สมประสงค์ ยมนา


จากชุมชนนักปฏิบัติสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้

จากชุมชนนักปฏิบัติสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้

 

ก่อนที่ผมจะศึกษาเรื่องราวของ ชุมชนนักปฏิบัติ  ผมไม่มีความรู้เรื่องนี้มาก่อนเลย  แต่เผอิญว่าผมมีความสนใจและตั้งโจทย์ไว้ในใจมาตลอด ก่อนหน้ามาอบรม ว่า จะทำอย่างไรจะให้ความรู้ที่มีอยู่ในตัวคนที่ยังไม่ถูกนำออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์  หรือถูกนำมาใช้แล้วและประสบความสำเร็จแล้ว  แต่ยังไม่มีการจัดการองค์ความรู้เหล่านั้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อการสืบต่อ ไม่ให้สูญหาย หรือต่อยอดองค์ความรู้ให้ลึกซึ้ง ต่อไป  จริง ๆ แล้ว กระบวนการเหล่านี้ เราก็ทำกันเป็นปกติ อยู่แล้ว แต่ขาดรูปแบบการดำเนินการที่ชัดเจนเท่านั้นเอง  เราลองมาดูแนวความคิดและหลักการ ที่มาที่ไปของการจัดตั้ง ชุมชนนักปฏิบัติ  นิดหนึ่งครับ  จะได้ทราบว่าเค้าทำกันอย่างไร  เพื่ออะไร เพื่อท่านก็จะทราบที่มาที่ไปของคำว่า ชุมชนนักปฏิบัติ

คำว่า ชุมชนนักปฏิบัติ หรือ Community of Practices หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า CoPs เป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงระบบความสัมพันธ์ทางสังคมในแนวราบที่เชื่อว่าจะสามารถเอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาและจัดการยกระดับองค์ความรู้ขององค์กร สถาบัน หรือสังคมได้อย่างดี เป็นการสั่งสมองค์ความรู้ของผู้ปฏิบัติและองค์กร  ชุมชนนักปฏิบัติ โดยความหมายก็คือ คนกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งทำงานด้วยกันมาระยะหนึ่ง มีเป้าหมายร่วมกัน และต้องการที่จะแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน ในกลุ่ม ดังกล่าว มักจะไม่ได้เกิดจากการจัดตั้งโดยองค์การ เป็นกลุ่มที่เกิดจากความต้องการทางสังคม และความพยายามที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ เป็นกลุ่มที่ไม่มีอำนาจ ไม่มีการกำหนดไว้ในแผนภูมิโครงสร้างองค์กร  ในหนึ่งองค์กรอาจจะมีชุมชนนักปฏิบัติจำนวนมาก และคนคนหนึ่งจะเป็นสมาชิกในหลายชุมชน ชุมชนนักปฏิบัติมีความสำคัญอย่างไร เครือข่ายความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ เกิดจากความใกล้ชิด ความพอใจ และพื้นฐานที่ใกล้เคียงกัน ลักษณะที่ไม่เป็นทางการจะเอื้อต่อการเรียนรู้ และการสร้างความรู้ใหม่ๆ มากกว่าโครงสร้างที่เป็นทางการ  คำว่า ปฏิบัติ หรือ practice ใน CoP ชี้จุดเน้นที่ การเรียนรู้ซึ่งได้รับจากการทำงาน เป็นหลัก เป็นแง่มุมเชิงปฏิบัติ ปัญหาประจำวัน เครื่องมือใหม่ ๆ พัฒนาการในเรื่องงาน วิธีการทำงานที่ได้ผล และไม่ได้ผล การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก สร้างความรู้ และความเข้าใจได้มากกว่าการเรียนรู้ จากหนังสือ หรือการฝึกอบรมตามปกติ เครือข่ายที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งอาจมีสมาชิกจากต่างหน่วยงาน ช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ดีกว่า การสื่อสารตามโครงสร้างที่เป็นทางการ  พอถึงตรงนี้  อยากเล่าในสิ่งที่เคยทำมา(แบบไม่รู้เรื่องเท่าไหร่)และที่อยากจะทำ ที่เคยทำมาเพิ่งมารู้ว่า นี่ก็เป็นชุมชนนักปฏิบัติเล็กๆ เหมือนกัน  เป็นอย่างนี้ครับ ที่โรงเรียนเดิม มีครู   15-16  คน เวลาทานข้าวเที่ยง จะมีอยู่  3 กลุ่ม (ที่ทานด้วยกันประจำนะครับ) ไม่นับเวลามีงานหรือเวลาเฉพาะกิจ  เราจะพูดคุยกัน เรียกได้ว่าเป็นภาษาเดียวกันก็ได้  จะนำประเด็นที่สนใจมาคุยกัน เช่น  ปัญหาเด็กขาดเรียน จะแก้ปัญหาอย่างไร  เด็กอ่านเขียนไม่ได้เพราะอะไร  บางทีก็เอาข้อมูลดิบที่ทำๆกันมาพูดกัน  หรือแม้แต่เรื่องที่สมาชิกำลังสนใจพิเศษ เช่น การจัดรายการวิทยุ (ในกลุ่มเป็นนักจัดรายการด้วย) ทำอย่างไรถึงจะเข้าถึงกลุ่มผู้ฟัง  จะหาสปอนเซอร์ยังไง  หรือการทำสวนยางพารา ปลูกอย่างไร ดูแลอย่างไร และอีกหลาย ๆ เรื่อง  พอทานข้าวเสร็จก็จบ  บางเรื่องก็นำเสนอในที่ประชุม  ผมคิดว่านี่ก็เป็นกลยุทธ์หนึ่งเหมือนกันนะครับ นอกจากในโรงเรียนแล้วยังเข้าไปในชุมชนในรูปแบบการร่วมประชุมประจำเดือน หรือเวลามีงานในชุมชน  ตรงที่เรา มีความสัมพันธ์ และคลุกคลีกับชุมชนนี่แหล่ะ  ทำให้ผมเห็นสิ่งดี ๆที่มีอยู่ในตัวคน หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่น่าจะจัดเก็บเป็นองค์ความรู้(Knowledge) ได้ เพื่อต่อยอดให้ลึกซึ้งและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม  จึงคิดอยากจะทำชุมชนแห่งการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการโรงเรียนเป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนกระบวนการจัดการความรู้  จากชุมชนนักปฏิบัติเล็ก ๆ ก็จะกลายเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้  และเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีพลังชีวิตเป็นตัวขับเคลื่อนเป็นพลวัตร ไม่หยุดนิ่งต่อไป...ไม่รู้ว่าคิดการใหญ่ไปหรือเปล่าไม่รู้นะจะพยายาม ครับ..ซึ่งในรายละเอียดคงมีอีกหลายกระบวนท่าที่จะต้องนำมาใช้  เช่น Focus Group โดยใช้เทคนิคการฉายภาพออกไปข้างหน้า (Projective Technique)   การเล่าเรื่อง (Story telling)   การสัมภาษณ์เจาะลึก (Depth Interview)   การสัมภาษณ์คู่   หรือ เชิญผู้นำทางความคิด ซึ่งเป็นที่ยอมรับเข้ามาร่วมแต่เริ่มแรก เพื่อสร้างพลังให้แก่ชุมชน   การจัดให้มีเวทีพบปะกัน  จัดตั้งกลุ่มแกนที่แข็งขัน  การสร้างเวทีเสวนา   ส่งเสริมการติดต่อ ระหว่างสมาชิกของชุมชน   ทำให้การติดต่อ การให้ข้อมูล และการเข้าถึงชุมชนเป็นเรื่องง่าย โดยใช้ Software computer  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมียุทธศาสตร์การขับเคลื่อนอีกมากมาย แต่ละองค์กรก็อาจมีวิธีการในการขับเคลื่อนที่แตกต่างกันออกไป อย่างเช่น  เรื่องของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามกลุ่ม (cross sectional learning) การสร้างขยายเครือข่าย (networking) การหนุนเสริมให้รางวัล (awarding) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย (enabling environment)  การสร้างระบบแรงจูงใจ (incentive system) เป็นต้น  ซึ่งรายละเอียดในเรื่องนี้ คงได้มีโอกาสนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโอกาสต่อไป ท่านใดมีข้อมูล  เอกสาร ประสบการณ์ดี ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้  นำมาแชร์กันบ้างนะครับ  ขอบคุณหลายๆ ท่านที่แชร์ความรู้ไว้บนweb ให้ได้ศึกษา  ได้แนวคิด วิธีปฏิบัติ  คราวหน้ามาคุยกันต่อเรื่องรูปแบบ(Model) ดีมั๊ยครับ...

 

                                                                                                            สมประสงค์   ยมนา    ผู้เขียน

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 197955เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2008 03:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 12:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอเป็นกำลังใจ ให้ท่านผอ.สู้ๆครับ อาจเริ่มจุดใดจุดหนึ่งก่อนก็ได้

ผอ.คะ ร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยคน เป็นชุมนุมแนวพุทธค่ะ เอามาฝากเผือจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย สาธุ

บริษัท ๔๒ (ชุมนุม, ที่ประชุม ชุมชนตามระบบสังคม - assembly; company)

๑. ขัตติยบริษัท (ชุมนุมเจ้านาย - company of noblemen)

๒. พราหมณบริษัท (ชุมนุมพราหมณ์ - company of brahmins)

๓. คหบดีบริษัท (ชุมนุมคฤหบดี - company of householders)

๔. สมณบริษัท (ชุมนุมสมณะ - company of recluses)

เอาใจช่วยนะคะ เอากำลังใจแนวพระนะ

จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน จะกินต้องเตรียมอาหาร

จะพัฒนาการต้องเตรียมคน จะพัฒนาตนต้องเตรียมใจ

จะพัฒนาใครๆจะต้องพัฒนาที่ตนก่อน

การพัฒนาต่างๆจะบรรลุผลหากเรามาพัฒนาที่คน

ถ้าเขียนออกมาเป็นภาพ "กรอบแนวคิด" น่าจะเห็นความเชื่อมโยงของการสร้างชุมชนนักปฏิบัติ สู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ แล้วล่ะค่ะ เพราะ ผอ. สมประสงค์เองก็มีเจตนาแน่วแน่ที่จะทำเรื่องนี้มาแต่ต้น และได้ลงลึกถึงการศึกษาชุมชน รู้จักชุมชน รู้จักบุคคล และดูเหมือนจะมีการศึกษาบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนรอบ ๆ โรงเรียนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ไว้แล้ว step ต่อ ๆ ไป ก็คือนำสิ่งเหล่านี้มาจัดเรียงเป็นขั้นเป็นตอน น่าจะได้เห็นเป็นรูปร่างชัดเจนในสัปดาห์ที่ 4 นี่แหละค่ะ

จะรอดู "กรอบแนวคิด" ของท่านนะคะ

เป็นแนวคิดที่ดี ความจริงการศึกษาก็เป็นวิธีการถ่ายทอดวัฒนธรรมอยู่แล้ว การสืบสานวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาใด ๆ ล้วนเกิดจากการศึกษาทั้งสิ้น แล้วถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นหลัง เพียงแต่เป็นการศึกษาประเภทใด (ในระบบ นอกระบบ ในครอบครัว ฯลฯ)ก่อนอื่น่าจะต้องแบ่งกรอบ กลุ่มเรื่องที่จะศึกษาให้แน่ชัดก่อน เช่นเกี่ยวกับประวิติศาสตร์ชุมชน แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ภูมิปัญญาเกี่ยวกับเครื่องมือ ของใช้ การประกอบอาชีพ การแพทย์ เครื่องมืออุปกรณ์ในการดำรงชีวิตต่าง ๆ เป็นต้น ได้กลุ่มได้พวกแล้ว ก็คงหาผู้รู้แต่ละด้านไม่ยาก

มีเอกสาร หลักและเหตุผล การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน จะส่งให้เพิ่มเติมทางไปรษณีย์ค่ะ บางส่วนต้องรอ ขอไปสำเนาจากต้นฉบับก่อน จะรบกวนคุณปัด ก็เกรงใจ

ขอบคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจครับ..จะพยายามต่อไป..มีอะไรดีๆจะเล่าให้ฟังครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท