คำว่า "แปลกแยก" ทำเอาผมงง


มันแปลกตรงไหน

ตั้งใจจะเขียนระบายในบล๊อกตั้งนานแล้วหลังจากได้รับเอกสารให้ปรับแก้ของคณะฯ ผมงงมากครับว่าทำไมถึงใช้คำว่า "แปลกแยก" กับบริบทของความรู้สึกไม่ได้ อันเนื่องมาจากผมนำเอกสารของคณะเดิมมาปรับแกใหม่ในส่วนที่ผมรับช่วงต่อ ซึ่งเข้าใจว่าทางคณะฯปล่อยให้ใช้เอกสารดังกล่าวมาห้วงเวลาหนึ่ง ความจริงผมก็ไม่อยากไปแตะต้องกับสิ่งที่มันน่าจะสมบูรณ์อยู่แล้ว มิอย่างนั้นก็คงไม่สอนกันเป็นวรรคเป็นเวรมาห้วงเวลาหนึ่ง แต่ผมคิดว่าถ้าเขียน คำว่า "แตกแยก" มันจะดูเป็นภาษาพูดและรุนแรงในความรู้สึกเกินไปไหม๊ จึงได้ทำการเปลี่ยนคำดังกล่าวเป็น "จะไม่รู้สึกสร้างความแปลกแยก" ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่ามันเป็นภาษาเขียนมากกว่า แต่จนแล้วจนรอดก็ต้องโดนปรับให้แก้คำนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่า..ไม่ควรใช้และควรเปลี่ยนคำใหม่ ใช้ไม่ได้ ทำเอาผมก็คิดอยู่นานว่าจะใช้คำว่าอะไรดี หรือจะให้ไปใช้คำว่า "แตกแยก"ตามของเดิมที่คณะฯเคยตรวจ ผมคงรับไม่ได้แน่(โดยส่วนตัวนะครับ) ถ้าผู้อ่านท่านใดมีคำที่จะใช้ในบริบทกับความรู้สึกที่ดีกว่า รบกวนช่วยแนะนำหน่อยนะครับ เพราะบางครั้งประสบการณ์ของผมอาจน้อยเกินกว่าผู้อ่านหลายท่าน อันนี้ก็ขอคำแนะนำหน่อยครับ

    แต่พอวันนี้ไปเรียน ด้วยความคับข้องใจกับคำนี้ จึงได้เรียนถามอาจารย์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆ ก็ได้คำตอบอย่างที่ผมคิด ผมว่าบางครั้ง เรายังคงยึดติดกับสิ่งเดิมๆอยู่ไหมครับ อะไรบางอย่างเลยเป็นไปอย่างที่เห็นในหลายๆเรื่อง ใครคนหนึ่งไม่อยากตั้งคำถามอะไรอีกมากมาย แต่อยากจะบอกว่า บางครั้งการเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำอีกมันน่าจะดีกว่า จะปิดกั้นการยอมรับเสียงเล้กๆ

    เคยไหมครับการทำงานที่บางครั้งมันต้องการให้เป็นไปด้วยกับความที่ควรจะเป็นแต่พอทำแล้วรู้สึกว่าสิ่งที่เราทำใครบางคนอาจไม่ยอมรับเพียงเพราะยังยึดติดอยู่กับคำว่า "ประสบการณ์ มากกว่า สิ่งที่ควรจะเป็น" โดยเฉพาะสังคมปัจจุบันอันนี้ก็น่าคิดนะครับกับการทำงาน

   ตึก หรือ อาคารสักหลัง คงเสร็จได้อยาก หากทว่าผู้ก่อสร้างไม่ปรับเปลี่ยนตัวเองให้รับผิดชอบกับงาน และสิ่งสำคัญที่เรามักมองข้ามเลยทำให้ ตึกอาจเสร็จช้ามากเกินไป คือ การไม่ยอมปรับเปลี่ยนและรับฟังเสียงเล้กๆอย่างคนงานที่ร่วมสร้างตึกบ้าง...สุดท้ายก็เกิดคำถามตามมาว่า "เมื่อไหร่ตึกจะเสร็จ"

  ผมคนนึงหละที่ไม่อยากทำงานบนความคับข้องใจ และผมมองว่าที่ไหนๆก็คงไม่มีใครอยากให้มันเป็นแบบนี้ (จริงไหม๊ครับ)

    ผู้รู้ช่วยชี้แนะหน่อยครับ

   วัลลอฮฺอะลัมครับ

หมายเลขบันทึก: 198455เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2008 16:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

"แปลกแยก" ผมมองว่าใช้แสดงความรู้สึกได้ ศัพท์นี้ให้เรามองเห็นภาพชัดว่า แยกตัวกับส่วนรวม  สื่อถึง โดดเดี่ยว และเหงา

และ "แตกแยก" ในตัวภาษาก็ดูรุนแรงจริงครับ

ผมเคยสังเกตเอกสารหลายเล่มใช้คำว่า

"ความเป็นอื่น"

"ความต่าง"

ขอบคุณ พี่เอก

1. จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร มากครับที่ช่วยชี้แนะ และผมเห็นด้วยกับพี่ครับ ส่วนคำว่า "ความเป็นอื่น" หรือ "ความต่าง" อันนี้ก็น่าพิจารณาแต่ต้องดูบริบทของผู้ที่เราจะใช้ด้วยใช่ไหมครับเพราะหากใช้ "ความเป็นอื่น" ในบริบทของนักศึกษาเขาอาจเข้าใจยากตามความคิดเห็นของผม ขอบคุณอีกครั้งสำหรับความรู้สึกดีๆครับที่ได้ส่งผ่านเมลล์มา

กำลังสงสัยว่า อาจารย์กำลังพูดถึงเอกสารอะไร ผมว่า "แปลกแยก" น่าจะเป็นคำมาตรฐานนะครับ แถมน่าจะเป็นศัพท์วิชาการด้วย เป็นอาการทางจิตวิทยาชนิดหนึ่ง ฮิฮิ

เอกสารที่ผมพูดถึงคือประมวลการสอนครับ และผมก็คิดว่าคำว่าแปลกแยกมันน่าจะใช้ได้ครับ และขอบคุณอาจารย์

3. จารุวัจน์ ที่ยืนยัน ในฐานะนักวิชาการคนนึงครับ ขออัลลอฮฺตอบแทน ผมไม่ได้อะไรหรอก เพียงแต่สงสัยทำไมต้องแก้แค่นั้น แต่ก็คงจะแก้ตามผู้ใหญ่แนะนำให้แก้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท