ข้อดีและข้อจำกัดของเทคนิคนิคการสอนแบบต่างๆ


หลังจากที่นั่งอยู่นาน ขออนุญาตินำเสนอ รายงานการเปรียบเทียบข้อดี ข้อจำกัดของการสอนแบบต่างแล้วกันนะครับ

ในหนังสือเทคนิคการสอนกล่าวว่า เทคโนโลยีกระบวนการ คือ เทคนิคการสอนที่สามารถนำมาใช้เป็นแบบอย่างเพื่อการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้เรียนไม่เกิดความเบื่อหน่ายและสนุกในการเรียน โดยการให้ผู้เรียนมีการเปลี่ยนพฤติกรรมการกระทำอยู่เสมอแทนที่จะต้องนั่งอยู่กับที่ฟังอาจารย์และนั่งจดงานแต่เพียงอย่างเดียว ความสำคัญของการปฏิบัติ ทั้งหมดนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเน้นการปฏิบัติ จะช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำเนื้อหาในการเรียนและสนุกสนานในการเรียนการสอนได้ ฉะนั้นครูทุกคนก็มีวิธีในการใช้เทคนิคเหล่านี้แตกต่างกันไป หากมีข้อผิดพลาดก็กราบขออภัยมา ณ ที่นี้ นะครับ หากมีข้อเสนอแนะก็เชิญตามสบายเลยครับ พี่น้อง  รายงานชิ้นนี้เคยทำส่งอาจารย์ทางด้านหลักสูตรและการสอนไปแล้ว แต่ทำเองคงไม่ต้องขออนุญาติอาจารย์ละมั๊งครับ นะครับอาจารย์ ดร.รุ่งฟ้า ครับ เริ่มเลยดีกว่า

 

การสอนแบบโปรแกรม
                การสอนแบบโปรแกรม เป็นลักษณะการสอนรายบุคคล มีพื้นฐานมาจากการนนำหลักการเบื้องต้นทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้มาใช้ในการออกแบบ เพื่อนำผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการสอนที่มีการวางโปรแกรมไว้ล่วงหน้า การให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยได้รับผลป้อนกลับทันที และผู้เรียนได้เรียนไปทีละขั้นตอน
                ปัจจุบันบทเรียนแบบโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากมีอยู่ 2 ชนิด คือ
1.บทเรียนโปรแกรมแบบเส้นตรง

2. บทเรียนโปรแกรมแบบสาขา


ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
* เรียนตามความสามารถของแต่ละคน
* การปฏิบัติและผลย้อนกลับ
* ประสิทธิผล
ข้อจำกัด
* การออกแบบบทเรียน
* ความน่าเบื่อหน่าย
การนำไปใช้
            การสอนแบบโปรแกรมสามารถใช้ได้อย่างดีในการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงในระดับผู้ใหญ่และเกือบทุกวิชา โดยใช้เฉพาะบทเรียนในการสอนหรือจะใช้ร่วมกับวิธีการสอนอื่นๆก็ได้ และจะใช้ทั้งวิชาหรือเฉพาะบางส่วนของวิชาก็ได้ ผู้สอนมักใช้โปรแกรมสั้นๆ ในการสอนหลักการง่ายๆ และระบบคำศัพท์

ระบบส่วนบุคคลของการสอน
               ระบบส่วนบุคคลของการสอน เป็นการสอนรายบุคคล  ผู้เรียนก้าวไปเร็วหรือช้าตามความสามารถของแต่ละบุคคล เนื้อหาสาระของวิชาจะแบ่งออกเป็นหน่วย ปกติแล้วกรรมวิธีการเรียนจะกำหนดให้ศึกษาส่วนหนึ่งของตำราและทำแบบฝึกหัด

ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
* เรียนตามความสามารถของแต่ละคน
* ความเชี่ยวชาญ ผู้เรียนจะไม่ถูกปล่อยให้เรียนในหน่วยต่อไปจนกว่าจะมีความเชี่ยวชาญแล้ว
ข้อจำกัด
* ใช้เวลามาก เพราะต้องใช้เวลาในการทำสื่อ อบรม และแนะนำผู้ควบคุมการเรียน เวลาที่พบปะผู้เรียน
* ความมีวินัยในตนเอง
การนำไปใช้
           หลังจากที่เฟร็ด เอส. เคลเลอร์ ได้พัฒนาวิชาที่ใช้ระบบส่วนบุคคลของการสอนขึ้นในประมาณ พ.ศ. 2508 และนำมาใช้สอนเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยแห่งบราซิเลีย ซึ่งนำมาใช้อย่างแพร่หลายในระดับอุดมศึกษา และในระดับวิทยาลัยชุมชนในวิชาด้านคณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ จิตวิทยา และสังคมศาสตร์ รวมทั้งระดับประถม มัธยมศึกษา และการอบรมการทหาร การสอนนี้ยังถูกนำมาใช้เป็นโครงสร้างสำหรับการสร้างวิชาที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานและใช้ในการสอนทางไกล


ศูนย์การเรียน
              ศูนย์การเรียน เป็นรูปแบบทางด้านกายภาพของสถานที่ในการเรียนการสอน และเพิ่มการควบคุมการเรียนโดยตัวผู้เรียนเอง ศูนย์การเรียนอาจจัดได้ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน อาจจัดแบบง่ายๆ โดยมีโต๊ะ 1 ตัวและเก้าอี้เพื่อให้ผู้เรียนนั่งล้อมรอบเพื่อการเรียนและอภิปรายร่วมกัน หรืออาจใช้เป็นคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องที่ต่อเป็นข่ายงานศูนย์การเรียนจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ คูหาเปล่าสำหรับให้ผู้เรียนไว้ไช้อ่านหนังสือหรือทำกิจกรรมที่กำหนดไว้ และคูหาที่มีโสตทัศนูปกรณ์ เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์
ข้อดีข้อจำกัด
ข้อดี
* เรียนตามความสามารถของแต่ละคน จะกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในสิ่งที่เรียนตามความสามารถของตน
* ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน และให้ผลป้อนกลับต่อการตอบสนองของผู้เรียน
* บทบาทของผู้สอน ผู้สอนจะเดินรอบศูนย์เพื่อคอยแนะนำและให้คำปรึกษาช่วยเหลือผู้เรียนแต่ละคน
ข้อจำกัด
* สิ้นเปลืองมาก ต้องใช้เวลามากในการจัดสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ สิ้นเปลืองเงินสำหรับวัสดุอุปกรณ์จำนวนมาก
* การจัดการ ผู้สอนรู้จักจัดการทั้งในห้องเรียนและศูนย์การเรียน
การนำไปใช้
ศูนย์การเรียนสามารถจัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะทางได้หลายรูปแบบ เช่น
* ศูนย์สนใจ กระตุ้นความสนใจและเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์
* ศูนย์ปรับปรุงแก้ไข ใช้เพื่อช่วยเหลือผู้เรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษในแต่ละทักษะ

การเรียนแบบร่วมมือ
             การเรียนแบบร่วมมือ เป็นการเรียนกลุ่มเล็กที่ใช้ได้ทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบโรงเรียนที่เกิดจากแรงผลักดันที่มาบรรจบกัน 2 อย่างคือ 1) ชีวิตภายนอกห้องเรียนจำเป็นต้องมีกิจกรรม และ 2) การรู้ในคุณค่าทางสังคมที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้
จากผลการวิจัย พบว่า การเรียนแบบร่วมมือจะช่วยให้ผู้เรียนมีความทรงจำที่ดีขึ้นในสิ่งที่เรียน แต่ยังช่วยส่งเสริมทักษะการคิดและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลให้ดีขึ้น การวิจัยนี้เน้นความสำคัญของการพึ่งพาระหว่างกันว่าเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในการเรียนแบบร่วมมือการเรียนแบบร่วมมือจะมีรูปแบบการเรียนแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ เช่น การเรียนแบบร่วมมือใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การเรียนรายบุคคลใช้ทีม และการเรียนร่วมกัน
การเรียนร่วมกันโดยมีองค์ประกอบ 4 อย่างดังนี้
1. มีการพึ่งพาระหว่างกัน
2. การเผชิญหน้ากันมีส่วนช่วยในเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ผู้เรียนทำการสอนให้กันและกันและอภิปรายปัญหานั้นร่วมกัน
3. ความเชื่อมั่นส่วนบุคคล  การเลือกโดยการสุ่มเพื่อนำการทดสอบของผู้เรียนคนหนึ่งมาเป็นตัวแทนของทั้งกลุ่ม
4. การสอนทักษะระหว่างบุคคลและภายในกลุ่ม ผู้เรียนจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร การเป็นผู้นำ การจัดการเมื่อเกิดความขัดแย้ง และต้องเรียนเพื่อดูแลกระบวนการภายในกลุ่ม

เกม
           เกมเป็นกิจกรรมที่ผู้ร่วมเล่นจะต้องทำตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของเกมนั้น เมื่อนำเกมมาใช้ในการเรียนการสอน ควรจะต้องมีการพิจารณาถึงความเหมาะสมของเกมนั้นด้วย

ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
* ดึงดูดความสนใจ
* ความแปลกใหม่
* สร้างบรรยากาศ
* ฝึกหัดซ้ำ เกมสามารถดึงความสนใจของผู้เรียนในงานที่ต้องทำซ้ำๆ กัน
ข้อจำกัด
* การแข่งขัน
* ความสับสนในการเล่นเกม ต้องอธิบายกฎเกณฑ์และวิธีการเล่น
* การออกแบบ ต้องใช้เกมที่มีกิจกรรมทางด้านการปฏิบัติและฝึกทักษะเชิงวิชาการ
การนำไปใช้
* เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ โดยการจำแนก การยอมรับ ความจำ
* เพิ่มการกระทำในเรื่องที่ดึงดูดความสนใจของผู้เรียนน้อย เช่น การสะกดคำ
* ใช้ในการสอนกลุ่มเล็ก ผู้เรียนเล่นเองโดยไม่ต้องให้ผู้สอนคอยให้คำแนะนำ
* ทักษะพื้นฐาน เช่น การจัดลำดับ ทิศทาง การมองดู
* สร้างคำศัพท์ โดยใช้เกม เช่น สแครปเบิล ในการสร้างศัพท์

การจำลอง
            การจำลอง เป็นการย่อกรบวนการหรือสถานการณ์ในชีวิตจริงลงมาเพื่อให้ผู้เล่นสวมบทบาทที่กำหนดไว้ในสิ่งแวดล้อมจำลอง สามารถใช้ในลักษณะต่างๆ การจำลองคือ การช่วยในเรื่องของการค้นพบสิ่งที่ต้องการได้โดยตรงและชัดเจน ในการเรียนรู้แบบค้นพบนี้ ผู้เรียนต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆจนกว่าจะค้นพบวิธีแก้ปัญหาเหล่านั้นได้
           -บทบาทสมมติ
มีลักษณะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การแสดงบทบาทสมมติจะกระทำโดยการให้ผู้เล่นจินตนาการว่าตนเองสวมบทบาทอะไร จุดประสงค์ของการแสดง คือ การเรียนรู้บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับบุคคลอื่นและเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เผชิญ เป็นแรงกระตุ้นและวิธีการในการพัฒนาทักษะทางด้านสังคม
           -เครื่องจำลอง
อุปกรณ์ย่อส่วนตามระบบ ตัวอย่างคือ การฝึกหัดการบินในห้องนักบินจำลองที่ประกอบด้วยที่นั่งนักบินและแผงควบคุมการบิน
ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
* ให้ความจริง จำลองให้มีการฝึกปฏิบัติจริง
* ปลอดภัย
* สะดวกในการใช้

ข้อจำกัด
* ใช้เวลามาก
* การฝึกด้านทักษะปฏิบัติ การฝึกหัดด้านกีฬาและทักษะด้านงานช่าง
* การสอนด้านปฏิสัมพันธ์ในสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
* พัฒนาการของทักษะด้านการตัดสินใจ

           -เกมการจำลอง
เกมจำลอง จะรวมลักษณะของการจำลองเข้ากับลักษณะของเกม โดยอาจมีส่วนของรูปแบบจำลองความเป็นจริงในระดับสูงหรือต่ำในส่วนที่คล้ายคลึงกับการจำลองและอาจมีการแข่งขันในส่วนที่คล้ายคลึงกับเกมรวมอยู่ด้วย เหตุผลสำคัญที่ใช้วิธีการของเกมและการจำลองร่วมกัน คือ เมื่อผู้เรียนได้รับความสำเร็จด้วยการมีปฏิสัมพันธ์ในความเป็นจริงแล้ว ผู้เรียนจะได้รับแนวคิดทั้งหมดเกี่ยวกับกระบวนการนั้น

การนำไปใช้
เกมการจำลองใช้มากในหลักสูตรที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับทั้งการฝึกทักษะแบบซ้ำๆ และเนื้อหาความจริงที่มีอยู่ในการจำลอง

 

 

การเรียนรู้แบบเชี่ยวชาญ
                ปัญหาในการสอนกลุ่มใหญ่คือ การที่ต้องประสบกับความแตกต่างความสามารถและวิธีการเรียนของผู้เรียนแต่ละคน การเรียนรู้แบบเชี่ยวชาญ ผู้เรียนจะมีความคิดแตกต่างกันในเรื่องของการใช้เวลา เพื่อความเชี่ยวชาญในแต่ละวัตถุประสงค์หัวใจสำคัญของการเรียนเพื่อความเชี่ยวชาญ ได้แก่ วงจรการสอน-ทดสอบ-สอนซ้ำ-ทดสอบซ้ำ โดนเริ่มจากการบอกถึงวัตถุประสงค์ให้แก่ผู้เรียนและทำการสอนและกิจกรรมเพื่อฝึกปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ผู้สอนจะมีการออกแบบการสอนในแต่ละหน่วยโดยขึ้นอยู่กับแผนการสอนที่มีอยู่

โดย ธีรัชภัทร  บัวคำศรี

ยาวไปหน่อยก็ทนๆอ่านแล้วกันนะครับ

หมายเลขบันทึก: 197759เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2008 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ สบายดีนะคะ

* มาดูเทคนิคต่างๆ ...

* ดูเหมือนว่าการเป็นครู สมัยใหม่นี้จะก้ำกึ่งกัน ระหว่าง

Teacher  & Facilitator ก็น่าจะขึ้นอยู่กับ แต่ละรายวิชา

หรือ กลุ่มผู้เรียน ... หรือเปล่า ? นะคะครู  ...

* ขอบคุณค่ะ ... กินข้าวให้อร่อยนะคะ  ...

ดีครับ และผมต้องการ การวิจัยการสอนแบบร่วมมือ ส่งให้ด้วย [email protected]

ดีครับ และผมต้องการ การวิจัยการสอนแบบร่วมมือ ส่งให้ด้วย [email protected]

ดีมากครับ ผมเป็นอาจารย์พิเศษ อย่างได้ข้อมูลการสอนนักเรียนให้สนุกครับ การถ่ายทอด และการมีกิจกรรมร่วมของนักเรียน ถ้ามีอะไรดี ๆ ส่งมาเพื่อได้นะครับ

กิจกรรม หรือปัญหาจิตวิทยา

อ.ภัท

เปิดเว็บไหนก็ไม่เห็นมีข้อดี ข้อจำกัด ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Jigsaw เลย อยากได้ข้อมูลมากเลยค่ะ พอดีได้ทำรายงานเรื่องนี้ ข้ออื่นๆพอหาได้ แต่ข้อ4 หายังไม่ได้เลยค่ะ ช่วยแบ่งปันหน่อยนะค่ะ

1. ความหมาย

2. จุดมุ่งหมาย

3.ขั้นตอนการสอน

4.ข้อดีและข้อจำกัด

อยากทราบข้อดี-ข้อจำกัด รูปแบบการเรียนการสอนแบบมโนทัศน์ ใครพอมีข้อมูลบ้างจร้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท