บันทึกของปริชาติ.ป.โท ม.บูรพา


นักบริหาร

พุทธโธโลยี คือธรรมะปฏิบัติอย่างเรียบง่ายตามธรรมชาติที่เปานสากลทันสมัยอยู่ตลอดกาลเป็นคำสั่งสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ปฏิบัติแล้วสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างมีความสุข ไม่เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น สามารถปฏิบัติได้ทุกคน ทุกหน ทุกแห่ง ทุกกาลเวลา ทุกสถานที่ เมื่อท่านถึงพร้อมด้วย กาย วาจา ใจ
     แนวความคิดใหม่ๆ แปลกๆ ง่ายๆ และทันสมัยอยู่เสมอนั้น จะช่วยให้การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีระเบียบวินัยในจิตใจ การปฏิบัติธรรมด้วยพลังศรัทธา ไม่ต้องมีใครบังคับให้เชื่อให้ปฏิบัติ จะทำให้การอยู่ร่วมกัน การทำงานร่วมกัน บรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธ์ภาพ การมีอิสระในการคิด การพูด การทำในสิ่งที่ดีงาม คือพุทโธโลยีทั้งสิ้น


คุณลักษณะของนักบริหารตามแบบพุทโธโลยี


     นักบริหาร คือผู้ที่ทำงานสำเร็จ โดยอาศัยผู้ร่วมงาน มีหลัก มีความสำเร็จในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
     นักบริหารที่ดี ย่อมเป็นผู้มีน้ำใจ พูดไพเราะ สงเคราะห์ผู้อื่น ตื่นตัวอยู่เสมอ ไม่เห่อเหิม ทะนงตน เป็นคนมีคุณธรรม น้อมนำแต่ทางที่ดี หลีกหนีอบายมุข รักสนุกขบขัน จิตมั่นใสสะอาดปราศจากเร่าร้อน สอนให้คนทำดี มีไมตรีทั่วหน้า คนรักคนศรัทธา เพราะเห็นค่าของคนดี
     การบริหารที่ดีนั้น จะต้องมีความเกี่ยวข้องกันระหว่าง ผู้บริหารกับผู้ร่วมงาน และงานที่ทำเป็นศิลปะที่ผู้บริหารจะต้องมีความรู้เป็นอย่างดี ใน 3 เรื่อง ต่อไปนี้


รู้ตน
    คือรู้ตัวเองว่ามีความรู้ความสามารถเพียงใด มีจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไร รู้จุดเด่น คือ ทำในสิ่งที่ตนมีความสมารถ รู้จุดด้อย ต้องอาศัยผู้อื่นช่วยจึงจะสำเร็จ นักบริหารที่ดีต้องมองทั้งด้านในและด้านนอก ขึ้นอยู่กับปัญหาใด สถานการณ์ใด โอกาสใด เวลาใดเท่านั้นเอง
การรู้ตน คือ คนมีสติ หัดนิ่งเป็นบ้าง หัดโง่เป็นบ่าง หัดแพ้เป็นบ้าง นั่นแหละท่านกำลังชนะ และกำลังฉลาดขึ้น การรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล จะทำให้นักบริหารเป็นคนรู้เท่าทันเหตุการณ์รู้เท่าเอาไว้ป้องกัน รู้ทันเอาไว้แก้ไข
   การรู้จักตน คือ การบริหารตนเอง โดยรู้จักบริหาร วาจาใจ ให้ดีให้ได้การมีสติในการทำงาน ทำให้เราต้องระมัดระวัง รู้ตนเอง รู้หน้าที่ รู้สถานการณ์ รู้งานที่ต้องทำ
คือรู้เรื่องเกี่ยวกับผู้ร่วมงาน ว่าใครมีความรู้ความสามารถด้านใด เพียงใด มีใจรักงานประเภทใด จะได้มอบหมายงานได้เหมาะสม จะทำให้งานเกิดคุณภาพ ผู้กระทำเกิดความพอใจมีขวัญกำลังใจในการทำงาน และพัฒนางานให้ดีขึ้นไปตามลำดับ
    ข้อสังเกตนิสัยใจคอของคน พอสรุปได้กว้างๆ ดังนี้
1. คนใจร้อน

2. คนเฉื่อยชา

3. คนชอบยอ
4. คนวิตกจริต

5. คนช่างสงสัย

6. คนรักสวยรักงาม
     จะเห็นว่านิสัยคนมีต่างๆ นาๆ ต้องศึกษาพฤติกรรมให้ดี ก่อนที่จะมอบหมายงานให้ทำให้รับผิดชอบ ต้องศึกษานิสัยใจคอให้ชัดเจนเสียก่อน


รู้งาน
     การทำงานเป็นการพัฒนาคนและพัฒนาตน ทำให้เกิดความสามารถและความชำนาญ งานจึงเป็นเครื่องมือในการฝึกคนให้มีความขยันหมั่นเพียร อดทนต่อสู่ มีระเบียบวินัยและรู้จักสัมพันธ์
กับผู้อื่น ด้วยวิธีการรู้เท่า และรู้เท่า
     งานคือเงิน เงินคืองาน บัดดาลสุข งานจะช่วยให้มีตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์ มีฐานะ รุ่งเรือง มีคนนิยมชมชอบ เคารพนับถือ การทำงานเป็นการพัฒนาสังคม และสร้างประโยชน์สุข ให้แก่ปวงชน งานทำให้ชีวิตมีคุณค่า ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน ไม่ใช่ ค่าของคนอยู่ที่คนของใคร
     งานคือ ธรรมมะ ธรรมมะคือ ธรรมชาติ ดังนั้นงานก็คือธรรมชาติ คนเรามีกรรมดี กรรมชั่วการทำงานนั้นมีความเป็นมาเป็นเหตุปัจจัย พระท่านว่า รูรั่วของชีวิต คือ อบายมุข หมายความว่า หนทางแห่งความเสื่อมของชีวิตจะดีชั่วที่การกระทำของตนเอง
     การรู้งาน คือ การรอบรู้สิ่งที่กำลังทำอยู่ มีการวางแผน มีการมอบหมายที่เหมาะสม มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง รู้ทันทั่งคนและงาน พร้อมที่จะแก้ปัญหาและพัฒนาต่อไป นักบริหารที่ดีจะต้องมีความยุติธรรมในจิตใจ รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ไม่คิดว่าตนเองถูกหรือเก่งแต่เพียงผู้เดียว คนอื่นก็มีความสามารถมีปัญญาเพียงแต่ว่าจะถูกหรือผิด จะเหมาะสมหรือไม่เพียงใดเท่านั้นเอง หลักพุทโธโลยีของนักบริหารโดยทั่วไป

หมายเลขบันทึก: 199213เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2008 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท