่วมและการปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อประสานสัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรียน การบริหารการจัดการศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานก็จะประสบความสำเร็จตามที่ทุกคนมุ่งหวัง

หมายเลขบันทึก: 200530เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2008 02:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 15:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท