การพัฒนาเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์


การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์

การพัฒนาเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์

โดย พิมพ์ศิริ สิทธิวัง  - 19 มิ.ย. 2547


การพัฒนาเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์

 

 

การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์ ครูต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้ก่อน คือ


      1.
ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
      2.
แนวทางในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
      3.
วิธีการสอนและการจัดกิจกรรมการสอนของครู
      4.
การสอนความคิดสร้างสรรค์

ความหมายของความคิดสร้างสรรค์


      
ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง กระบวนการทางปัญญาระดับสูงที่ใช้กระบวนการทางความคิดหลาย ๆ อย่างมารวมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หรือแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้ดีขึ้น โดยมีอิสรภาพทางความคิด

แนวทางในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์


ทอร์เรนซ์ ได้กล่าวถึงการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ดังนี้
      1.
ส่งเสริมให้เด็กถาม และให้ความสนใจต่อคำถาม และคำถามที่แปลก ๆ ของเด็กครูไม่ควรมุ่งที่คำตอบที่ถูกแต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรกระตุ้นให้เด็กได้วิเคราะห์ค้นหาโดยใช้การสังเกตและประสบการณ์ของตัวเด็กเอง
      2.
ตั้งใจฟังและเอาใจใส่ต่อการคิดแปลก ๆ ของเด็ก ด้วยใจเป็นกลาง เมื่อเด็กแสดงความคิดเห็นในเรื่องใด ถึงแม้ว่าจะไม่เคยได้ยินมาก่อน ก็ควรรับฟังไว้ก่อน
      3.
กระตือรืนร้นต่อคำถามที่แปลก ๆ ของเด็กด้วยการตอบคำถามอย่างมีชีวิตชีวาและชี้แนะให้เด็กหาคำตอบจากแหล่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
      4.
แสดงและเน้นให้เด็กเห็นว่าความคิดของเด็กนั้นมีคุณค่า และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น จากภาพที่เด็กวาด อาจให้นำไปเป็นภาพปฏิทิน ส.ค.ส. เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ และมีกำลังใจที่จะคิดสร้างสรรค์ต่อไป
      5.
กระตุ้นและส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะลดบทบาทของการชี้แนะและลดการอธิบายลง ให้เด็กมีโอกาสริเริ่มกิจกรรมด้วยตนเองมากขึ้น และยกย่องเด็กที่พยายามเรียนรู้ด้วยตนเอง
      6.
เปิดโอกาสให้นักเรียนเรียนรู้ หรือค้นคว้าอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ โดยไม่ต้องใช้วิธีบีบบังคับด้วยคะแนน
      7.
พึงระวังว่าการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กต้องใช้เวลาและพัฒนาอย่างคอยเป็นค่อยไป
       8.
ส่งเสริมให้เด็กใช้จินตนาการของตนเองและยกย่องชมเชย เมื่อเด็กมีจินตนาการที่แปลกกว่าคนอื่น

วิธีการสอนและการจัดกิจกรรมการสอนของครู เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก

 


      
วิลเลียมส์(Frank E. Williams) ได้สรุปวิธีสอนและการจัดกิจกรรมการสอนของครู เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กไว้ 18 ลักษณะ ดังนี้
      1.
การสอน หมายถึง การสอนเกี่ยวกับความคิดเห็นในลักษณะความคิดเห็นซึ่งขัดแย้งในตัวของมันเอง เป็นการฝึกฝนให้คิดในสิ่งที่แตกต่างไปจากรูปแบบเดิมที่เคยมี ดังนั้นในการสอนครูจึงควรกำหนดหรือให้นักเรียนรวบรวมและเลือกข้อคิดเห็น แล้วให้นักเรียนอภิปรายโต้วาทีหรือแสดงความคิดเห็นในกลุ่มย่อยก็ได้
      2.
การพิจารณาลักษณะ หมายถึง การสอนให้นักเรียนคิดพิจารณาถึงลักษณะที่แปลกแตกต่างไปกว่าที่เคยคิด รวมทั้งลักาณะที่คาดไม่ถึงด้วย เช่น ให้คิดหาสาวนใดส่วนหนึ่งที่เห็นว่าแปลกประหลาดไม่เหมือนอย่างอื่นของดินสอ ยางลบ หนังสือ เป็นต้น
      3.
การอุปมาอุปมัย หมายถึงการเปรียบเทียบสิ่งของหรือสถานการณ์ที่เหมือนกัน คล้ายคลึงกันแตกต่างหรือตรงกันข้าม อาจอยู่ในรูปคำเปรียบเทียบ คำพังเพย สุภาษิต ก็ได้ เช่น ลองคิดดูว่า ช้อนกับรถยนต์มีลักษณะเหมือนกันอย่างไร
      4.
การบอกสิ่งที่คาดเคลื่อนไปจากความจริง หมายถึง การแสดงความคิดเห็น ระบุ บ่งชี้ถึงสิ่งที่คลาดเคลื่อนจากความจริง หรือขาดบกพร่องหรือสิ่งที่ยังไม่สมบูรณฅ์ เช่น สมมุตว่า นักเรียนเป็นแมวที่เจ้าของลืมให้อาหาร ลองคิดดูว่าแมวมีวิหาอาหารอย่างไรบ้าง
      5.
การใช้คำถามยั่วยุและการกระตุ้นให้ตอบ หมายถึง การตั้งคำถามแบบปลายเปิดและเป็นคำถามที่ยั่วยุและเร้าความรู้สึกนึกคิดให้ชวนคิดค้นให้ได้ความหมายที่ลึดซึ้งสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คำตอบจากคำถามลักษณะนี้ไม่มีคำตอบที่ถูกเพียงคำตอบเดียว แต่มีหลาย ๆ คำตอบ เป็นคำถามที่มักลงท้ายว่า วิการใดบ้าง มีประโยชน์อย่างไรบ้าง ท่านรู้สึกอย่างไรบ้าง
      6.
การเปลี่ยนแปลง หมายถึง การฝึกให้คิดถึงการเปลี่ยนแปลง ดัดแปลง การปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ที่คงสภาพมาเป็นเวลานานให้เป็นไปในรูปแบบอื่นและเปิดโอกาสให้เปลี่ยนแปลงด้วยวิธีต่าง
      7.
การเปลี่ยนแปลงความเชื่อ หมายถึง การฝึกให้นักเรียนเป็นคนที่มีความยือหยุ่น ยอมรับการเปลี่ยนแปลง คลายความยึดมั่นต่าง ๆ เพื่อปรับตนเข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆ
      8.
การสร้างสิ่งใหม่จากโครงสร้างเดิม หมายถึง การฝึกให้นักเรียนรู้จักสร้างสิ่งใหม่ กฎเกณฑ์ใหม่ ความคิดใหม่ โดยอาศัยโครงสร้างเดิม หรือกฎเกณฑ์เดิมที่เคยมีแต่พยายามคิดพลิกแพลงให้ต่างไปจากเดิม
      9.
ทักษณะการค้นคว้าข้อมูล หมายถึง การฝึกให้นักเรียนรู้จักการสำรวจเพื่อหาข้อมูล
      10.
มานะที่จะค้นหาคำตอบจากคำถามที่กำกวมไม่ชัดเจน เป็นการฝึกให้นักเรียนมีความอดทนและพยายามที่จะค้นหาคำตอบต่อปัญหาที่กำกวม หรือเป็นสองนัย ลึกลับ หรือท้าท้ายความนึกคิดต่าง ๆ
      11.
ส่งเสริมการคิดเชิงญาณ เป็นการฝึกให้รู้จักการแสดงความรู้สึกความคิดที่เกิดจากมีสิ่งมาเร้าอวัยวะรับสัมผัส การคิดทางอารมณ์ หรือการคิดจากลางสังหรณ์
      12.
การปรับตัวเพื่อพัฒนาตน เปฃ้นการฝึกให้นักเรียนรู้จักพิจารณาดูความพลาดพลั้งล้มเหลวซึ่งเกิดขึ้นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ก็ตาม
      13.
ลักษณะบุคคลและกระบวนการคิดสร้างสรรค์ เป็นการให้ศึกษาประวัติบุคคลสำคัญทั้งในแง่ลักษณะพฤติกรรมและกระบวนการคิด ตลอดจนประสบการณ์ของเขาด้วย
      14.
การประเมินสถานการณ์ เป็นการฝึกให้หาคำตอบ โดยคำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นและความหมายเกี่ยวเนื่องกันด้วยการตั้งคำถามว่าถ้าเกิดสิ่งนี้แล้วจะเกิดผลอย่างไร
       15.
พัฒนาทักษะการอ่านอย่างสร้างสรรค์ เป็นการฝึกให้รู้จักคิด แสดงความคิดเห็น แสดงความรู้สึกนึกคิดต่อเรื่องที่อ่าน
      16.
พัฒนาทักษะการฟังอย่างสร้างสรรค์ เป็นการฝึกให้เกิดความรู้สึกนึกคิดในขณะที่ฟัง หลังจากฟังบทความเรื่องรวดนตรี เพื่อเป็นการศึกษาข้อมูล ความรู้ ซึ่งโยงไปหาสิ่งอื่น ๆ ต่อไป
       17.
พัฒนาทักษะการเขียนอย่างสร้างสรรค์ เป็นฝึกให้แสงดความคิด ความรู้สึก และจินตนาการด้านการเขียนบรรยายหรือพรรณาให้เห็น ชัดเจน
       18.
ทักษะการมองเห็นภายในมิติต่าง ๆ เป็นการฝึกให้แสดงความรู้สึกนึกคิดจากภาพในแง่มุมแปลก ๆ ใหม่ ๆ ไม่ซ้ำของเดิม

การสอนความคิดสร้างสรรค์

 


      
การสอนความคิดสร้างสรรค์นี้ เป็นรูปแบบที่ใช้ปฏิสัมพันธ์ของกลุ่ม กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้การอุปมาอุปมัยเปรียบเทียบรูปแบบการนี้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสอนที่ต้องการให้ผู้เรียนสำรวจ เปรียบเทียบค้นหาเอกลักษณ์ และเข้าใจอย่างแท้จริง
      
การสอนความคิดสร้างสรรค์ </ย่อหน้า<
มีขั้นตอนการสอน 6 ขั้น ดังนี้ (ชนาธิป พรกุล. 2545 : 131)
       1.
อธิบายหัวข้อ ผู้สอนเลือกวิชาสาขาใดก็ได้ที่ต้องการให้ผู้เรียนฝึก หัวข้อที่นำมาใช้อาจเป็นตัวละครจากนิยายเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือมโนทัศน์ เช่น เสรีภาพ หรือ ความยุติธรรม ให้ผู้เรียนอธิบายหัวข้อเรื่องด้วยคำพูดหรือการเขียน ผู้สอนเขียนคำเหล่านี้ลงบนกระดาษดำ โดยไม่เลือกว่าเป็นคำตอบที่ถูกหรือผิด
       2.
สร้างการเปรียบเทียบ จากข้อความบนกระดานดำที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน ผู้สอนให้ผู้เรียนจัดให้เป็นหมวดหมู่พร้อมกับตั้งชื่อหมวดหมู่และอธิบายเหตุผลในการจัดหมวดหมู่เหล่านั้น
       3.
อธิบายการเปรียบเทียบของตนเอง ให้ผู้เรียนเลือกเรื่องแล้วสมมุติว่า ตนเองเป็นสิ่งนั้น แสดงความรู้สึกถ้าเป็นสิ่งนั้น
            
ไม่มีการช่วยเหลือ - ฉันต้องทำสิ่งที่คนอื่นกำลังทำ
      
มีอำนาจ - ฉันเป็นราชินี และฉันสามารถทำให้ผู้อื่นทำตามที่ฉันสั่ง
       4.
ระบุคำที่ขัดแย้ง ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญและน่าตื่นเต้น ผู้สอนให้ผู้เรียนจับคู่คำที่ไม่ถูกกันเป็นคู่อริกัน เช่น
            
น่ากลัว กับ ปลอดภัย
            
ไม่มีการช่วยเหลือ กับ มีอำนาจ
            
อิสระเสรี กับ ถูกจองจำ
            
คำแต่ละคำมีความขัดแย้งกันอย่างเห็นได้ชัดเจน ให้ผู้เรียนอธิบายเหตุผลที่เขาคิดว่าคำแต่ละคำเป็นอริกัน แล้วให้ผู้เรียนให้คะแนนว่าคำคู่ใดมีความขัดแย้งกันมากที่สุด
            5.
สร้างการเปรียบเทียบขึ้นใหม่ ให้ผู้เรียนสร้างคำเปรียบเทียบคู่ใหม่ โดยใช้คำคู่ที่เลือกว่าดีที่สุดในขั้น 3 เช่น ถ้าเลือกอิสระเสรี และจองจำ
การเปรียบเทียบใหม่อาจเป็น
            
เสืออยู่ในกรง
            
มนุษย์ในสังคม
            
นักบินในยานอวกาศ
       6.
ทบทวนหัวข้อที่เริ่มต้น เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่นำมาเปรียบเทียบที่สร้างใหม่ไปเปรียบเทียบกับหัวข้อในขั้นที่ 1 ถ้าคำเปรียบเทียบที่เลือกคือเสือในกรง และผู้สอนกำลังต้องการสอนตัวละครในนิยาย ผู้สอนจะให้ผู้เรียนอธิบายลักษณะของเสือในกรง แล้วเปรียบเทียบกับตัวละคร
      







ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท