การเรียนด้วย E - learning


E - learning

บทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ด้วยกระบวนต่าง ๆ ที่หลากหลาย  ไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการและวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน  นับแต่มีการพัฒนาอินเทอร์เน็ตขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมา   การติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์ก็เป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น  รวมทั้งการเรียนการสอนและการศึกษาหาความรู้ก็สามารถทำได้อย่างไร้พรมแดน  ทำให้คำว่า E-Learning หรือ Electronic Learning เป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก    E-Learning คือกระบวนการการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆที่เหมาะสม ซึ่งช่วยลดข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน  ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความต้องการและความจำเป็นของตนได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

      ถ้าจะนับพัฒนาการของ E-Learning ในความหมายระดับกว้างแล้ว ประเทศไทยมีการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้สนับสนุนการศึกษาอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 เมื่อกระทรวงศึกษาธิการได้ก่อตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาขึ้นมาเป็นครั้งแรก  หลังจากนั้นไม่นานเมื่อมีการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ขึ้น  กระทรวงศึกษาธิการก็มีโอกาสผลิตรายการเพื่อการศึกษาออกอากาศไปสู่ประชาชนทั่วไปอีกช่องทางหนึ่ง     วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์จึงเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีบทบาทในการสนับสนุนการศึกษามาเป็นเวลานาน  จนกระทั่งมีการก่อตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการขึ้นใน พ.ศ. 2537 (http://209.85.173.104/search?q=cache:aQId9HLV-jMJ:www.ceted.org/plan/world/lesson_03.doc+E-+learning+filetype:doc&hl=th&ct=clnk&cd=22&gl=th)ในปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตได้พัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็ว และได้ก้าวมาเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญ ที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอน การฝึกอบรม รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ โดยพัฒนา CAI เดิมๆ ให้เป็น WBI (Web Based Instruction) หรือการเรียนการสอนผ่านบริการเว็บเพจ ส่งผลให้ข้อมูลในรูปแบบ WBI สามารถเผยแพร่ได้รวดเร็ว และกว้างไกลกว่าสื่อ CAI ปกติ ทั้งนี้ก็มาจากประเด็นสำคัญอีก 2 ประการ

  • ประเด็นแรกได้แก่ สามารถประหยัดเงินที่ต้องลงทุนในการจัดหาซอฟต์แวร์สร้างสื่อ (Authoring Tools) ไม่จำเป็นต้องซื้อโปรแกรมราคาแพงๆ มาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนการสอน เพราะสามารถใช้ NotePad ที่มาพร้อมกับ Microsoft Windows ทุกรุ่น หรือ Text Editor ใดๆ ก็ได้ลงรหัส HTML (HyperText Markup Language) สร้างเอกสาร HTML ที่มีลักษณะการถ่ายทอดความรู้ด้านการศึกษา
  • ประเด็นที่สองเนื่องจากคุณสมบัติของเอกสาร HTML ที่สามารถนำเสนอข้อมูลได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง VDO และสามารถสร้างจุดเชื่อมโยงไปตำแหน่งต่างๆ ได้ตามความต้องการของผู้พัฒนา

ส่งผลให้การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ WBI เป็นที่นิยมอย่างสูง และได้รับการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบมาเป็นสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning (Electronis Learning) ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน

ลักษณะสำคัญของ e-Learning มีดังนี้

  • Anywhere, Anytime and Anybody คือ ผู้เรียนจะเป็นใครก็ได้ มาจากที่ใดก็ได้ และเรียนเวลาใดก็ได้ตามความต้องการของผู้เรียน เพราะหน่วยงานได้เปิดเว็บไซต์ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งบริการจัดทำเป็นชุด CD เพื่อใช้ในลักษณะ Offline ให้กับโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่สนใจ แต่ยังไม่พร้อมในระบบอินเทอร์เน็ต
  • Multimedia สื่อที่นำเสนอในเว็บ ประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนวีดิทัศน์ อันจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
  • Non-Linear ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่นำเสนอได้ตามความต้องการ

(http://209.85.173.104/search?q=cache:hpZ0FKzt6dMJ:gotoknow.org/file/nittaya_pd/elearning.doc+E-+learning+filetype:doc&hl=th&ct=clnk&cd=49&gl=th)

อย่างไรก็ตาม การพัฒนา e - Learning ในประเทศไทยยังมีข้อจำกัดมาก ไม่ว่าจะเป็นความไม่พร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ความไม่เพียงพอของฮาร์ดแวร์ (hardware) การขาดแคลนซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพและขาดเนื้อหาที่หลากหลาย และความไม่พร้อมของบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและผู้เรียน รวมทั้งบริบทแวดล้อมอื่นๆที่ไม่เอื้ออำนวย เช่น กฎหมาย และวัฒนธรรมการเรียนรู้ในสังคม เป็นต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากเริ่มต้นการพัฒนาการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่วันนี้ โดยใช้ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมแล้ว คงไม่สายเกินไปที่คนไทยจะได้รับการพัฒนาทันกับพัฒนาการของโลกในอนาคต

 (http://209.85.173.104/search?q=cache:FdjTLiJgblUJ:images.phichamon.multiply.com/attachment/0/RpsgMgoKCooAAF5N92o1/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%2520ICT.doc%3Fnmid%3D49975027+%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89+filetype:doc&hl=th&ct=clnk&cd=65&gl=th)

ดังนั้นการเรียนรู้ด้วยอิเล็กทรอนิกส์ นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบันเพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่อยู่ในสถานที่ต่างๆ ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้มีโอกาสเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันอย่างมีชีวิตชีวา (Active Learning) โดยที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความถนัดและความสามารถของตนเองผ่านระบบการจัดการด้านต่างๆ เกี่ยวกับกระบวนการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลให้เป็นไปอย่างอัตโนมัติเสมือนกับการเรียนการสอนในสถานศึกษาปกติ จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงสังคมการเรียนรู้ให้กว้างไกลมากขึ้นและตอบสนองต่อความต้องการของประชากรในชาติที่ต้องการศึกษาตลอดชีวิต (Life Long Learning) แต่การนำระบบ e - Learning มาใช้พัฒนาการเรียนรู้ของ 
ผู้เรียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น จำเป็นที่ต้องมีการพัฒนาทางด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่องทั้งครูผู้สอน ผู้เรียน เนื้อหาวิชา เทคนิคการนำเสนอ การบริหารจัดการ การพัฒนาเทคโนโลยีและการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ  

 

แหล่งอ้างอิง

 

พัฒนาการและทิศทางของ E-Learning ในประเทศไทย.  [ ออนไลน์  ].  เข้าถึงได้จาก: http://209.85.173.104/search?q=cache:aQId9HLV-jMJ:www.ceted.org/plan/world/lesson_03.doc+E-+learning+filetype:doc&hl=th&ct=clnk&cd=22&gl=th

 “e-Learning”.  [ ออนไลน์  ].  เข้าถึงได้จาก: http://209.85.173.104/search?q=cache:hpZ0FKzt6dMJ:gotoknow.org/file/nittaya_pd/elearning.doc+E-+learning+filetype:doc&hl=th&ct=clnk&cd=49&gl=th

“e-learning : ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ในอนาคต .  [ ออนไลน์  ].  เข้าถึงได้จาก: http://209.85.173.104/search?q=cache:FdjTLiJgblUJ:images.phichamon.multiply.com/attachment/0/RpsgMgoKCooAAF5N92o1/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%2520ICT.doc%3Fnmid%3D49975027+%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89+filetype:doc&hl=th&ct=clnk&cd=65&gl=th

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #e - learning
หมายเลขบันทึก: 198988เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2008 23:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 09:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตัวอักษรที่ใช้ในบันทึกอ่านยากจังครับ :) """ กลัวผู้อ่านความรู้ตกหล่นน่ะครับ

ขอบคุณครับ สู้ ๆ ครับ :)

สวัสดีครับ

แวะมาเยี่ยมครับ

ผมว่า E-learning ดีบางส่วน

แต่การเรียนการสอนบางอย่างก็ยังไม่เหมาะกับ E-learning ต้องคิดสร้างสรรค์ให้ดีและใช้พลังในการทำอย่างมาก ผมก็พยายามทำบทเรียนสำหรับ E-learning อยู่เหมือนกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท