ภาวะแทรกซ้อนทางจิตที่เกิดจากยาบ้า แนวทางการรักษาเบื้องต้น


ภาวะแทรกซ้อนทางจิตที่เกิดจากยาบ้า แนวทางการรักษาเบื้องต้น

ภาวะแทรกซ้อนทางจิตที่เกิดจากยาบ้า แนวทางการรักษาเบื้องต้น

          ปัจจุบันจะพบว่า ผู้ป่วยที่เข้ามาบำบัดรักษา ในโรงพยาบาล ส่วนใหญ่จะมีภาวะแทรกซ้อนทางจิตร่วมด้วย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ โรคที่เกิดจากใช้สารเสพติด มักเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้เสพมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตตามมาอีกมากมายไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ผลของการใช้สารกระตุ้น เป็นเวลานาน ทำให้สมองเกิดความชิน เมื่อหยุดเสพยา ผู้เสพอาจมีอาการคล้ายผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ในทำนองเดียวกัน ผู้ที่ใช้สารกดประสาทนานๆ เมื่อหยุดยา อาจทำให้เกิดภาวะ กระสับ กระส่าย วิตกกังวล นอนไม่หลับ หรือมีอาการทางจิตได้  ปัจจุบันจะพบว่า ผู้ป่วยที่เข้ามาบำบัดรักษา ในโรงพยาบาล ส่วนใหญ่จะมีภาวะแทรกซ้อนทางจิตร่วมด้วย ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับยาบ้า
ยาบ้า เป็นยากลุ่มกระตุ้นประสาท (Stimulants)
                  ได้แก่ ยากลุ่มแอมเฟตามีน เช่น เมทแอมเฟตามีน  ( Methamphetamine )เดิมผู้เสพเรียกว่า "ยาม้า" แต่ด้วยฤทธิ์ของยาที่ทำให้ผู้เสพคลั่งคล้ายคนบ้า จึงเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น ยาบ้า ยาบ้ามีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาททำให้ผู้เสพรู้สึกสดชื่น ไม่ง่วงนอน อารมณ์ดี แจ่มใส อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่สำคัญคือ ยานี้จะทำให้  ผู้เสพรู้สึกตรึงเครียด ตกใจง่าย หงุดหงิดนอนไม่หลับ แต่เมื่อยาหมดฤทธิ์ ผู้เสพจะรู้สึกอ่อนเพลียมาก เพราะสมองและร่างกายขาดการพักผ่อนประสาทจะล้า จะทำให้การตัดสินใจช้าและผิดพลาดจนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง
อาการข้างเคียง

    -อาการข้างเคียงทั่วไป  ที่เป็นพิษต่อร่างกาย ประกอบด้วย
                อาการใจสั่น, หัวใจเต้นเร็ว, ความดันโลหิตสูง, เจ็บแน่นหน้าอก, หน้าแดง, มือเท้าซีดเขียว, ปากแห้ง, ม่านตาขยาย, หายใจไม่ออก, ไข้สูง, ปวดศีรษะ, คลื่นไส้อาเจียน ,ขบกรามโดยไม่รู้ตัว, มือสั่น, เดินเซ

           - อาการข้างเคียงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
 ได้แก่

                หัวใจหยุดเต้น, หมดสติ,อาการทางระบบประสาทที่มีตั้งแต่อาการกระตุกเกร็งของร่างกาย, ชัก, โคม่า และเสียชีวิต
                 การตายมักเกิด จากการใช้ ยาบ้า ในขนาดสูง ทำให้ผู้เสพมีไข้สูงร่วมกับอาการชักรุนแรง เส้นโลหิตสมองแตก และช็อกจากระบบหัวใจ และ การไหลเวียนเลือดเสียไป

            - อาการที่มีผลต่อจิตใจ  เป็นอาการที่ไม่พึงประสงค์เป็นส่วนใหญ่ได้แก่
                อาการ กระสับกระส่าย , กระวนกระวาย, นอนไม่หลับ, ก้าวร้าว, สับสน, วิตกกังวล ,อาการแพนนิก (กลัวอย่างรุนแรง เหมือนตัวเอง กำลังจะตาย ), อาการทางจิต เช่น หวาดระแวง, กลัวคนมาทำร้าย , ประสาทหลอน มองเห็นภาพหลอน, หูแว่ว, รู้สึกเหมือนมีแมลงไต่ตามร่างกาย การใช้ในขนาดสูง และติดต่อกันเป็นเวลานานจนเสพติด เมื่อมี อาการถอนยา บางรายอาจพบลักษณะซึมเศร้า, ไร้อารมณ์, บางราย อาจฆ่าตัวตายได้ จำนวนผู้ป่วยวิกลจริต จากการใช้ยาบ้า

อาการทางคลินิกในผู้ป่วยที่มาขอรับการรักษา


                  ระยะเฉียบพลัน พบในรายที่ใช้เป็นครั้งแรก หรือใช้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์, บังเอิญ โดยแม้จะเพียงปริมาณเล็กน้อย หรือในรายที่ใช้ใน ขนาดสูง ทันที ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการใจสั่น แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ม่านตาขยาย เหงื่อไหล ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ถ้ารุนแรงมาก อาจชัก หมดสติ หรือหัวใจหยุดเต้น ผู้ป่วยมักจะร้องเอะอะ หวาดกลัวอย่างรุนแรง กลัวคนมาฆ่า มองเห็นภาพหลอนที่น่ากลัว, หูแว่ว
                  ระยะเรื้อรัง พบในรายที่ใช้ในระยะเวลานานจนเสพติดแล้ว ยาบ้าจะทำลายเซลล์สมอง อย่างถาวร มักมี อาการวิตกกังวล, ความจำเสีย ขาดสมาธิ, ซึม อ่อนเพลีย ปวดเมื่อกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ซึมเศร้า หวาดระแวง หูแว่ว มองเห็นภาพหลอน

การตรวจพิสูจน์ยาบ้า ทำได้ 2 วิธี คือ

                 RAPID TEST โดยหยดปัสสาวะลงในน้ำยาที่เตรียมไว้ และอ่านผล ทันที
ดำเนินการโดย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อตรวจการใช้ยาบ้า ในกลุ่มผู้ขับขี่รถบรรทุก
การตรวจในห้องปฏิบัติการ ใช้ปัสสาวะเช่นเดียวกัน แต่การตรวจจะมีวิธีการละเอียดซับซ้อนกว่า
การตรวจได้ผลบวก หมายถึง การพบสาร Amphetamine หรือ Metamaphetamine ที่ถูกขับออกจากร่างกาย          ทางปัสสาวะ ไม่ว่า ผู้ป่วยจะสูบ หรือกิน หรือฉีด ในปริมาณพอสมควร และระยะเวลาประมาณ 3 วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 12 - 24 ชั่วโมง หลังจากใช้จะได้ผลชัดเจน

การรักษา ทำได้ 3 ทางด้วยกัน
1.รักษาอาการให้หาย
เป็นการใช้ยาในการรักษายาที่ใช้ได้แก่
-Haloperidol
-Resperidone
-Clozapine
2. ป้องกันมิให้กลับเป็นซ้ำ หากกินยาสม่ำเสมอการกำเริบจะน้อย สาเหตุที่กำเริบคือการถูกตำหนิติเตียนเป็นประจำ การป้องกันไม่ให้โรคกำเริบ คือ รับประทานยาอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์สั่ง  อย่าบ่นว่า ตำหนิ วิจารณ์ซ้ำซาก
สิ่งที่สำคัญในการรักษาคือผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีแนวโน้มในการฆ่าตัวเองสูง ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวเองสูงมีลักษณะดังต่อไปนี้ ญาติและผู้ป่วยคาดในความสำเร็จสูง ปรับตัวรับสภาพโรคจิตไม่ได้
ช่วงเวลาที่ต้องระวังในการฆ่าตัวเองคือ ขณะที่รักษาอยู่ในโรงพยาบาล ระยะ 6 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาล มีการสูญเสีย เช่นหย่า ตกงาน เปลี่ยนแพทย์ผู้รักษา

อาการดีขึ้นหลังจากป่วยหนักและรู้ว่าตัวเองเป็นโรคจิต สัญญาณบ่งบอกว่าจะฆ่าตัวตาย ผู้ป่วยมีความคิดฆ่าตัวเอง
มีความมั่นใจในตัวเองต่ำ มีแรงกดดันผู้ป่วยมากได้แก่ ขาดที่พึ่ง ตกงาน ญาติโกรธ ถูกไล่ออกจากบ้าน อาการกำเริบ หูแว่ว หวาดกลัว รู้สึกมีคนปองร้าย หมอโกรธ
3.ฟื้นฟูจิตใจและฝึกอาชีพ เนื่องจากผู้ป่วยพลาดการเล่าเรียน และการเรียนรู้ชีวิต การต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรค ทางครอบครัวและผู้รักษาต้องประคับประคองให้เขาเรียนรู้วิธีแก้ปัญหา และการฝึกอาชีพ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19795เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2006 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท