รายงานมาตรฐาน m – learning


ภูมิหลัง การอภิปราย และคำแนะนำเพื่อการใช้และการเข้าถึง m – learning

รายงานมาตรฐาน  m – learning ; ภูมิหลัง การอภิปราย และคำแนะนำเพื่อการใช้และการเข้าถึง m – learning

บทสรุป

            การบรรจบกันของการเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีแนวทางการสอนอย่างใหม่กับอุปกรณ์ดิจิตอลที่ทรงพลัง และเชื่อมต่อได้ ช่วยกระตุ้นความสนใจในเชิงพิเคราะห์กับส่วนการศึกษาแห่งชาติในลักษณะของ m – learning

            อย่างไรก็ดี ความหลากหลายของนิยามใน m – learning ซอฟต์แวร์ ที่ใช้รองรับ m – learning  และกรอบโครงสร้างอันหลากหลาย ตลอดจนลักษณะของ platform มักจะนิยามอย่างชัดเจนถึงความจำเป็นของระบบและวิธีการที่จะเอื้อประโยชน์เพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาแหล่ง m – learning ที่ต้องดำเนินการระหว่างกันของ platform และกรอบโครงสร้าง แนวปฏิบัติ การใช้ และความเท่าเทียมกันทั้งในส่วนของการเข้าถึง และโอกาส

            การสืบหาและการทำเอกสารตามมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติของ m – learning คือ แนวทางที่เอื้อผลประโยชน์เหล่านี้ งานวิจัยนี้จะเสนอผลในช่วงหยุดพักของเอกสารต่างๆเข้าสู่รูปแบบในการส่งผ่านและเข้าร่วมใน m – learning รวมถึงอภิปรายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการส่งผ่านและรูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์ และมีแนวโน้มจะแนะนำมาตรฐานทางรูปแบบและแนวปฏิบัติเพื่อการวิเคราะห์และอภิปรายในกลุ่มผู้ปฏิบัติและส่งเสริมความเป็นมืออาชีพ

            เพราะธรรมชาติอันหลากหลายของอุปกรณ์สื่อสารดิจิตอลที่มีฮาร์ดแวร์หลากหลายไว้สร้างองค์ประกอบต่างๆ กลไก ชุดซอฟต์แวร์และการให้บริการ การวิจัยมาตรฐานทางเทคนิคและข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นภาระงานที่ต้องพิจารณา ซึ่งมีงานเผยแพร่แล้วประมาณ 110 ชิ้น งานวิจัยก่อนหน้านี้ครอบคลุมการออกแบบและการพัฒนาแนวทาง m – learning ตามทฤษฎี แต่ทั้งที่มีข้อมูลมากมายในส่วนของเทคโนโลยีที่เอื้อประโยชน์ต่อ m – learning กลับไม่มีงานใดกล่าวถึงประเด็นที่เป็นมาตรฐานทาง m – learning

            ทั้งๆที่กรอบของงานต้องใช้มาตรฐานทางเอกสารในเรื่อง m – learning หลักการพื้นฐานของการพัฒนาแหล่งข้อมูลในอุปกรณ์เคลื่อนที่สามารถสรุปได้ดังนี้

1.      สร้างความเชื่อมั่นในแหล่งข้อมูลว่าสามารถเทียบได้กับบริบทการส่งผ่านพื้นฐาน (default) และลดความเรียกร้องในส่วนของหน่วยความจำ ตัวดำเนินการ processot และการนำเสนอ

2.      หาความสามารถของบริบทในการส่งผ่านขั้นสูงเพื่อเพิ่มคุณภาพและการใช้ประโยชน์ผ่านทางการส่งผ่านที่ปรับแล้วหรือจัดหาแหล่งข้อมูลทางเลือกที่เหมาะสมกับบริบทในการส่งผ่าน

            เมื่อกล่าวถึงหลักการพื้นฐานเหล่านี้ควรจะอำนวยความสะดวกในส่วนของการสร้างแหล่งข้อมูล m – learning โดยประสานกับแนวปฏิบัติสากลในการพัฒนา mobile

 

1.      บทนำ

            m – learning โดยทั่วไปจะรวมกรอบของกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้เรียนจะได้รับด้วยความสะดวกในส่วนของโอกาสการเข้าถึงและเข้ารับการเรียนรู้ในบริบทต่าง ๆที่อาจจะเกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีมือถือหรือไม่ก็ดี อย่างไรก็ดี ขณะที่หลายๆ แนวทางของ m – learning เน้นที่ความเคลื่อนไหวของผู้เรียนในการประสานกันกับส่วนที่มีการบันทึกไว้แล้วกับอุปกรณ์ในการเล่นซ้ำ เช่น หนังสือหรือเครื่องเล่นเทป กรอบของงานวิจัยนี้เพื่อเน้นแนวทางการใช้เครื่องมือดิจิตอลเพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้เคลื่อนที่

      การคัดกรองกรอบทำขึ้นโดยเน้นย้ำในส่วนของอุปกรณ์ดิจิตอลที่สามารถพกพาไปได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งจะไม่สามารถทำได้กับเครื่องตั้งโต๊ะเนื่องจากมีขนาดใหญ่และหนักเกินไป

      สำหรับเป้าหมายของการเรียนรู้เคลื่อนที่แบบต่างๆ จากการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ดิจิตอล เอกสารนี้จะใช้คำว่า m – learning เพื่ออธิบายกิจกรรมต่างๆ ในกรอบที่แคบลง

1.1 ความต้องการในมาตรฐาน m – learning

            ความต้องการมาตรฐาน m – learning มีกล่าวกันไว้มากโดยนักการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แนวทาง E – learning ในเดือนสิงหาคมปี 2006 สำรวจ m – learning ในเดือนพฤษภาคม 2007 นั้น กว่า 40% ขององค์กรฝึกอบรมใช้ m – learning และใช้มากในสถาบันอันดับ 3  ยิ่งไปกว่านั้น 77% ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่ามีความเชื่อถือในวิธีการเพราะมันมีองค์ประกอบที่ดี ทั้งความรวดเร็ว ความปลอดภัย ความยืดหยุ่น และมีปฏิสัมพันธ์กันได้

            อย่างไรก็ดี การสำรวจยังพบว่า ผู้ตอบน้อยกว่า 7% เรียนในองค์กรที่มีวิธีการสอนอย่างดีและมีการพัฒนาสูงในเรื่อง m – learning นี่จึงแสดงให้เห็นว่าองค์กรจำนวนมากมีการกำหนดแนวทางต่างๆ ไว้และแสดงให้เห็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องสร้างมาตรฐานและวิธีการอันดีสำหรับการทำ m – learning

            ขณะที่แนวทาง E – learning มีมากในอเมริกา แต่ออสเตรเลียมีตลาดอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่นำมาเปรียบเทียบกันได้ ออสเตรเลียจึงมีประวัติการรับและใช้โทรศัพท์มือถือมาเทียบเท่าหรือมากกว่าสหรัฐ  และมีการรับเทคโนโลยีดิจิตอลอื่นๆ เช่น media player และ PDA มากกว่า

            โดยทั่วไปสหรัฐมักล้าหลังเมื่อพ้นยุคอุตสาหกรรม รวมถึงออสเตรเลียด้วยทั้งในส่วนของวัฒนธรรมและเทคโนโลยีของอุปกรณ์สื่อสาร สถิติทางการตลาดของการ์ธเนอร์แสดงให้เห็นว่าในแถบเอเชีย แปซิฟิกให้เป็นผู้นำทางการตลาดโลก (คิดเป็น 29% ของตลาดโทรศัพท์มือถือ เมื่อเทียบกับอเมริกาเพียง 9%) โดยอเมริกาจะขาดแคลนในส่วน PDA และ Smartphone การใช้และแนวโน้ม (เช่น สหรัฐอเมริกายังคงซื้อ PDA ขณะที่ส่วนอื่นๆของโลกยังคงปรับตัวเข้าหาสมาร์ทโฟน ที่ใกล้เคียงกันคือ ทางออสเตรเลียและยุโรป สหรัฐและบริษัท ไอที เริ่มปล่อยเทคโนโลยีเข้ามาแพร่หลายในประเทศแถบเอเชียหลายประเทศ (เช่น บาร์โคด 2D หรือข้อมูล 3G ซึ่งเป็นที่นิยมมากในญี่ปุ่น)

1.2 กระบวนการที่ดำเนินการภายใต้กิจกรรม

ในการกำหนดมาตรฐานให้เหมาะสมและวิธีการที่ดีสำหรับ  m – Learning ขั้นตอนแรกคือเพื่อแยกแยะกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับแนวทาง m – learning ในการกระทำเช่นนี้ รูปแบบทางมาตรฐานต้องพัฒนาขึ้นมาเพื่อส่งเสริมกิจกรรมที่รู้จักกันดีในกลุ่มครูและผู้เรียน มากกว่าจะเป็นรูปแบบทางมาตรฐานโดยทั่วไป

ตัวอย่างเช่น มาตรฐานโดยทั่วไปอาจจะกล่าวถึงการจัดเตรียม เสียง (ออดิโอ) ว่าเป็นมาตรฐานที่สำคัญ แต่การวิเคราะห์ m – learning แสดงให้เห็นว่าหนึ่งในกิจกรรมของ m – learning คือ การใช้ podcast ซึ่งเป็นส่วนที่อาศัยการพูดมากกว่า ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรม   m – learning จำเป็นต่อการสร้างมาตรฐานที่เกี่ยวเนื่องกับ m – learning ซึ่งส่งเสริมการบันทึกและส่งผ่านข้อมูลเสียงจากคำพูด มากกว่าจะเป็นเสียงโดยทั่วไป ความสำคัญของสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากการใช้มุมมองทางเทคนิคนี้จะชัดเจนมากขึ้นเมื่อมีรูปแบบเสียงที่เหมาะสมดังจะอภิปรายในงานวิจัยนี้

1.3 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

            การใช้ประโยชน์จากรูปแบบ m – learning จากกิจกรรม การศึกษางานที่เกี่ยวข้องจะทำขึ้นร่วมกับองค์ความรู้ในทางปฏิบัติโดยใช้ฐานข้อมูล เป้าหมายของการทบทวนงานวิจัยคือเพื่อวิเคราะห์และสร้างแนวทางสำหรับ m – learning ผลพลอยได้จากกิจกรรมการวิจัยคือฐานข้อมูลของแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่จะเสริมความเชี่ยวชาญทางการศึกษาในการออกแบบ พัฒนา และการประยุกต์ใช้ m – learning ที่สามารถทำให้แพร่หลายแบบออนไลน์ในอนาคต

1.4 การให้คำแนะนำแบบพบหน้า peer consultation

            เป้าหมายของขั้นตอนการให้คำแนะนำแบบพบหน้า คือ เพื่อนำเสนอข้อค้นพบที่เกี่ยวเนื่องกับเอกสารงานวิจัยที่มีอยู่และรวบรวมเอกสาร ไปสู่ผู้ปฏิบัติการ m – learning  ความเคลื่อนไหว และผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหาในการสอนเคลื่อนที่  ข้อจำกัดของวิธีการวิจัยเชิงทฤษฎีที่มีต่อการปฏิบัติเช่น การเรียนการสอนยังไม่เป็นที่ทราบกันได้อย่างแน่ชัด และขั้นตอนการตรวจสอบมีแนวโน้มจะสนับสนุนข้อค้นพบจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและเอกสาร ตลอดจนสามารถให้คำแนะนำจากประสบการณ์ของการฝึกปฏิบัติ

2. วิธีการตรวจสอบ

            ในขั้นตอนของการตรวจสอบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะเกี่ยวเนื่องกับการสืบหาประเด็นที่ใกล้เคียงกับการสืบหา และบันทึกผลและอ้างอิงเอกสารที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรม m – learning การพัฒนาแหล่งข้อมูล มาตรฐานทางเทคนิคและการใช้บุคลากร

2.1 การแยกแยะกิจกรรม m – learning

            โดยขั้นแรก กิจกรรม m – learning จะสำรวจและแยกแยะผ่านรูปแบบกิจกรรม

m – learning ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ผู้เรียน การใช้รูปแบบโดยประสานกับการวิจัยกิจกรรม m – learning ทำให้นักการศึกษามีความพยายามมากขึ้น และบันทึกมันผ่านอินเตอร์เน็ต โดยกิจกรรม m – learning จะถูกจัดแบบ (ตามดัชนี 1) รายชื่อต่างๆ นี้เป็นที่เข้าใจได้ แต่ไม่น่าจะครอบคลุม จึงสมควรมีการสืบหาเพิ่มเติมในอนาคต ทั้งในส่วนของเทคโนโลยีและกลไกที่ต้องพัฒนาขึ้น แต่อาจจะไม่สามารถให้ตัวอย่างการใช้ m – learning ได้ และเป็นประโยชน์ในฐานะที่เป็นตัวสำคัญของการสร้างมาตรฐานการรองรับ

2.2 การวิเคราะห์กิจกรรมเพื่อตรวจสอบเกณฑ์

            เมื่อกิจกรรมเหล่านั้นถูกทำเป็นเอกสาร พวกเขาจะสร้างตามเกณฑ์เช่น ไฟล์ข้อมูลและรูปแบบที่สนับสนุนกิจกรรม ลักษณะของฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่มีผลกระทบ (เช่น ข้อจำกัดทางด้านความจำ หรือน้ำหนักข้อมูล) และลักษณะของการใช้ประโยชน์และการเข้าถึงของผู้ใช้ (เช่น ประเด็นของ ผู้ใช้กับขนาดหน้าจอ หรือ การนำเข้าข้อมูล) ลักษณะทางเทคนิคและทรัพยากรของ m – learning จะสร้างเกณฑ์ที่ใช้เพื่อสืบหาและแนะนำมาตรฐานที่ตั้งไว้ในเอกสารนี้

2.3 การวิจัยที่มีอยู่เกี่ยวกับมาตรฐานและแนวปฏิบัติ

          การตรวจสอบเอกสารงานวิจัยของมาตรฐานที่ได้มาเกี่ยวเนื่องกับการบันทึกการอ้างอิง การอ้างอิงจากสื่อ และส่วนที่สัมพันธ์กับเกณฑ์ที่เหมาะสมกับการพัฒนามาตรฐาน ในการสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลจากสิ่งอ้างอิงเหล่านี้ ฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะใช้เป็นฐานข้อมูลเพื่อการบันทึกข้อมูล m – learning และประเด็นทางเทคนิคและบุคคล

            โดยรวม กว่า 200 รายการอ้างอิงจนถึงแหล่งตีพิมพ์กว่า 110 ชิ้นจะถูกบันทึกและวิเคราะห์เพื่อการพัฒนามาตรฐาน แม้ว่าจะมีการประเมินข้อมูลหลายส่วนแม้กระทั่ง ข้อขัดแย้ง (การส่งเสริม JPEG, PNG ในมือถือ ทั้งจากคำแนะนำ และจาก W3C หรืออาจจะยังไม่เหมาะสม (อันเนื่องมาจากความใหม่ของประเด็นด้านความเคลื่อนไหวของดิจิตอล) นักวิจัยจำเป็นต้องตัดสินในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาบางส่วนที่เกี่ยวกับมาตรฐานที่ร่างไว้

2.4 การวิเคราะห์การปรับใช้เทคโนโลยี

          ความสามารถของ PDAs เป็นแบบอย่างและยืดหยุ่นได้มากกว่า (ด้วยการเพิ่มซอฟต์แวร์) มากกว่าโทรศัพท์มือถือ หาก PDA  ไม่มี codec มันอาจจะติดตั้ง codec เพื่อให้ดำเนินการกับซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ได้ หรืออาจจะมีการติดตั้งเครื่องเล่นใหม่ให้รองรับ codec ที่ต้องการ

            มือถือนั้นมีความสามารถที่หลากหลายขึ้นแต่ไม่สามารถจะอัพเกรดได้โดยผู้ใช้ ขณะที่โทรศัพท์อื่นแสดงให้เห็นความยืดหยุ่นบางประการ เช่น ความสามารถในการติดตั้ง ซิมเบียน หรือจาวา  ความยืดหยุ่นเหล่านี้มักจะมีข้อจำกัด

            ในการวิเคราะห์มาตรฐานการปฏิบัติและการประยุกต์ใช้มือถือตามความสามารถพื้นฐาน  ฐานข้อมูลของมือถือ 1147 ชนิดจาก 27 แบรนด์ ระหว่างมีนาคม 2005 จะใช้เป็นมาตรฐานในการทดสอบความสามารถของมือถือและความสามารถอันหลากหลาย เช่น ความสามารถในการเชื่อมต่อ หรือเทคโนโลยีอื่นๆ

            จุดอ่อนของวิธีการคือฐานข้อมูลนี้มีใช้มานานนับปีแล้ว (ตามมาตรฐานทางเทคโนโลยี)  บางครั้งทำขึ้นจากต่างประเทศทำให้ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความนิยมในกลุ่มตลาดผู้บริโภค แต่มันยังคงเป็นจุดเริ่มต้นการวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ของมาตรฐานที่แนะนำให้ใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่

3. มุมมองทางด้านมาตรฐานของ m – learning

          การพัฒนามาตรฐาน m – learning และวิธีการต้องกล่าวถึงประเด็นที่มีผลกระทบต่อการสร้างสรรค์ การส่งผ่าน การดำเนินงาน และการสืบหาแหล่งการเรียนรู้เคลื่อนที่ ในการสืบหาประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ ความเท่าเทียมและการเข้าถึงจะกำหนดตามการพิจารณาเพื่อลดอุปสรรคในการเข้าถึงเนื้อหา m – learning

3.1 การออกแบบ การพัฒนา และการใช้เนื้อหาแบบเคลื่อนที่

3.1.1 วงจรชีวิตของ m – learning

            เช่นเดียวกับการเรียนรู้อื่นๆ m – learning จะออกแบบตามหลักการเรียนการสอน พัฒนาไปสู่กิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสม ที่ส่งเสริมและสนับสนุนด้วยทฤษฎี และการใช้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานทางการปฏิบัติ

            การออกแบบ m – learning ทำได้โดยใช้ทฤษฎีการเรียนการสอน โอกาสที่เกิดจาก m – learning จะมีรูปแบบที่สัมพันธ์กัน ทั้งในส่วนของ codec และตัวบรรจุเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากกิจกรรมการเรียนรู้นั้นได้รับการพัฒนาขึ้น และกลายเป็นประเด็นสำคัญเพื่อการพัฒนาแหล่งทรัพยากร

3.1.2 ประเด็นที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ m – learning

            หลายประเด็นและแนวทางที่ดีในการใช้ m – learning อาจจะได้มาจากการควบคู่ไปกับการพัฒนาการฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นเวลานับศตวรรษมาแล้ว ในการอาดงผล การเก็บ ความจำ และความจุขอองกระบวนการ และความขัดแย้งในส่วนของฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ในช่วงกลาง 1990 ถือเป็นสถานะใหม่ของอุปกรณ์และเทคโนโลยีการสื่อสาร ยิ่งไปกว่านั้น ประเด็นทางด้านความเท่าเทียม การใช้ประโยชน์ และการเข้าถึงจะแปลงมาเป็นประเด็นของ m – learning ได้ เช่น Mobile devide หรือ Mobile immigrant ประเด็นต่างๆ ในกลุ่มบุคคลและทางเทคนิคจะต้องอาศัยการเชื่อมต่อในระยะไกล

หมายเลขบันทึก: 197558เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2008 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 08:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท