ประสบการณ์การทำค่ายหลายรูปแบบ


เรื่องเล่าผ่านประสบการณ์การทำงาน ที่อยากให้เพื่อนๆ ร่วมเรียนรู้ด้วยกัน

การทำค่ายเบาหวาน โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

        จากแนวคิดที่เราได้จากการไปเข้าอบรมผู้จัดการค่ายเบาหวานเมื่อ ปี 2549  บวกกับ แนวคิดที่ว่าคิดแล้วให้รีบทำ เราจึงมีการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรม โดยนำรูปแบบจากการได้ฟัง ร.พ. แต่ ร.พ. ที่ได้นำไปจัดกิจกรรมมาเล่าแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเราก็นำมาปรับให้เหมาะสมกับ ร.พ.ของเรา  จัดเป็นค่าย 4 แบบ คือ

1.   ค่ายเบาหวานเด็ก

2.   ค่ายเบาหวานผู้ใหญ่

3.   ค่ายคนต้นแบบเบาหวาน (กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นแกนนำตัวแทนของแต่ละพื้นที่)

4.   ค่ายกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน (กลุ่ม Pre_diabetic)

5.   ค่ายแกนนำคัดกรองโรค

        โดยมีรูปแบบ 3 รูปแบบ คือ ค่ายแบบค้างคืน, ค่ายแบบ 1 วัน, ค่ายแบบไม่ค้างคืน สาเหตุที่มีหลายรูปแบบด้วย ต้องปรับตามสภาพกลุ่มที่เข้ากิจกรรม ปรับตามงบประมาณที่จำกัด

เรา

ค่ายคนต้นแบบเบาหวาน     

วัตถุประสงค์หลักการจัดทำค่าย

1.   เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ในการดูแลตนเอง

2.   เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทักษะในการดูแลตนเองด้านการเจาะเลือดด้วยตนเอง,การรับประทานอาหาร, การออกกำลังกาย และการประเมินสภาพของร่างกายขณะออกกำลังกาย

3.   เพื่อพัฒนาทักษะการเป็นต้นแบบ (Good model)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เป็นผู้ป่วยเบาหวานใน PCU อำเภอเมือง พื้นที่ละ 5 คน จำนวน 10 ตำบล

เกณฑ์การคัดเลือก  เป็นมีระดับน้ำตาลในเลือด FBS 80 – 140 mg มีทักษะการดูแลตนเองเบื้องตน, มีภาวะผู้นำ

กิจกรรม  1. ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน (3 ช.ม.)

          2. ฝึกทักษะการเป็นผู้นำ (2 ช.ม.)

          3. ฝึกทักษะการประเมินระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง (2 ช.ม.)

          4. ฝึกทักษะการเจาะเลือดการระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง(2 ช.ม.)

          5. ฝึกทักษะการเลือกรับประทานอาหาร (2 ช.ม.)

          6. ฝึกทักษะการออกกำลังกาย (2 ช.ม.)

          7. ทำแผนปฏิบัติการณ์ (1 ช.ม.)

          8. แลกเปลี่ยนประสบการณ์ (2 ช.ม.)

 

ค่ายกลุ่มเสี่ยง

        จากการรณรงค์ การคัดกรองโรคเบาหวานทำให้ค้นพบกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานจำนวนมากและจากประสบการณ์ที่ผ่านมา พบว่ากลุ่มเสี่ยงที่ไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีแนวโน้มเปลี่ยนเป็น DM เป็นระยะ 5 ปี มากกว่า 20 % จากการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่ผ่านมาเราพบว่ารูปแบบการให้ความรู้ผ่านการบรรยาย, หรือการจัดอบรมไม่สามารถทำให้คนเกิดความตระหนัก จนนำสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรรม หรือมองคนเราจะมีความตระหนักแต่ไม่สามารถนำความรู้ สู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้จริง บางคนมีความพยายามนำไปใช้แต่  ..ด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนที่ไม่ใช้วิถีชีวิตจริงๆ ทำให้ ไม่เกิดความยังยืนในการปฏิบัติ

-          ปัญหาอุปสรรคของการจัดทำค่ายแบบค้างคืน คือ งบประมาณจำนวนที่ต้องใช้ เราจึงมีการปรับรูปแบบการจัดทำค่ายกลุ่มเสี่ยงแบบไม่ค้างคืนขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาด้านงบประมาณ และเป็นค่ายที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่

เกณฑ์การคัดเลือก ผู้เข้าร่วมกลุ่ม คือ

1.   มีอายุ > 45 ปี

2.   มี BMI ≥ 25

3.   มีภาวะความดันโลหิตสูง, มีภาวะไขมันในเลือดสูง

4.   ประวัติน้ำตาลในเลือดสูงจากการตรวจเลือด

        ในการทำกิจกรรม..ถ้าพบประชากรกลุ่มเป้าหมายมีมาก..เราจะเลือกจัดกิจกรรมแบ่งตามกลุ่มที่มีความใกล้เคียงกัน ในด้านความเสี่ยง คือ กลุ่มอ้วน, กลุ่ม FBS 100 – 125 mg, กลุ่มพ่อแม่พี่น้องเป็นเบาหวาน เป็นต้น เพื่อให้สามารถจัดกิจกรรมและจัดเนื้อหาการสอนได้เหมาะสม แต่ประสบการณ์พบกลุ่มเสี่ยงเป็นกลุ่มที่ยังห่างกับการ คำว่าโรค กลุ่มเสี่ยงไม่เห็นความสำคัญ เนื่องจากทุกอย่างในชีวิตยังชาติดี ไม่มีอาการ ไม่ต้องใช้ยา เป็นต้น ทำให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมมีเพียง 20 -30 % ของกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด ในจุดเริ่มต้นจึงต้องใช้กลุ่มเสี่ยงคนต้นแบบมานำร่องกิจกรรม และหวังผลให้ กลุ่มเสี่ยงคนต้นแบบลงเจาะปฏิบัติการในพื้นที่ได้ ทำงานเหมือนเครือข่ายใยแมงมุม หาคนช่วยที่เก่งกว่าเราในการชักจูงคนกลุ่มเสี่ยงมาซึ่งต้องใช้เวลาในการทำงานแต่ด้วยกลยุทธ์ เราเรียนรู้พร้อมกับการทำงานมีการปรับและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เราคาดว่าต่อๆ ไปเราอาจได้รูปแบบที่ดี มีประสิทธิภาพทีมากขึ้นในการทำงานกับกลุ่มเสี่ยง

ลักษณะกิจกรรม  จัด 3 4 ครั้ง โดยแบ่งหัวข้อ การสอนด้านความรู้ในแต่ละครั้ง (ทำกิจกรรม ทุกสัปดาห์ 4 ครั้ง) ตัวอย่างกิจกรรม  

กิจกรรมครั้งที่ 1    กิจกรรมให้ความรู้และความเข้าใจเรื่องโรค

กิจกรรมครั้งที่ 2    เรียนรู้เรื่องการออกกำลังกาย ประเมินนำหนักและรูปร่างของตนเอง

กิจกรรมครั้งที่ 3    เรียนรู้เรื่องอาหาร โดยใช้อาหารจริงๆ แบ่งกลุ่มในการเลือกทานอาหาร

กิจกรรมครั้งที่ 4    เรียนรู้การดูแลตนเองผ่านกิจกรรม Rall มีหัวข้อย่อย ทบทวนความรู้ที่ผ่านมา

        - สร้างพลังอำนาจในตัวเอง, ต้นไม้แห่งความดี เป็นต้น

การวัดผล

        - ระดับความรู้

        - แบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกาย, การทานอาหาร

        - รอบเอว, น้ำหนัก, ระดับน้ำตาลและความดันโลหิต

หมายเหตุ ค่ายเบาหวานเด็ก เน้นความสนุกสนาน และการเกิดเครือข่ายที่ดีของญาติ และเพื่อนที่ดูแล เน้นสนองความต้องการความรักและความเข้าใจในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก

ผู้เล่า รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์

คำสำคัญ (Tags): #ค่ายเบาหวาน
หมายเลขบันทึก: 197879เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2008 17:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ดีใจที่มีความสนใจในสุขภาพและให้คำแนะนำเพื่อป้องกันผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงอันจะก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา อ่านดูแล้วมีกิจกรรมที่ดีมาก ขอเป็นกำลังใจให้ทุก ๆ ท่านและขอให้มีสุขภาพแข็งแรง มีความสุขกันมาก ๆ นะครับ

ชมรมเพื่อนช่วยเพื่อนโรคไต พิษณุโลก

ดีใจที่อ้อส่งการบ้านนะ คงเร่งทำน่าดูเลยพิมพ์ผิดๆ ถูกๆ พี่เลยต้องอาศัยความเก๋า edit เนื้อหา

ขอบคุณมากๆ ที่ร่วมด้วยช่วยกัน

วัลลา

มีความยินดีที่ได้รู้จักเครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อนโรคไต พิษณุโลกคะ ตอนนี้มีแนวคิดที่ติดตามแก้ไขปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นไตวายระยะสุดท้าย อาจจะต้องรักษาด้วย CAPD หรือ ฟอกไต แต่ผู้ป่วยมีปัญหาหลายประการจึงจะปฏิเสธการรักษา ทีมกำลัง ดูวันที่จะลงไปเยี่ยมบ้าน เรียนเชิญอาจารย์ด้วยนะคะ

ทุกค่ายเป็นหัวใจของพฤติกรรมใหม่ในผู้ป่วยเบาหวาน พฤติกรรมใหม่ของผู้ป่วยเบาหวาน คือหัวใจของชีวิตที่อยู่กับเบาหวานได้อย่างมีความสุข หมั่นทำต่อไปนะอ้อ

เพิ่งรับงานNCD เข้ามาอ่านแล้วได้รับความรู้มากๆเลยค่ะ กะว่าจะทำโครงการค่ายเบาหวานปีงบ52 ค่ะ คงจะนำความรู้ที่ได้ตรงนี้ไปปรับใช้ค่ะ...ขอบคุณมากๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท