ตัวอย่างค่ายกลุ่มเสี่ยงแบบ 1 วัน


.ใช้งบน้อย ง่าย สะดวก ประหยัด เหมาะกับความเป็นจริง

กิจกรรมลดเสี่ยง จากข้อมูลพื้นที่ ตำบลพลายชุมพลที่มีกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 268 คน และโรคเบาหวานจำนวน 129 ราย จากการคัดกรองพบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดอัมพฤต อัมพาต ในระดับสูง ร้อยละ 35 จึงสู่การค้นหาแนวทางป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองโดยวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพและพิจารณาถึงศักยภาพของชุมชน นำสู่การออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสม จึงเกิดกิจกรรมลดเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง 1 วัน ซึ่งใช้การเสริมสร้างพลังอำนาจ(Empowerment)โดยการสอน (Teaching) การฝึก education, การเป็นพี่เลี้ยงในการปฏิบัติ (monitoring) ในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้การทำงานแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้ได้รูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับปัญหาของพื้นที่, สร้างเป้าหมายร่วมในการดำเนินกิจกรรมว่าต้องการให้ความรู้ ทักษะ ที่สู่การปฏิบัติปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยกำหนดการวัดผลที่

·        ทักษะการดูแลตนเองด้านการเลือกทานอาหาร, การออกกำลังกาย

 

·        ความเสี่ยงที่ลดลง เช่น ระดับน้ำตาล, รอบเอว, น้ำหนัก

·        ระดับความรู้

  • และเป้าหมายระยะยาว คือ ลดอัตราป่วย อัตราการเกิดโรคเบาหวาน ความดันและหลอดเลือดสมองของพื้นที่

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1.  ประสานงานสร้างการมีส่วนร่วมแบบสหสาขา ประกอบด้วย พยาบาลชุมชน พยาบาล, นักภายภาพบำบัด, นักสุขศึกษา ,แกนนำชุมชน เป็นต้น

2.  ดำเนินกิจกรรมโดยกำหนดระยะ 1 วัน ก่อนกิจกรรมโดยประเมินความรู้ เก็บข้อมูลทั่วไปของกลุ่มที่เข้าร่วม เช่น น้ำหนัก ระดับน้ำตาล รอบเอว ความรู้

3. เริ่มเรียนรู้ด้วยกันผ่านกิจกรรมและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เข้ากิจกรรม

 มีหัวข้อ โรค, อาหาร, ออกกำลังกายและการสร้างพลังอำนาจในตัวเองเพื่อนำสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผลการดำเนินงาน 

 

ระดับความรู้

ก่อน

หลัง

ความรู้ในระดับน้อย

0%

25

ความรู้ในระดับปานกลาง

34%

75

ความรู้ในระดับมาก

66%

-

 

2.  มีทักษะในการออกกำลังกาย ร้อยละ 74%

3.  มีทักษะในการเลือกทานอาหาร ร้อยละ 75%

4. น้ำหนัก รอบเอว ความคงอยู่ของพฤติกรรมที่ดี รอวัดผลทุก 3-6 เดือน และติดตามสมาชิกในกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรมทุกเดือนจะเปลี่ยนเป็นโรคในระยะ 3- 5 ปีกี่ราย

รูป การออกกำลังกาย โดย มืออาชีพ นักกายภาพจาก ร.พ

รูปกิจกรรม เจาะเลือดก่อนหลังอาหาร เรียนรู้ผ่านตัวเลข

 

สรุปบทเรียนการจัดกิจกรรม

1. เรียนรู้ความสำเร็จจากการทำงานเป็นทีมสหสาขา ทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ ลงแรงกายและแรงใจในการทำงาน..ทำให้เรามีโอกาสการสื่อสารทำความเข้าใจให้ทีมต่าง ๆ เห็นภาพฝันของเรา ดังเช่น ทีมกายภาพที่มาร่วมกิจกรรม ในระหว่างเดินทางกลับ เราได้มีโอกาสพูดคุยถึงเป้าหมายการทำงานของเราและเราฟังภาพในการทำงานของทีมกายภาพ เราต่างคนต่างเห็นภาพฝันของกันและกัน ซึ่งใกล้เคียงกันมากและในครั้งนี้ เราได้แนวร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่มเสี่ยง และทีมเยี่ยมบ้านเพิ่มขึ้นมา ที่สำคัญ...ทีมที่มาด้วยใจขอความร่วมมือ  หนังสือจะมาถึงเมื่อไหร่ไม่สำคัญ เพราะทีมกายภาพยินดี ร่วมออกเยี่ยมบ้านแก้ไขปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาซับซ้อนกับเราในการเยี่ยมครั้งต่อไป

2.ได้เห็นการเริ่มเข้าไปในการทำกิจกรรมในกลุ่มเสี่ยง จากความแปลกกลายเป็นไม่แปลก...เพราะหลายคนเริ่มเข้าใจคำว่า เสี่ยง ว่าสำคัญพอ ๆ กับคำว่า ป่วย และเริ่มเห็นถึงความท้าทายในการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อไม่ให้ก้าวไปสู่คำว่าป่วย

3.  ความรู้จากการปฏิบัติในการจัดกิจกรรมในหลาย ๆ พื้นที่..ทำให้เราเรียนรู้และพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมไปเรื่อยๆให้เกิดผลตรงใจ และนำสู่การเรียนรู้ ปรับปรุง พัฒนา และยกระดับการทำงาน ...เราหวังว่า...ที่เราทำนายไว้ว่าตำบลพลายชุมพล จะมีคนเป็นอัมพฤต อัมพาตในระยะ 5 ปี 10 คน คำทำนายนั้นจะไม่เป็นจริงและในวันนี้ ที่จัดกิจกรรมทุกคนยกพร้อมเพรียงกัน  ว่าเราจะไม่เป็น 1 ในนั้นแน่นอน ซึ่งเรื่องนี้บทพิสูจน์อยู่ที่ทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมว่าจะสามารถลิขิตชีวิตตัวเองตามที่สัญญาได้แค่ไหน

 รูป (เบื้องหน้าและเบื้องหลัง (บางส่วน) ของทีมทำงาน

   

  note กันลืม

(DOPA KM Team)ผู้จัดการ  คือ  ผู้ซึ่งทำให้ความรู้ผลิตดอกออกผล ผู้เล่า รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์

และตามที่ อ.บดินทร์ วิจารณ์ ได้กล่าวว่า “การจัดการความรู้ (KM) สิ่งสำคัญมันอยู่ที่การลงมือปฏิบัติให้ได้ ใช้ภาษาเดียวกัน สื่อความหมายกันให้ได้ การเรียนรู้ของบุคคลหัวใจ สำคัญอยู่ที่เราจะได้เรียนรู้จากการสอนคนอื่น (Learning from Teaching) และ สิ่งที่สำคัญของการจัดการความรู้ ก็คือ เรื่องของคน การพัฒนาคน คนพัฒนาตนเอง การวางแผนทำงาน การจัดลำดับความสำคัญ ของงาน ขององค์กร  ใช่เลยคะอาจารย์

                                                                 

หมายเลขบันทึก: 197871เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2008 16:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อ้อ ลองดูใหม่ดิ๊ ว่าระดับความรู้ก่อนและหลังของอ้อนี่มันแปลกๆนะ

เห็นแล้วก็นึกดีใจแทนเจ้าแม่โปรเจ็กจริงๆนะพี่..งานพี่สำเร็จแล้ว..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท