the_first_domino(5)-ตลาดย่อยๆเเห่งหนึ่ง


think global, act local

(ร่างบทความสำหรับเผยแพร่ในเว็บไซท์ของนรทุนรัฐบาล)

บทความต่อไปนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักเรียนทุนรัฐบาล แต่เป็นความคิดเห็นของนักเรียนทุนคนหนึ่งต่อการยกสถานะทางวิชาการของประเทศเป็นสังคมแห่งองค์ความรู้ ผมนำเสนอบทความนี้ต่อนักเรียนทุนเป็นกลุ่มแรกเพราะผมเห็นว่าสังคมนักเรียนทุนนี้เป็นสังคมวิชาการที่เข้มแข็งที่สุดสังคมหนึ่งของประเทศ เป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจ ความรู้ ประสบการณ์ และพันธมิตรที่หลากหลาย ท้ายสุดแล้วผมเชื่อว่าพวกเราต่างมีอุดมการณ์ลึกๆร่วมกันที่จะทำอะไรที่ยิ่งใหญ่เพื่อประเทศของพวกเรา

-----  - - -- - - - - - --- - ------------

ถ้าเราสังเกตดีๆพฤติกรรมการ “เดินตลาด” มีจุดน่าสนใจประการหนึ่ง..
…ตลาดไหนเงียบๆ..คนเดินโหรงเหรง จะไม่ค่อยดึงดูดคน ตลาดก็จะเงียบลงๆจนเจ๊งไปเอง
…ตลาดไหนที่คนเยอะ ใครๆก็ไปกัน จะดูน่าสนใจ ตลาดที่คึกคักจะยิ่งดูดคนเข้ามา แล้วก็จะยิ่งคึกคักเข้าไปอีก เป็นpositive feedback
ดังนั้นเเรกเปิดตลาดนัดเราต้องเจาะกลุ่มเป้าหมายก่อน กลุ่มคนที่อยากเข้ามาร่วมชัวร์ๆก่อน เพราะว่าคนจำนวนไม่น้อยจะยังไม่เข้ามาร่วมจนกว่าพวกเขาจะเห็นคนกลุ่มใหญ่แห่กันเข้าไปก่อน
ดังนั้นตลาดนัดจึงควรเริ่มจากตลาดย่อยๆหลายรูปแบบ เจาะกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม  เมื่อตลาดดึงดูดคนและขยายตัวขึ้นมารวมเข้าหากัน “ตลาดนัดคนคุณภาพ” อย่างที่เรานิยามไว้เบื้องต้นก็จะกำเนิดขึ้น
         ตรงนี้ผมเข้าใจว่าผู้ใหญ่หลายท่านได้มองเห็นภาพลักษณะเดียวกันนี้แล้ว จึงนำไปสู่การสร้าง KM๕ ย่อยๆจำนวนมาก ไม่ว่าจะในเรื่องการศึกษา การสาธารณสุข การเกษตร หรือ การบริหารตัวความรู้เอง การก่อตั้งสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส) และ www.gotoknow.org ถือว่าเป็นก้าวสำคัญของการปฎิรูปประเทศขนานใหญ่ อันนี้ผมมองในฐานะแฟนประจำคนหนึ่งของเว็บgotoknowนะครับ ผมมองในฐานนักคิดธรรมดาคนหนึ่งที่บังเอิญไปอ่านบทความประเภท knowledge management แล้วเกิดติดใจเข้า เลยหามาอ่านเพิ่มจนเก็บมาคิดฟุ้งซ่านไปเรื่อยว่า เอ๊ะ ไอ้การปฎิรูปประเทศที่พูดๆกันมาเนี่ยจริงๆมันก็จับต้องได้เหมือนกัน ผมได้อ่านบันทึกมากมายของคนที่เป็นหมอบ้าง เป็นครูบ้าง เป็นเกษตรกรบ้าง ไม่ได้เป็นใครใหญ่มาจากไหน เริ่มต้น “การปฎิรูป”ที่จับต้องได้ขึ้นมาจากมุมของตัวเอง ผมจำไม่ได้แล้วว่าคำกล่าว “think global, act local” มาจากใคร แต่ว่าเป็นอะไรที่ตรงมากๆ เราต้องเห็นภาพรวมที่ยิ่งใหญ่เป็นอุดมคติก่อน แล้วก็เริ่มดำเนินการจากสิ่งที่มีอยู่ใกล้มือ สิ่งที่เป็นไปได้
        ทีนี้ลองมองในฐานะนักเรียนทุนรัฐบาลคนหนึ่งบ้าง
        ภาพที่เห็นทั่วไปคือ “อ้อ..เป็นเรื่องดีนะ..แต่คงไม่ค่อยเกี่ยวกับเราเท่าไร” การปฎิรูปประเทศ การจัดการความรู้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องของ “ผู้ใหญ่”มากกว่าที่ผมจะต้องเก็บมานั่งคิด คิดไปก็ทำอะไรไม่ได้ สิ่งที่ผมควรจะคิดน่าจะเป็นเรื่องคลาสที่เรียน รีเสิจที่ทำ grad school ที่จะไปต่อ อะไรพรรค์นี้มากกว่า  ถ้าผมเป็นนักเรียนทุนที่โตขึ้นมาอีกนิดเป็นนักเรียนph.Dที่กำลังจะจบในปีสองปี อย่างมากผมก็จะนั่งคิดว่าจบกลับไปจะทำงานที่ไหนอย่างไร
ถ้าถามผมว่า จะดีไหมหากประเทศไทยของเรามี “ตลาดนัดคนคุณภาพ”ที่พร้อมสมบูรณ์อย่างที่เล่ามา มีฐานข้อมูลที่จะบอกผมว่าประเทศเรามีอะไรอยู่ที่ไหน มีโครงสร้างที่จะช่วยให้ผมสร้างกลุ่มสร้างconnectionเพื่อให้ผมได้ใช้ความรู้ความสามารถทำประโยชน์ได้เต็มที่
          …จะดีไหมถ้าจะมีโครงสร้างซักอย่างที่ทำให้ผมมองเห็นคนไทยทั่วโลกที่ทำโปรเจคคล้ายๆกัน มีอุดมการณ์ร่วมกัน และพร้อมจะพึ่งพาอาศัยกัน
           ผมก็จะตอบว่า “เยี่ยมเลย…เมื่อไหร่เราจะมีของแบบนั้นหล่ะ?”

           อันนี้มีสองตัวเลือก…
           หนึ่ง…รอใครสักคนสร้างมันขึ้นมา จะเป็นรัฐบาล สคส สกว กพ หรือใครก็ตามที่เกี่ยวข้อง ใช้เวลาเท่าไหร่ ใช้การได้แค่ไหน เป็นอย่างที่เราต้องการรึเปล่า อันนี้ผมไม่ทราบ ตอบไม่ได้
            สอง…พวกเราสร้างมันขึ้นมาเอง
…ใช้เวลาเท่าไหร่  ---เร็วที่สุดเท่าทีเป็นไปได้
…ใช้การได้แค่ไหน…ถามจริงๆเหอะ ไหวเรอะ?

 -----อันนี้ไม่ลองก็ไม่รู้…ว่าแต่คุณอยากจะลองกับผมมั๊ย?
…act local อาจจะไม่ง่ายเหมือนthink global..แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้
ลองฟังแผนของผมก่อน,
------------------------------------------------------------------------------------------------------

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19973เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2006 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท