องค์กรอัจฉริยะ


การสร้างโรงเรียนให้เป็นองค์อัจฉริยะ
          องค์กรอัจฉริยะ (Intelligence Organization) เป็นกระบวนการหนึ่งของการบริหารที่มุ่งเน้นให้องค์
และบุคลากรมีกระบวนการทำงานที่เพียบพร้อมไปด้วยประสิทธิภาพและมีผลการปฏิบัติงานที่เปี่ยม
ไปด้วยประสิทธผล โดยเป็นการเชื่อมโยงรูปแบบของการทำงานเป็นทีม (Team Work)
 เข้ากับกระบวนการในการเรียนรู้ร่วมกันและเปลี่ยนแปลง(change)แล้วเปิดโอกาสให้ทีมงานนั้น
นำมาประยุกต์เข้ากับงานมีการส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการคิดริเริ่ม(Intiative) 
และสร้างสรรค์ (Creativity) อันเป็นผลให้เกิดศักยภาพของทีมงานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
และการสร้างนวัตกรรม (Innovation) ต่าง ๆ เป็นช่องทางให้ได้ รับความจงรักภักดี ต่อผลิตภัณฑ์
 และบริการจากผู้บริโภคและสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดและเพิ่มพูนกำไร องค์กรอัจฉริยะนี้
จะพัฒนาอยู่ตลอดเวลาในการเรียนรู้ร่วมกันและนำไปประยุกต์กับการทำงาน เพื่อปรับปรุง
กระบวนงานและคุณภาพของสินค้า บริการ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานในองค์กรให้
ก้าวสู่ความเป็นเลิศ
 
ขีดความสามารถ ๑๒ ประการ สู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะ


๑. มีความมุ่งหมาย มุ่งมั่น ที่ชัดเจน


การเป็นเบอร์ ๑ ขององค์กรคือ ต้องมีการ manage share vision ทุกคนในองค์กร


ร่วมคิดและเป็นเจ้าของเป้าหมาย แต่เป็นเป้าหมายในระดับคุณค่า ความเชื่อลึกๆ


ที่มีร่วมกันจะเกิดพลังมหาศาล เราใช้พลังความแตกต่างไม่เห็นพ้อง มองได้หลากมุม


แล้วเราสามารถนำความไม่เห็นพ้องเหล่านั้นมาขับเคลื่อนผ่านการ share vision ซึ่งทำให้สังคมไทย


มีพลังขึ้น เป็นการรวมพลังความสามัคคีในความไม่เห็นพ้อง มีดาวดวงเดียวกัน มีความมุ่งมั่น


(passion) สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องมีกระบวนการ build shared vision ต้องมีการ manage


และต้องมี share vision ร่วมกันทุกวัน ในขณะเดียวกันทุกคนต้องนำมาตีความ พูดคุย ทำความเข้าใจ


ทำเป็นชีวิตประจำวันเป็นระยะๆ ถ้าเป็นเรื่องสำเร็จเล็กๆ ก็นำมาตีความว่ามีความสัมพันธ์อย่างไร


กับดาว ถือเป็น passion management จะทำให้เห็นคุณค่าและเป้าหมายร่วมกัน ทั้งหมดนี้เรียกว่า


เป็นการจัดการคุณค่า แต่ต้องทำในระดับ individual ซึ่งบุคคลใดที่ทำสิ่งเหล่านี้ในชีวิตประจำวัน


จะเป็นผู้ที่มีพลังสูงมาก อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากหนังสือ การจัดการความรู้


เพื่อการพัฒนาองค์กร อัจฉริยะพลังแห่งความหลากหลายนี้จะไม่มีความแตกแยกเพราะทุกคนมี


เป้าหมายที่สูงส่งมากกว่าความขัดแย้งเล็กๆ น้อยๆ share vision ทำให้เกิด synergy share vision


เปรียบได้กับการมีดาวดวงเดียวกัน จากหน่วยงานที่อยู่ในจุดที่แตกต่าง หลากหลายความเชื่อ


หลากหลายมุมมอง และวิธีคิด


๒. ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท (อปมาโท มีสติ & ปัญญา)


มีความเชื่อในความเปลี่ยนแปลง (ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท) ตัวอย่างเครื่องมือเช่น


Organization Mapping, Environmental Scanning ต้องตั้งสติอยู่ในการเปลี่ยนแปลง
ต้องทำ change management ทั้งภายในและภายนอก โดยต้องใช้การจัดการเชิงบวก



(positive change management)


๓. มีและใช้แผนยุทธศาสตร์ KM


ต้องมีแผน KM เป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์องค์กร ทำให้เห็นว่า KM


ทำให้คนทำงานมีความสุข ลดความลำบากในการทำงานได้มากขึ้น ต้องเป็นยุทธศาสตร์ที่ KM


ไปรับใช้เป้าหมายขององค์กร ทำให้คนทำงานจาก nobody เป็น somebody ด้วยการเล่าความสำเร็จ


เล็กๆ ที่เขาภูมิใจที่หนุนให้การเดินไปสู่การบรรลุเป้าหมายใหญ่ได้อย่างไร และต้องทำให้ผลที่เกิดขึ้น


เป็นผลงานผู้ปฏิบัติงาน ไม่ใช่ผลงานของกลุ่ม KM


๔. มีและใช้ภาวะผู้นำและแกนนำ (Leadership)


ผู้บริหารสูงสุดต้องบริหารกระบวนทัศน์ ทำให้คนทำงานมุ่งอยกับการสร้างดาว


ของหน่วยงาน leadership ต้องมีอยู่ทั่วทั้งองค์กร อยู่ในทุกคน ทุกคนเป็นผู้นำ นำการเปลี่ยนแปลง


ณ จุดที่ตนเองรับผิดชอบ หาวิธีการใหม่ๆ สร้างนวัตกรรม สร้างการเปลี่ยนแปลงกับเพื่อนร่วมงาน


มีการทำ CQI (Continuous Quality Improvement) อยู่ทุกขณะจิต ร่วมกันสร้าง


Organizational Knowledge จาก Individual Knowledge


๕. จัดการความสัมพันธ์ระหว่างคน


องค์กรอัจฉริยะเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างคน เพราะความสัมพันธ์ระหว่างคนจะสร้าง


synergy ทำให้องค์กรมีพลังมากขึ้น ทำให้คนยกระดับขึ้น (new order) ยกระดับขึ้นไปจากความ


เป็นธรรมดา ทำให้ 1+1 กลายเป็นสิ่งใหม่ ความสัมพันธ์ระหว่างคนทำให้เกิด new property


ทุกคนต้องตระหนักว่าเราเป็น Part of the whole ที่มีคุณค่ามาก


๖. ทักษะพื้นฐานของพนักงาน


เป็นทักษะในระดับวิธีคิดและให้คุณค่า เป็นการปฏิบัติ การคิด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้


ทักษะที่สำคัญที่สุดคือทักษะการฟัง เห็นคุณค่าในสิ่งที่เขากำลังจะบอก ส่งสัญญาณเป็น


เกิดความเข้าที่ลึกซึ้งซึ่งไม่มีในตำราคืออ่านแล้วไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้ทักษะในการ


แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing literacy) เช่น การเล่าเรื่องความสำเร็จที่เราภูมิใจออกมา


เห็นคุณค่าความเชื่อที่อยู่เบื้องหลังได้ (storytelling), มีการฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening),


Appreciative Inquiry (AI), Positive Question คือ มีการถามที่เป็นการซักให้เกิดปัญญา


ซักหนุน, After Action Review (AAR), Collective Reflection เป็นการเอาประสบการณ์


ตรงมาไตร่ตรอง จิตจะมีพลังเมื่อเราทำอะไรบางอย่างที่เราชอบ เป็นต้นทักษะในการเข้าใจ


Mental Model ของตนเองและของผู้อื่น เป็นการพัฒนาองค์กร


๗. ทักษะในการใช้ ตัวช่วย” (enablers) KM


Enabler คือ เครื่องมือที่เป็นตัวช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีพลัง ใช้เท่าที่จำเป็น


เท่าที่เราถนัด แต่อย่าใช้ตัวช่วยมากนัก เราต้องรู้เพื่อใช้ ไม่ใช่รู้เพื่อรู้ แต่รู้เพื่อทำ ตัวอย่างตัวช่วย


เช่น BAR (Before Action Review), OM (Outcome Mapping) เป็นต้น





๘. ไร้กำแพง


กำแพงไม่ใช่กำแพงจริงแต่เป็นกำแพงใจ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนทำให้เกิดการเรียนรู้


อุปสรรคที่สำคัญคือต่างคนต่างอยู่เป็นหน่วย ไม่มีเวลามาพูดคุย เราทำงานต้องไม่เริ่มจากศูนย์


เพราะเพื่อนร่วมงานบางคนอาจมีความรู้นั้นอยู่แล้ว มีประสบการณ์ของเพื่อนมาช่วยแก้ปัญหา


เครื่องมือทลายกำแพงเช่น CFT (Cross Function Team) ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ,


Task Force, Job Rotation (ทำงานโดยหมุนความรู้ให้เพื่อนร่วมงานด้วย),


COP (กลุ่มความรู้เดียวกันแต่อยู่ต่างหน่วยงาน) เป็นต้น


๙. อิสรภาพ บรรยากาศเชิงบวก


บางหน่วยงานมี Talent management ต้องให้คนทำงานสามารถลองผิดลองถูกได้เอง


ผิดนิดหน่อยเสียหายไม่มาก แต่ทำให้คนทำงานได้เป็นผู้นำตัวเล็กๆ กล้าคิดที่จะเปลี่ยน


วิธีการทำงานของตนอยู่ตลอดเวลา ทำให้คนทำงานมีความสุข


๑๐. มีและใช้ การจัดการคนเก่ง การจัดการขุมทรัพย์ทางปัญญา


IO หัวใจอยู่ที่การเสาะหา resources ซึ่งก็คือ ทรัพยากรทางปัญญา


Intellectual Capital (IC) เป็นสิ่งที่จับต้องได้และไม่ได้ เช่น เป็นคน เป็นความสัมพันธ์


เป็นวัฒนธรรม เป็นความรู้ใหม่ เป็นต้น เราต้องหยิบทุกอย่างมาใช้เป็น IC ให้ได้IC คือคนทุกคน


ทุกคนเป็นคนเก่งแต่เก่งคนละอย่าง อาวุธในการใช้ IC คือการเห็นคุณค่า และการมีrecognition


แล้วเปิดโอกาสให้เขาได้เอาความเก่งนี้มาใช้ให้คนอื่นเห็นความสามารถและเห็นคุณค่าของเขา


แต่ขึ้นอยู่กับว่าเรามีความสามารถในการเห็นสิ่งเหล่านั้นเพียงใด


๑๑. มีและใช้ ระบบบันทึก ขุม/คลัง ความรู้


ในองค์กรต้องสนับสนุนให้คนทำงานจดบันทึก จดในสิ่งที่ตนปิ๊งแว๊ปขึ้นจากการทำงาน


บันทึกการเรียนรู้จากหน้างาน แล้วนำมา AAR ทำความเข้าใจ ยกระดับความรู้ร่วมกัน


และมีการจัดการเรื่องเล่าให้เป็นหมวดหมู่


๑๒. มีและใช้ระบบ ICT ICT เป็นเครื่องมือทรงพลังในปัจจุบันแต่หลายหน่วยงานที่ทำ KM


หลงเครื่องมือ ICT ที่ทำงานได้หลายอย่างจึงกลายเป็น Information Management (IM) ไม่ใช่


Knowledge Management (KM)
สรุปวิถีแห่งองค์กรอัจฉริยะองค์กรอัจฉริยะ คือ องค์กรที่เปลี่ยนตลอดเวลา



ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ เกิด Emergence สู่ new order ที่ไม่เหมือนเดิมเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา


และ share vision นั้นก็ไม่คงที่เพราะจะปรับไปเรื่อยๆ เป็นองค์กรที่ใช้การพัฒนาคุณภาพอย่าง


ไม่หยุดยั้ง ใช้ people process content technology ดึงพลังปัจเจกให้เป็นพลังหนึ่งเดียวกับองค์กร


คนถือว่าใหญ่ที่สุดแต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนใหญ่กว่า จึงเป็นสภาพของการเปลี่ยนแปลงที่


ไม่หยุดยั้ง และต้องลงมือปฏิบัติไม่เพียงแค่อ่านหรือฟังเท่านั้น

        
หมายเลขบันทึก: 198307เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2008 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นด้วยกับบทความนี้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่ว่าผู้บริหารมีภาวะการเป็นผู้นำมากน้อยเพียงไร ปัจจุบันพบว่าผู้นำส่วยใหญ่ไม่ได้มีประสบการณ์ในการทำงานเลย จบมาก็มาเป็นผู้บริหารแล้ว สรุปว่ายังเด็กอยู่เลย ถ้าเป็นประเภทหูเบาเจอผู้ใหญ่ที่ช่างเอาใจ ประจบหน่อยก็คล้อยตาม ผล...องค์กรย่ำแย่....

คงหายากนะคะผู้บริหารที่จบแล้วได้รับตำแหน่งเลยเพราะ คุณสมบัติของผู้บริหารต้องมีประสบการณ์ในการทำงานมาบ้างแล้ว (ดูมนคุณสมบัติของ ก.ค.ศ.บ้างนะคะ) คนเก่งเท่านั้นล่ะคะที่จะได้ขึ้นสู่ตำแหน่งตั้งแต่อายุน้อย และผู้บริหารรุ่นใหม่ทุกวันนี้เค้ามีความรู้ความสามารถสูงกันทั้งนั้น โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าคนที่เป็นผู้บริหารต้องมีอะไรหลายอย่างที่แตกต่างจากคนทั่วไป วุฒิภาวะและประสบการณ์ก็เป็นส่วนหนึ่งในการนำพาองค์กรสู่ความเป็นเลิศแต่ไม่ใช่ทั้งหมด หัวใจขององค์กรที่สำคัญซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนพลังในการสร้างสรรค์และพัฒนาองค์กรที่สำคัญที่สุด ก็คือบุคลากรในองค์กรต่างหาก ซึ่งบุคคลเหล่านั้นก็ต้องพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของตนเอง ช่วยคิดช่วยทำ และที่สำคัญต้องมีแนวคิดเชิงบวกต่างหากจึงจะสามารถนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท