บันทึกการเรียนรู้ของกลุ่มสัปดาห์ที่ 3 กลุ่ม 1 วิริยะ


การประเมินสมรรถนะตามตำแหน่ง/สายงาน

 

บันทึกการเรียนรู้ของทีม

 

ผู้บันทึก  MADAM_UU   (Uraiwan  Panyauthai)

วันที่บันทึก   วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551

 

« ประมวลกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) ของสมาชิกในกลุ่มในสัปดาห์ที่ 3

การเรียนรู้ผ่านไป 3 สัปดาห์  ผู้บันทึกมีความรู้สึกว่าในสัปดาห์ที่ 3 นี้ ทุกท่าน(รวมผู้บันทึกด้วย)เริ่มแผ่วลง(สำนวนของ อ.ปัด ขอยืมใช้) การ ลปรร.ของสมาชิกทั้งจำนวนครั้ง  จำนวนวันที่  online  ลดลง   เปิดเข้ามาที่ไรไม่คอยได้เจอสมาชิกในกลุ่มเลย  อาจจะ online เหมือนกัน  แต่ไม่ใช่ช่วงเวลาเดียวกัน  อีกอย่างอาจเป็นเพราะว่าแต่ละท่านมีภารกิจรัดตัว   ติดราชการ  อยู่นอกพื้นที่ซึ่งไม่มีสัญญาณ  ส่วนท่าน ฒ  ผู้เฒ่า  ผู้บันทึกก็ไม่ค่อยได้พบ  ที่พบบ่อยที่สุดก็เห็นจะเป็นหัวหน้าโครงการ อ.ปัด  ไงที่ดูแลเอาใจใส่ทุกกลุ่มเป็นอย่างดี   ขอยกนิ้วให้เลยนะ

ในวันที่ 30  กรกฎาคม 2551  เวลา 05.00 น.  กลุ่ม 1  มีสมาชิกร่วม ลปรร. จำนวน 4 คนประกอบด้วย ฒ ผู้เฒ่า ท่านสัมพันธ์  ท่านสุวิทย์  ศน.อุไรวรรณ  และท่านวัชรพงษ์  สำหรับท่านวัชรพงษ์ได้พยายามเข้ามา ลปรร. ทุกวิถีทาง  แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ สุดท้ายก็จำต้องจรลีบ้าย..บาย ตามระเบียบเพราะต้องเตรียมตัวไปทำงาน   นอกจากนั้นก็มี อ.ปัด เข้ามาสังเกตการณ์  และให้คำแนะนำ ให้ข้อเสนอแนะ เติมเต็มองค์ความรู้  และอำนวยความสะดวกทุกอย่าง เพื่อให้การดำเนินงานของสมาชิกแต่ละคน และกลุ่มที่ 1บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด   นอกจากนั้นทางกลุ่ม 1 ก็ได้รับความอนุเคราะห์จากท่านจรัล สมาชิกจากกลุ่ม 2 เป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เป็นอย่างดี ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย  ถือเป็นผู้เยี่ยมยุทธ์อีกคนหนึ่ง  สำหรับประเด็นที่ได้ ลปรร. สรุปดังนี้

·     กลุ่มที่ 1 จะดำเนินการประเมินสมรรถนะ  ตามตำแหน่ง/สายงานของแต่ละคน สมาชิกในกลุ่มเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและหน่วยงาน ซึ่ง อ.ปัด เห็นด้วยที่จะพัฒนาเรื่องสมรรถนะ  ให้ดำเนินการต่อ  งานในสัปดาห์ที่ 3 ให้แต่ละคนระบุงานที่จะทำ และได้นัดหมาย อ.ระวีวรรณ  ซึ่งเป็น ผชช.เรื่องนี้มาให้คำปรึกษาแนะนำ ลปรร. ในวันพฤหัส ที่ 31 พ.ค. 2551 เวลา 12.15 น. เป็นต้นไป

·     หลังจาก 6 สัปดาห์จะทำให้ได้แนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนให้ดำเนินการพัฒนาต่อไป และสามารถเข้ามาเติมเต็มองค์ความรู้ได้ตลอดจาก web 4 share

·     ให้แต่ละคนเตรียมคำถามสำหรับถาม ผชช.ในการดำเนินการของตนเองในวันพฤหัสที่ 31 พ.ค. 2551

«ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ

                   เนื่องจากสมาชิกในกลุ่ม 1 ส่วนใหญ่ติดภารกิจ จึงไม่สามารถเข้าพบผู้เชี่ยวชาญได้ครบทุกคน  ทำให้พลาดโอกาสที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ แต่มีศน.อุไรวรรณ และรอง ผอ.วัชรพงษ์เป็นตัวแทนพบผชช. ได้ข้อสรุป/คำแนะนำจาก ผชช. เกี่ยวกับการประเมินสมรรถนะ 360 องศา  ของศึกษานิเทศก์  ที่ประกอบด้วยหน.กลุ่มงาน  เพื่อนศึกษานิเทศก์ และผู้รับบริการ(ผอ.  ร.ร.และครูผู้สอน) ซึ่งอาจไม่เหมาะสมเนื่องจากผู้รับบริการไม่ได้ใกล้ชิด /ปฏิบัติงานร่วมกับศน. บางประเด็นอาจประเมินไม่ได้  จึงไม่เหมาะ  พร้อมทั้งแนะนำให้ไปศึกษาเพิ่มเติม  พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะกระบวนการประเมินว่า ตัวเองประเมิน  หน.กลุ่มงานประเมินและเพื่อนศน.ประเมิน แล้ววิเคราะห์สรุปแบบประเมินตามหลักเกณฑ์ นำมาจัดลำดับการพัฒนา เลือกสมรรถนะที่จะพัฒนา  โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดตามลำดับคือ เกิดกับผู้เรียน  หน่วยงาน ชุมชน  และตนเองเป็นลำดับสุดท้าย   จัดทำ ID-Plan  รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะมีหลายรูปแบบเช่น  พัฒนาโดยใช้สื่อด้วยตนเอง  ศึกษาจากผู้รู้/ผชช.  การศึกษาดูงาน/อบรม(เลือกเป็นลำดับสุดท้าย) และเชิญ ผชช.มาพูดคุย ลปรร. เป็นต้น  ในการพัฒนาด้วยตนเองควรต้องออกแบบบันทึกการศึกษาของเรา จะใช้เวลานานเท่าไรแล้วแต่ผู้พัฒนา สรุปผลการพัฒนาเสนอให้ผู้บังคับบัญชารับรอง  ก็น่าจะเป็นหลักฐานในการพัฒนาตนเอง ประกอบการประเมินจาก สมศ.

«สรุปประเด็น/หัวข้อที่สมาชิกในกลุ่มต้องการพัฒนาเป็นผลงานในสัปดาห์ต่อไป

·       ท่านสัมพันธ์  สาลีผลิน    การประเมินสมรรถนะตำแหน่งผู้ผู้บริหารสถานศึกษา

·       ศน. อุไรวรรณ  ปัญญาอุทัย  การประเมินสมรรถนะตำแหน่งศึกษานิเทศก์

·       ท่านมานะ  โตสมบัติ  การประเมินสมรรถนะตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา

·       ท่านรองสุวิทย์  มุกดาภิรมย์  การประเมินสมรรถนะตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา

·       ผอ.วัชรพงษ์  โฮมแพน  การประเมินสมรรถนะตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา

 

«ข้อสังเกตจากผู้บันทึก (ถ้ามี)

·     การพบ ผชช. เป็นกลุ่มใหญ่พบกับอุปสรรคเกี่ยวกับคลื่นเสียงที่มีปัญหาเสียงแทรก  เสียงขาดหาย เสียงก้อง มึนหมด.... 

·     สมาชิกแต่ละกลุ่มติดภารกิจ  ไม่สามารถเข้าร่วม ลปรร.กันในกลุ่มและผู้เชี่ยวชาญได้  ตลอดทั้งไม่ได้นำเสนองานลงในบล็อก ทำให้ข้อมูลที่ได้มาอาจไม่ตรงกับความตั้งใจที่แท้จริงของสมาชิก (ซึ่งอาจปรับเปลี่ยนไปแล้ว)  แต่ก็ไปสู่เป้าหมายตามที่กลุ่มกำหนด

หมายเลขบันทึก: 198186เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2008 00:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 15:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

พี่อุ๊ สรุป ลปรร. กลุ่มก่อน ทำให้น้องได้เข้ามาศึกษา ว่า มีอะไรให้ได้เรียนรู้บ้าง

สัปดาห์นี้ไม่ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากไปร่วมกิจกรรมวันภาษาไทยของเขตพื้นที่ ที่เลื่อนจาก 29 มาเป็น 31 กรกฏาคม แต่ก็ได้ข้อสรุปของคุณเลขาฯคนเก่ง ยังทำหน้าที่ได้ดีไม่มีที่ติ ส่วนวันที่ 1 ส.ค.ก็ยุ่งอยู่กับการรับคณะครู จาก สพท.บุรีรัมย์ เขต 4 จำนวน 200 กว่าคนมาศึกษาดูงาน เราเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก จะบริหารจัดการอย่างไรก็ยังต้องวุ่นอยู่ดี แต่ก็เต็มใจ เพราะใครจะมาดูใครก็เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่ดี ได้ประโยชน์กันทั้งนั้น ก็ขอให้กำลังใจกับทุกคน ไม่ว่าในกลุ่มนอกกลุ่ม รวมถึงตัวเองด้วย ถึงตอนนี้สำหรับตนเองยังไม่ท้อและยังไม่ถอย ขอบคุณรวมทุกคนเลยที่ร่วมด้วยช่วยกัน กำลังจะขึ้นงานสัปดาห์ที่ 4 กันแล้ว ผมคงโชคดีกว่าใคร ๆ เพราะสัปดาห์ที่ 4 ผมจะไปอยู่ที่สถาบันฯ ใครจะใช้ไหว้วานอะไรผมก็เชิญ คิดราคาไม่แพง สตาร์ที่ 35 บาทก่อนทุกครั้งครับ

ฒ. ผู้เฒ่า

เมื่อได้ผลจากการประเมิน (จะ 360 หรือ 180 องศา ก็ตาม) แล้ว ผลที่ได้จากการประเมินจะถูกมาจัดลำดับเพื่อดูความจำเป็นเร่งด่วนของการพัฒนา โดยการจัดลำดับนี้จะคำนึงถึงสมรรถนะที่จำเป๋นสำหรับการปฏิบัติงานของผู้ถูกประเมินเป็นสำคัญ เมื่อจัดลำดับได้แล้ว ก็เป็นการทำ ID-Plan เพื่อระบุวิธีการในการพัฒนา (ในขั้นตอนนี้ถ้ามีจำนวนผู้ถูกประเมินหลายคน เช่นประเมินสมรรถนะของ ศน. 10 คน ID-Plan ของแต่ละคนจะถูกนำมาพิจารณา โดยหัวหน้า ศน. เพื่อดูว่า สมรรถนะใดที่ควรจัดให้มีการอบรมหรือพัฒนาด้วยวิธีการและเวลาเดียวกันได้ ก็จะเกิดเป็นการสนับสนุน งปม.เพื่อการพัฒนาบุคลากรขึ้นค่ะ) เมื่อจัดทำ id plan เสร็จแล้ว ต้องมีการนำ id paln นั้นไปให้หัวหน้า พิจารณา (ID-Plan ในครั้งแรกนั้นเราเรียกว่า Profile ที่ 1) ว่าเหมาะสมหรือไม่ (ถ้าจะเอาแบบสมบูรณ์คือ หัวหน้าจะมีการกำหนดเนื้องานไปเลยว่า ถ้าผู้เสนอ id plan เสนอว่าจะพัฒนาภาษาอังกฤษด้วยการเรียนคอร์ส 1 คอร์ส หัวหน้าหรือตัวผู้ทำ id plan เองอาจเขียนระบุผลงานไปเลยว่า เมื่อเรียนจบแล้วจะเขียนเป็นบทความภาษาอังกฤษ 1 บทความ และกำหนดเวลาในการเรียนไปเลยว่าเริ่มต้นและสิ้นสุดเมื่อใด เมื่อครบกำหนดเวลา เอาผลงานที่ระบุไปให้หัวหน้าตรวจสอบ สมมติว่าผ่าน สมรรถนะด้านนั้นก็จะถูกตัดออกไป เมื่อผ่านไป 3-6 เดือน จะมีกระบวนการที่เรียกว่าการติดตามประเมินผลการพัฒนาตาม id plan ซึ่งถ้าพบว่าสมรรถนะตัวใดที่ได้รับการพัฒนาและผ่านแล้วจะถูกตัดทิ้งไป กลายเป็น ID-Plan ใน Profile ที่ 2 ...

.. ข้อเสนอแนะดังกล่าวข้างต้น เป็นประสบการณ์ที่เคยได้เรียนรู้มาค่ะ รายละเอียดถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจขั้นตอนไหน ไว้ถามกันตอนออนไลน์นะคะ

... ท่าน ฒ ผู้เฒ่า หนีงานไปที่สถาบันฯ อยากได้ข้อมูลอะไรโทรหาเลยค่ะ แล้วบอกให้ท่านไปหาเองนะคะ ห้ามมาขอจาก อ. ปัด (อยากปวารณาตัวเองไว้นี่)

... ผลงานดีขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ อย่าเพิ่งท้อ สู้ ๆ ... ไปพร้อมกันนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท