สมรรถนะผู้บริหาร


สมรรถนะ

เอกสารหมายเลข 4

 

ผลการศึกษาข้อมูลรายบุคคลในฐานข้อมูลหมวดความรู้จากการปฏิบัติ

“Story Telling สัปดาห์ที่ 3”  

 

 

1. กล่าวนำ

           คนเรามักสนใจจะเปลี่ยนคนอื่น แต่ไม่สนใจที่จะเปลี่ยนตนเอง ดังนั้น ก่อนคิดปรับปรุงคนอื่น ควรปรับปรุงตัวเองก่อนครับ จากการที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ บนบล็อก หรือพูดคุยกันทาง call  กับสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของตัวเอง หรือกลุ่มอื่น ๆ  ทุกคนมีสิ่งที่มุ่งหวังของตัวเอง ...อยากจะไปให้ถึงที่หวัง..และอยากจะพัฒนาตนเอง  หน่วยงาน.. องค์กร  จนสับสนไปหมด... กลุ้ม.. เราเลยไม่รู้.จะจับจุดไหนดี...แต่แล้ว คิด ๆ นึก..ในเมื่อ..เราคุยกันเรื่อง..สมรรถนะ...เราจึงคิดว่าจะหาความรู้เรื่องสมรรถนะใคร..? และจะไปพัฒนาใคร..? ไหนๆ ก็ไหน ๆ .แล้ว เอาเป็นเอา ก็เลยคิดว่าจะต้องพัฒนาตนเองก่อนดีกว่า..ก่อนที่จะไปพัฒนาคนอื่นเขา... จึงมุ่งไปที่สมรรถนะของตนเอง..คือ.ผู้บริหารสถานศึกษา..

 

2. ที่มาของแนวคิด/ทฤษฎีที่ใช้

            ศาสตราจารย์ David C.McClelland ได้อธิบายไว้ว่า Competency เป็นสิ่งที่ประกอบขึ้นมาจากความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) และทัศนคติ/แรงจูงใจ (Attitude/Motives) แต่สิ่งที่มักจะทำให้คนทั่วไปสับสน คือ Competency แตกต่างจากความรู้ ทักษะ และทัศนคติ/แรงจูงใจ อย่างไร และความรู้หรือทักษะที่บุคคลมีอยู่นั้น ถือเป็น Competency หรือไม่  จากการศึกษาของ David C.McClelland พบว่าCompetency สามารถแบ่งได้เป็น2 กลุ่ม คือ
  1. Competency ขั้นพื้นฐาน (Threshold Competencies) ซึ่งหมายถึง ความรู้หรือทักษะพื้นฐานที่บุคคลจำเป็นต้องมีในการทำงาน เช่น ความสามารถในการอ่าน หรือความรู้ในสินค้าที่ตนขายอยู่ประจำ เป็นต้น ซึ่งCompetency ในกลุ่มนี้จึงไม่ได้รับความสนใจจากนักวิชาการมากนัก นักวิชาการบางกลุ่มถึงขั้นลงความเห็นว่าความรู้และทักษะพื้นฐานเหล่านี้ ไม่ถือว่าเป็น Competency
    2. Competency ที่ทำให้บุคคลแตกต่างจากผู้อื่น (Differentiating Competencies) หมายถึง ปัจจัยที่ทำให้บุคคลมีผลการทำงานสูงกว่ามาตรฐานหรือดีกว่าบุคคลทั่วไป ซึ่ง Competency ในกลุ่มนี้จะมุ่งเน้นที่การใช้ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอื่นๆ (รวมถึง ค่านิยม แรงจูงใจ และทัศนคติ)

            ความหมายของคำว่า สมรรถนะมีผู้ให้ความหมายไว้มากมาย..แล้วแต่หน่วยงานที่นำไปใช้  แต่พอสรุป ได้โดยรวม ที่อาจจะคล้ายๆ กัน ก็คือคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่มีผลมาจากความรู้ ทักษะ ความสามารถ คุณลักษณะอื่น ๆ ที่ทำให้บุคคลสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนรวมงานอื่นๆในองค์กรซึ่งเป็นความหมายของ สมรรถนะของบุคคล แต่ก็ยังมีสมรรถนะของสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆอีก เช่น สมรรถนะของเครื่องยนต์  เป็นต้น  ดังนั้น คำว่าสมรรถนะจึงหลากหลาย แล้วแต่การนำไปใช้ ซึ่งสมรรถนะต่าง ๆก็มีการแบ่งแยกย่อยออกไปตามลักษณะงาน   การนำสมรรถนะมาใช้ในการปรับปรุงตัวเองและงานจึงมีความจำเป็น เพื่อให้การบริหารงานและทรัพยากรบุคคลมีประสิทธิภาพ วึ่งจะมีรายละเอียดและขั้นตอนอีกมากมาย...

3. นำเสนอเรื่องที่อยากทำ

            ก็เลย..ไม่อยากจะคิดมาก...เดี๋ยวจะปวดหัวไปกันใหญ่..และกลัวจะไม่จบหลักสูตร..ผู้บริหารโครงการจำตำหนิ .?เราได้   จึงอยากให้พวกเรา..ไปถึงจุดหมายพร้อม ๆ กัน  จึงอยากจะลองทำ..เรื่องการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งอาจจะต้องนำ ID Plan เข้ามาใช้หรือไม่..อย่างไร..ก็คงต้อง ลปรร. กับสมาชิกในกลุ่ม.. และ ผชช.. ที่มีความรู้ความสามารถ..ให้การแนะนำ..และชี้แนวทาง..ครับ

 

ลงชื่อ  นายมานะ    โตสมบัติ  ผู้บันทึก

คำสำคัญ (Tags): #competency#สมรรถนะ
หมายเลขบันทึก: 199057เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2008 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 06:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ครับจะพัฒนาใครต้องพัฒนาตนเองก่อน

การพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา

เรียนท่านสมบัติ...ขอบคุณครับสำหรับการเยี่ยมชมผลงานผม ...ก็เลยมาชื่นชมผลงานท่านบ้าง...ขอชื่นชมแนวคิดที่จะศึกษา...น่าชื่นชมที่ศึกษาค้นคว้ามา มีแต่ ศาสตราจารย์ นักวิชาการต่างประเทศ เกี่ยวกับ Competency (Knowledge) Skills Attitude/Motives Competency ทั้งนั้น กลัวว่าจะปวดหัว..แต่ก็น่าสนใจมาก จึงอดที่จะเรียนรู้จากท่าน...ยังไงเสร็จแล้ว..ขอ Copy ๆๆๆๆ ด้วยนะครับ...55+++++ สมหวัง พันธะลี

ตังเองไม่มีความรู้...จะไปสอนคนอื่นยังงัยเน๊าะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท