นวัตกรรม "PODOSCOPE (หมอดูลายเท้า)"


การที่ผู้ป่วยเบาหวานมองเห็นเท้าตนเองขณะประเมินด้วย Podoscope ทำให้ตระหนักถึงปัญหาที่พบและมีส่วนร่วมในการดูแลเท้าตนเองมากขึ้น ซึ่งเปรียบได้กับ มีการทำนายทั้งการเกิดแผล ตลอดจนการป้องกันการเกิดแผลได้ในอนาคตนั่นเอง (หมอดูลายเท้า)

นวัตกรรม "PODOSCOPE  (หมอดูลายเท้า)"

 

พเยาว์ ปิยะไพร นักกายภาพบำบัด รพร.ธาตุพนม

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท้า มีปัญหาที่พบได้บ่อยในคือ การเกิดแผล ซึ่งพบในทุกโรงพยาบาล ตั้งแต่การทำแผลที่ซ้ำซาก มี Re-admission, Re-debridement และการส่งต่อที่ซ้ำซาก ส่งผลให้เกิดผลเสียตามมา กระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างเลี่ยงไม่ได้  ทั้งเวลาในการรักษา ค่าใช้จ่ายสูง  บางรายรุนแรงจนต้องสูญเสียอวัยวะ จากการถูกตัดนิ้ว ตัดเท้าหรือตัดขา  ซึ่งปัญหาดังกล่าวมักเกิดจากการผิดรูปของเท้า มีสาเหตุหลักมาจากการสูญเสียระบบประสาทส่วนปลาย(neuropathy) และไม่ได้มีการประเมินความผิดปกติและป้องกันแต่เนิ่นๆ  การดูแลที่สำคัญอยู่ที่ความสามารถในการประเมินความผิดปกติอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้อย่างเหมาะสม  ตามมาตรฐานการตรวจเท้าการประเมินแรงกดของฝ่าเท้าต้องใช้อุปกรณ์ที่มีความซับซ้อน  ราคาแพง และสามารถให้บริการตรวจได้ที่สถาบันทางการแพทย์ที่มีขนาดใหญ่  โรงเรียนแพทย์ หรือโรงพยาบาลที่มีความพร้อมของบุคลากรและเครื่องมือ เช่น เครื่อง I-step, Foot scan, Foot pressure graph และ Podoscope

คลินิกสุขภาพเท้าเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จึงมีแนวคิดที่จะประยุกต์เครื่อง Podoscope เพื่อใช้ในการประเมินการลงน้ำหนักเท้า โดยประยุกต์ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ได้แก่ กระจกใส กระจกเงา หลอดไฟ และโครงเหล็กนำมาประกอบกันโดยวางกระจกใสไว้ด้านบนในแนวราบ กระจกเงาติดที่ด้านล่างในแนวทะแยงเชื่อมต่อกันด้วยโครงเหล็กสี่เหลี่ยม แล้วให้ผู้ป่วยยืนบนแผ่นกระจกใสเพื่อประเมินการลงน้ำหนักของเท้า แสดงผลด้วยภาพเท้าสะท้อนที่กระจกเงาที่ปรับมุมได้ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถมองเห็นภาพเท้าของตนเองขณะตรวจ และสื่อสารกับผู้ประเมินได้ตรงกัน

 

ผลลัพท์ของการใช้ Podoscope กับผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกสุขภาพเท้าเบาหวาน จำนวน 119 คน พบความผิดปกติของเท้าจำนวน 104 คน แบ่งเป็น เท้าแบน 85 คน   เท้าโก่ง 8 คน เท้าผิดรูปแบบอื่น  26  คน  นอกจากนี้ในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 78 คน  ยังพบแรงกดของฝ่าเท้าที่มากกว่าปกติ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดแผล การจัดการปัญหาเหล่านี้มีตั้งแต่ปรับรองเท้าที่เหมาะสมจำนวน 57 คน  ออกแบบและตัดรองเท้าเฉพาะรายจำนวน 22 คน  และสามารถป้องกันการเกิดแผลที่เท้าได้จำนวน 64  คน 

จากการที่ผู้ป่วยเบาหวานมองเห็นเท้าตนเองขณะประเมินด้วย Podoscope ทำให้ตระหนักถึงปัญหาที่พบและมีส่วนร่วมในการดูแลเท้าตนเองมากขึ้น  ซึ่งเปรียบได้กับ มีการทำนายทั้งการเกิดแผล ตลอดจนการป้องกันการเกิดแผลได้ในอนาคตนั่นเอง (หมอดูลายเท้า) 

หมายเลขบันทึก: 198442เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2008 15:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ขอตัวอย่างเครื่องซักเครื่องให้รพ.สกลนครได้มั้ยคะ....ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • เยี่ยมมากเลยค่ะ
  • สวัสดีคะ
  • เป็นสิ่งที่ดีมากเลยคะ
  • ขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูลเรื่องนี้ไว้ใช้เป็นประโยชน์นะคะ

จริงๆ แล้วเป็นครั้งแรกที่ผมเห็นแนวทางนี้จากบล็อกพี่ที่นี่

น่าสนใจมากครับพี่เภสัชอเนก

พี่น้องแถวนครพนมที่เป็นโรคเบาหวานคงตระหนักถึงการดูแลสุขภาพเท้ามากขึ้น

อาจเป็นเพราะผมไม่ได้สนใจงานทางด้านคลินิกมากครับ

ส่วนใหญ่ก็เน้นทางด้านเภสัชชีวภาพ และตอนนี้ก็เรียนฉีกแนวไปเลยครับ

ดีใจมากครับที่ได้รู้จักกับพี่

หากพี่ไปในงานนำเสนอผลงานวิจัยทางเภสัชศาสตร์ที่จุฬาฯ ในต้นเดือนธันวานี้ คงมีโอกาสได้เจอพี่ครับ เพราะผมจะกลับเมืองไทยและคงเข้าร่วมงานประชุมนั้นด้วยครับ

พงษ์ครับ

ตอนนี้เทรนด์ของเท้าเบาหวานส่วนใหญ่คือ ต้องเปิดคลินิกเท้าให้ได้

มีหลายโีรงพยาบาลถามผมเรื่อง podoscope ผมจะพูดสั้นๆว่า

"ไปซื้อที่โรงพยาบาลธาตุพนมครับ"

ต้องการซื้อเครื่อง podoscopeไว้ใช้งานที่โรงพยาบาลค่ะ ขอทราบราคา หรือขอเบอ์โทรติดต่อกลับได้ไหมคะ ต้องการทราบด่วนเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

su

สวัสดีปีใหม่นะคะ..ขอให้ทุกคนที่ธาตุพนมมีความสุขทุกวันเวลา...คิดถึงค่ะ....

Catsny6

ตกลงว่าจะสั่งซื้อยังงัย..คะ

ราคาเท่าไหร่..ติดต่อยังงัย..จัดส่งยังงัยคะ

สนใจมากเลยค่ะ

ที่สำคัญ--เมื่อขึ้นไปยืนแล้วดูยังงัยคะว่าตรงไหนมีแรงกดมาก

เพราะคิดว่าเท้าคนปกติก็ต้องมีแรงกดกันทุกคนแหละค่ะ

ตอบท่านที่ต้องการซื้อ

เนื่องจากเครื่องที่ รพ. เป็นการปรับ ประยุกต์จากเครื่องต้นแบบ เพื่อใช้ประเมินการลงน้ำหนัก สามารถผลิตเองได้จากช่างเหล็ก กระจก ทั่วๆไปครับ

แต่ที่น้องหงา นักกายภาพก็ใช้วิธีจ้างช่างข้างนอก รพ.ทำให้ครับ ไม่ได้ทำเองใน รพ. เครื่องละประมาณ 6 พัน แล้วแต่วัสดุครับ

ติดต่อน้องหงา ได้ที่ 086-7190829

แก้เบอร์ น้องหงา เจ้าของนวัตกรรมใหม่ครับ

085-0446678

เครื่อง podoscope ราคาประมาณเท่าไหร่อ่ะคะ

ล่าสุด( สิงหา 53 )เครื่องละ 10000 บาทค่ะ ซื้อที่ คุณ หงา โรงพยาบาลสุรินทร์

สามารถ ต่อเข้า หน้าจอ คอมพิวเตอร์ และ save ภาพได้

สวัสดีค่ะสมัครเป็นสมาชิกค่ะ เป็นนิสิตปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกำลังศึกษาเรื่องของการตรวจประเมินรูปเท้าด้วยโพโดสโคปแบบเชิงตัวเลขค่ะ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท