หลักจิตวิทยาการสอน


การสอนแบบสืบเสาะ

หลักจิตวิทยาพื้นฐานในการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้

               การเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ มีรากฐานมาจากจิตวิทยาในเรื่องการเน้นพัฒนาการทางสมองของ เพียเจท์  (อ้างถึงใน ลัดดา   ศุขปรีดี, 2523 )  นักจิตวิทยาที่ว่า  คนมีขบวนการคิดเป็นสองประการ  คือ  มีโครงสร้างความคิดเดิม  จึงสามารถนำความคิดเดิมมาเป็นแนวคิดให้เกิดความรู้ใหม่ได้  แต่ถ้าสิ่งที่รับใหม่ไม่สัมพันธ์กับโครงสร้างความคิดเดิมก็สามารถปรับปรุง  โครงสร้างนั้นเพื่อรับความรู้ใหม่ได้ ดังนั้นโครงสร้างของขบวนการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ จึงมี  2 ขั้น  คือ

                 ขั้นที่  1  Assimilative Structure   คือ  ขั้นเร้าให้เด็กนำความรู้เดิมมาใช้เป็นแนวทางในการคิด

                 ขั้นที่  2  Accommodative  Structure    ในกรณีที่ความรู้เดิมซึ่งเป็นแนวทางให้เกิดความรู้ใหม่นั้น  ไม่ตรงกับความรู้ใหม่   ก็จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเพื่อให้เข้าใจความรู้ใหม่

                 นอกจากนี้  ซันด์  ( อ้างถึงใน สุวัฒก์  นิยมค้า, 2539 )  ได้ระบุถึงหลักจิตวิทยาของการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานในการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ไว้ว่า

                 1. ในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์  นักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่อนักเรียนได้เรียนอย่างมีชีวิตชีวากับการค้นคว้าหาความรู้นั้น ๆ  โดยตรง  มากกว่าการที่จะบอกเล่าให้นักเรียนฟัง                                              

                 2.   การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุด  เมื่อสถานการณ์แวดล้อมในการเรียนนั้นยั่วยุให้นักเรียนอยากเรียน  ไม่ใช่บีบบังคับ   และผู้สอนจะต้องจัดกิจกรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จในการค้นคว้าแทนที่จะให้นักเรียนเกิดความล้มเหลว

3.  วิธีการสอนของครูจะต้องส่งเสริมความคิดให้นักเรียนคิดเป็นมีความคิดสร้างสรรค์  ให้

โอกาสนักเรียนได้ใช้ความคิดเห็นของตนเองให้มากที่สุด

                 จากหลักจิตวิทยาพื้นฐานดังกล่าว สรุปได้ว่า  การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้นั้นจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนค้นคว้าหาความรู้ ใช้ความคิดและปฏิบัติการด้วยตัวเอง  โดยให้เกิดการเรียนรู้  แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่  เพื่อสรุปเป็นความรู้ใหม่ด้วยตัวเอง  และพยายามให้นักเรียนแต่ละคนได้มีโอกาสประสบความสำเร็จ

หมายเลขบันทึก: 200529เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2008 01:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณคะสำหรับความรู้ดีๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท