นำวาบความคิดบันทึกลงบล็อก


  • ระดับของความกระหาย
  • วิธีการจัดการกับสิ่งที่กำลังเรียนรู้
  • และการทำให้เชื่อมต่อหรือ connect ตลอดเวลา

        3 อย่างนี้หากมีในครูอาจารย์ นักเรียนนักศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง ย่อมเยี่ยมที่สุด

ด้านหนึ่งครูอาจารย์ : กระหายสอนในขณะที่อีกด้านหนึ่งนักเรียนนักศึกษา : กระหายเรียนกระหายศึกษา ก็จะเกิดผลดีต่อทั้งคู่ แต่หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้นที่กระหายก็ย่อมล้มเหลว หรือระดับความกระหายที่แตกต่างกันในระหว่างทั้งสองก็เช่นกัน และย่อมรวมถึงคุณภาพของความกระหายด้วย แต่หากทั้งคู่ไม่มีความกระหายเลยอันนี้น่ากลัว

ด้านหนึ่งครูอาจารย์มีวิธีการจัดการในสิ่งที่จะสอน : ในขณะที่อีกด้านหนึ่งนักเรียนนักศึกษามีวิธีในการจัดการในสิ่งที่จะเรียนจะศึกษา หากการจัดการของทั้งสองส่วนมีคุณภาพ และสอดรับกันซึ่งน่าสนใจมาก และหากว่าครูอาจารย์รู้วิธีการจัดการความรู้ของผู้ที่เขาจะสอน และนักเรียนนักศึกษาก็รู้วิธีการจัดการความรู้ของผู้ที่จะสอนเขา ก็จะยิ่งน่าสนใจใหญ่

ด้านหนึ่งครูอาจารย์เชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลากับความรู้และอัพเดตเสมอ : ในขณะที่นักเรียนนักศึกษาก็เชื่อมต่อกับความรู้และพร้อมเสมอสำหรับการอัพเดต

ครูอาจารย์กับนักเรียนนักศึกษาเปรียบกับเครื่องรับเครื่องส่งที่หากปรับจูนให้เข้ากันอย่างถูกต้องเหมาะสมก็จะสามารถสื่อสารกันได้อย่างดีเยี่ยม

 

หมายเลขบันทึก: 198985เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2008 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • ครูอ้อย มายกมือ เห็นด้วยค่ะ
  • หาก ผู้สอน และ ผู้เรียน ปรับจูน เครื่องรับ และเครื่องส่ง ให้พอดีกัน....ทุกอย่าง จะไปด้วยดี....

อิอิ  โปรดฟังอีกครั้ว...ทุกเรื่อง เลยค่ะ

จริงครับ..บางทีครูกระหายสอน..เด็กหายอยากที่เรียน...แต่อย่างไรครูกระหายสอนไว้ก่อนแหละดี.....กลัวแต่ครูหายสอนเท่านั้นแหละที่เด็ก..จะแย่

ผมว่าผู้สอนเป็นแกนหลักว่า จะมีวิธีการอย่างไรให้เด็กไม่หาย ที่เด็กหายส่วนใหญ่เพราะเขาไม่ชอบวิธีการสอนแบบเดิมๆมากกว่า ผมว่าครูลองปรับวิธีการสอนดูแล้วจะรู้ว่าอาชีพนี้มันมีความสุขมากเมื่อเด็กแย่งกันเข้าเรียน (ประสบการณืของตัวเองครับ)อย่าไปโทษเด็กเลยครับ วัลลอฮฺอะลัม

  • สวัสดีครับครูอ้อยP
  • เป็นการบันทึกประกายความคิดที่วาบขึ้นขณะเดินทางไปทำงานครับ แม้เป็นประกายไฟเล็กน้อย หากปล่อยให้ดับไปก็น่าเสียดาย จึงนำมาบันทึกไว้หวังใจว่าประกายไฟเล็กๆนี้จะลุกสว่างจ้าในวันหนึ่ง
  • ผมมักได้ยินเรื่องการอบรมพัฒนาครูอาจารย์เตรียมการสอนแบบนั้นแบบนี้ แต่น้อยมากที่จะมีการจัดอบรมแนะนำนักเรียนนักศึกษาพัฒนาเตรียมการเรียน แม้กระทั้ง น.ศ.มหาวิทยาลัย
  • คล้ายๆกับว่าเราเตรียมความพร้อมข้างเดียว
  • เลยมาคิดว่า จะดีกว่าไหมหากเตรียมความพร้อมทั้ง ๒ ส่วน ทั้งฝ่ายที่สอนและถูกสอน รวมถึงฝ่ายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
  • ได้ครูอ้อยมายกมือสนับสนุนอย่างนี้ดีใจจังเลยครับ ขอบคุณครูอ้อยมากๆเลยครับ
  • ครับ ท่านครูP พิสูจน์ ของน้องจิ
  • ดีใจจังเลยครับที่ท่านครูแวะมาเยี่ยม
  • ใช่ครับ....กลัวแต่ครูหายสอนเท่านั้นแหละที่เด็ก..จะแย่...
  • และไม่มีอะไรแย่ไปกว่านี้จริงๆด้วยครับ
  • ขอบคุณมากครับท่านครู

 

  • อ.เสียงเล็กๆครับ น่าสนใจมากครับที่ อ.โพสว่า ผมว่าครูลองปรับวิธีการสอนดูแล้วจะรู้ว่าอาชีพนี้มันมีความสุขมากเมื่อเด็กแย่งกันเข้าเรียน (ประสบการณ์ของตัวเองครับ)
  • ขอบคุณมากครับ

ครูอาจารย์กับนักเรียนนักศึกษาเปรียบกับเครื่องรับเครื่องส่งที่หากปรับจูนให้เข้ากันอย่างถูกต้องเหมาะสมก็จะสามารถสื่อสารกันได้อย่างดีเยี่ยม

.....

อืม ก็เห็นด้วยนะคะ

แต่บ่อยครั้ง ที่ปรับจูนยังงัยก็ไม่เข้ากันอยู่ดี เพราะครูเป็นคลื่นในระบบ FM ในขณะที่นักเรียนเป็นคลื่นในระบบ AM :-)

สวัสดีค่ะ

* เข้ามายกมือเห็นด้วยค่ะ

* ครูก็ทำหน้าที่คล้ายแพทย์นะคะ

* ผู้ป่วยไม่ดูแลตัวเองผู้รักษาก็ต้องหาวิธีโน้มน้าวใจ

* ครูตั้งใจดีแล้ว...เด็กๆ ก็จะตามมาค่ะ

* ขอบคุณมากค่ะ

  • สวัสดีครับอาจารย์พรรณา
  • ดีใจจังเลยครับที่อาจารย์เข้ามายกมือด้วยอีกคน
  • ใช่เลยครับ "ครูก็ทำหน้าที่คล้ายแพทย์ด้วย" ต้องรักษาด้วย
  • เพราะนักเรียนที่ป่วยไข้นี่ยอมไม่เจริญอาหารอย่างคนปกติ แม้ครูอาจารย์จะขยันป้อนข้าวป้อนน้ำ นักเรียนนักศึกษาเหล่านั้นก็คงทานไม่ค่อยจะลงนะครับ
  • แต่หากนักเรียนนักศึกษาสุขภาพดีและแข็งแรงดีนี่แล้วนี่ หากครูอาจารย์ปรุงการสอนดี เด็กๆก็จะทานเอง โดยที่ครูอาจจะไม่ต้องป้อนก็ได้ครับ แค่เห็นอาหารก็น้ำลายไหลแล้ว
  • พูดถึงข้าวยามเที่ยงนี่ ชักหิวแล้วซิครับ
  • ขอบคุณอาจารย์พรรณามากครับ

ครับ เป็นวิธีการที่ครูทุกคนต้องคำนึง

และตัวอย่างที่ดีที่สุดในการสอนให้ถูกต้อง ต้องดูแบบอย่างจากนบี(ศ็อลฯ)

ครั้งหนึ่ง นบีสอนบรรดาเศาะฮาบะฮฺ เรื่องอิสลาม อิมาน และวันกิยามัต

เวลาเริ่มต้น

ต้องจูน..คนฟังกับคนพูด

ด้วยการให้คนฟังมีแรงจูงใจพอในการสนใจสิ่งที่จะพูด

ด้วยการ เป็นชายแปลกหน้า น่าสนใจ

แล้วเรื่องราว ทำเป็นแบบมาถามนบี

เรื่องนี้ผมได้เขียนมาหลายรอบแล้วครับ ...

  • การสอนของนบี (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) นั้นน่าสนใจมากครับท่านอาจารย์ Ibm ครูปอเนาะ เพราะ1,429 ปีกว่าแล้วแต่สิ่งที่ท่านนบี (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน)สอนยังคงเป็นที่จดจำ บอกเล่า และได้รับการปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งน่ามหัศจรรย์มาก
  • ขอบคุณท่านอาจารย์Ibm ครูปอเนาะมากครับ
  • และขอดุอาต่อเอกองค์อัลลอฮฺขอทรงคุ้มครอง ดูแล และรักษาอาจารย์ให้หายและกลับคืนสู่สุขภาพที่แข็งแรงโดยเร็ววัน อามีนยาร็อบบัลอาลามีน

เมื่อกี้เห็นเมล์มีคนถามผ่าน learners.in.th ก็เลยไปตอบเขาหน่อย

จริงๆแล้วเรื่องที่เขียนไม่เกี่ยวกับที่เขาถาม.. แต่โดยรวมๆแล้วน่าจะรวมกันได้

ผมเช็คดีมีคนหนึ่งได้ถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในอัลกุรอาน ..

ผมก็ตอบไปง่ายๆ เพื่อความจูนของคน คือการใช้ อะลีฟ ลาม มีม ถ้าสนใจไปอ่านได้ครับ

http://learners.in.th/blog/islampsycho/49694?page=1

  • ได้เข้าไปอ่านแล้วครับ อาจารย์Ibm ครูปอเนาะ
    http://learners.in.th/blog/islampsycho/49694?page=1
  • จริงๆแล้วไม่เฉพาะ "แรงจูงใจในอัลกุรอาน" เท่านั้นที่เราสามารถเข้าไปศึกษาค้นคว้าจากคลังแห่งอัลกุรอาน สิ่งจำเป็นใดๆก็ตามที่เกี่ยวกับมนุษย์ล้วนถูกบรรจุลงในนั้น
  • ในฐานะที่อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงสร้างมนุษย์และสร้างสิ่งต่างๆให้เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์แล้ว อัลลอฮฺยังทรงประทาน "คำแนะนำ" ของพระองค์แก่มนุษย์ผ่านท่านนบี (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) เพื่อท่านนบี (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) จะได้อธิบายและสาธิตตลอดจนให้คำแนะนำเพิ่มเติม
  • อัลกุรอานในอีกแง่หนึ่งคือการที่อัลลอฮฺ"ทรงตรัส" หรือ"พูด"กับมนุษย์ หรือการพูดของผู้ทรงสร้างกับผู้ที่ทรงสร้าง ซึ่งพระองค์ย่อมทรงรู้ดีที่สุดว่าควรจะสื่อสารกับมนุษย์ที่ทรงสร้างอย่างไร? และหากพิจารณาจากมุมมองของจิตวิทยาเราก็จะพบกับรูปแบบของการ "motivation"หรือ"การจูงใจ"ของอัลลอฮฺในอัลกุรอาน อย่างที่อาจารย์Ibm ครูปอเนาะ ได้ยกตัวอย่างไว้ และซึ่งสามารถมองจากมุมอื่นๆได้อีก วัลลอฮฺฮูอะอฺลัม
  • ขอบคุณมากครับ

เห็นด้วยจริงๆอย่างว่าล่ะค่ะ..

หากทั้งสองฝ่ายจูนตรงกันเนี่ย..บรรยากาศการเรียนรู้จะมีพลังมากๆ..

อาจารย์สบายดีนะคะ^^

  • ใช่ครับครูแอ๊ว "หากทั้งสองฝ่ายจูนตรงกันเนี่ย..บรรยากาศการเรียนรู้จะมีพลังมากๆ.."
  • และที่สำคัญยังทำให้ "ทั้งผู้สอนและผู้เรียน" มีความสุขด้วยครับ
  • จะเกิดอะไรขึ้นน้า...ถ้าครูอาจารย์และนักเรียนนักศึกษาตื่นเช้าขึ้นมาและนึกถึงห้องเรียนแล้วยิ้มอย่างมีความสุข เหมือนกับ เออ... เหมือนกับ จะได้ไปพบ "คนรัก" นี่แหม มันมีพลังดึงดูดที่น่าสนใจทีเดียวนะครับ
  • แต่ถ้าตื่นขึ้นมานึกถึงห้องเรียน นึกถึงการสอน นึกถึงการเรียนแล้ว หัวใจมันหดหู่ เบื่อ อะไรประมาณนั้นหรือฯลฯ นี่น่าสงสารที่สุดเลยครับทั้งผู้สอนและผู้ถูกสอน
  • ดีใจมากครับที่ครูแอ๊วแวะมาโหวตเห็นด้วย ดีจังเลยครับ ผมตอนนี้สบายดีครับ อัลหัมดุลิลละฮฺ หวังใจว่าครูแอ๊วก็สบายดีนะครับ
P
8. อ.อาลัม
เมื่อ พฤ. 07 ส.ค. 2551 @ 09:40
776569 [ลบ]

  • อาจารย์ซอบีเราะห์ครับ
  • หากว่านี่คือข้อค้นพบ "แต่บ่อยครั้ง ที่ปรับจูนยังงัยก็ไม่เข้ากันอยู่ดี เพราะครูเป็นคลื่นในระบบ FM ในขณะที่นักเรียนเป็นคลื่นในระบบ AM :-)"
  • จากประสบการณ์พบว่าเคสที่อาจารย์กล่าวถึงมีเกิดขึ้นจริงๆในทุกระดับการศึกษาครับ
  • ปัญหามันอยู่ที่ หลังจากพบแล้วเราจะทำอย่างไรต่อไป
  • หากเราเอาเคสนี้มาพิจารณาหาทางแก้ปัญหา น่าสนุกมากครับ และเมื่อเราทำสำเร็จหรือมีแนวโน้มของพัฒนาการที่ดีขึ้นนี่ จะเป็นความรู้สึกดีมากครับคล้ายๆกับการได้ช่วยชีวิตนักเรียนนักศึกษาเหล่านั้น
  • ช่วงที่ผมทำงานในโรงเรียนอนุบาล-ประถมฯเจอเคสแบบนี้มาก เพราะมีนักเรียนจากอำเภอรอบนอกเข้ามาเรียนจำนวนมาก ถ้าเข้าเรียนในระดับอนุบาล ๑ นี่ไม่ค่อยมีปัญหาเพราะเราสามารถปรับจูนตั้งแต่แรก เซตระบบ เซตค่าอะไรได้ แต่ถ้าเข้าเรียนในชั้น ป.๑ หรือระดับที่สุงขึ้น และยิ่งสูงขึ้นจะมีปัญหามาก และปัญหานั่นที่ผมเจอหากมันไม่ได้รับการแก้ไขในแต่ละระดับการศึกษาจนกระทั่งมาถึงระดับอุมศึกษาก็อย่างที่อาจารย์ซอบีเราะห์เปรียบเอาไว้นั้นแหละครับ
  • ตอนนั้นผมเคยคิดตั้งใจจะตั้งกลุ่มครูที่สนใจศึกษาวิจัยเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาของนักเรียนที่รับเข้ามาจากอำเภอรอบนอกให้สามารถเรียนทันเพือนคนอื่นๆ แต่ก็ไม่ทันได้ทำ ผมได้ย้ายมาทำงานที่มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาเสียก่อน
  • ที่จริงแล้วการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาหรือโรงเรียนสาธิตหรือชื่ออะไรก็แล้วแต่ น่าที่จะวางเป้าหมายที่ชนบทหรือตั้งอยู่ในชุมชนชนบทและรับนักเรียนจากชนบทเพราะพวกเขาเป็นส่วนใหญ่ของนักเรียนในประเทศนี้ การแก้ปัญหาของพวกเขาได้ก็จะสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาของนักเรียนส่วนอื่นๆของประเทศได้ด้วยซึ่งมีประโยชน์มาก
  • ครูอาจารย์หลายๆท่านทีเดียวที่มาจากชนบทและสามารถก้าวขึ้นไปเป็นครูอาจารย์ย่อมเข้าใจส่วนนี้ได้ดีและผมคิดว่าครูอาจารย์เหล่านี้ซึ่งมีโอกาสดีกว่าคนอื่นๆน่าจะสร้างโอกาสนั้นสำหรับอนุชนรุ่นหลัง
  • แต่ก็ออกบ่อยครับที่พบว่าผู้ได้รับโอกาสเหล่านั้นไม่ได้ทำสิ่งที่ควรทำซึ่งน่าเสียดายมากครับ
  • ขอบคุณมากครับอาจารย์ซอบีเราะห์ และผมคิดว่าครูอาจารย์มีส่วนอย่างสำคัญในการพัฒนาการศึกษาส่วนนี้ ขอจงอย่าท้อถอย สู้ๆครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท