การบริหารแบบพาคิดพาทำ


การบริหารแบบพาคิดพาทำหมายถึง กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ใช้ระบบการนิเทศการสอน การจัดกิจกรรมการปฏิบัติจริงในการนำความรู้สู่การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน มีการติดตามนิเทศ ปรับปรุงแก้ไขและประเมินผลเป็นระยะเพื่อการพัฒนา การชี้แนะช่วยเหลือด้านการเรียนการสอน และการทำวิจัยในชั้นเรียน เป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างครู และผู้บริหารโรงเรียน

1.  กล่าวนำ 

ผมมีความสนใจเรื่องการวิจัยในชั้นเรียน  เพราะพบว่า  ครูส่วนใหญ่ไม่รู้จักนักเรียน ไม่รู้ว่านักเรียนของตนเป็นใคร มีจุดเด่นจุดด้อยในเรื่องใดบ้าง มีศักยภาพมากน้อยเพียงใด ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะ ครูไม่มีการศึกษาปัญหาของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ชัดเจน และเพียงพอในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา   ทั้ง ๆ ที่ครูเหล่านั้นอยู่กับปัญหาการเรียนการสอนตลอดเวลา แต่มีงานวิจัยที่เกิดจากครู หรือเป็นผลงานของครูด้านการวิจัยทางการศึกษามีน้อยมากที่มีการ  ที่เป็นเช่นนี้อาจเนื่องจากความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยทางการศึกษาของครูมีน้อย และที่สำคัญการวิจัยทางการศึกษายังเป็นภาระงานส่วนหนึ่งในการขอรับการประเมินวิทยฐานะ  และการประเมินเพื่อขอรับใบประกอบวิชาชีพตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครูอีกด้วย

ในฐานะผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอนในชั้นเรียน    เพื่อให้สามารถพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุง  แก้ไขให้การเรียนรู้ในชั้นเรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

2. ที่มาของแนวคิด/ทฤษฎีที่ใช้

                การบริหารแบบพาคิดพาทำหมายถึง กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ใช้ระบบการนิเทศการสอน  การจัดกิจกรรมการปฏิบัติจริงในการนำความรู้สู่การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน มีการติดตามนิเทศ ปรับปรุงแก้ไขและประเมินผลเป็นระยะเพื่อการพัฒนา  การชี้แนะช่วยเหลือด้านการเรียนการสอน  และการทำวิจัยในชั้นเรียน  เป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างครู และผู้บริหารโรงเรียน  โดยมีแนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องคือ

-  ทักษะที่จำเป็นสำหรับการบริหาร

- ทักษะด้านเทคนิควิธี (Technical Skills) 

- ทักษะด้านมนุษย์ (Human Skills) 

- ทักษะด้านความคิดรวบยอด (Conceptual Skills)

-  การบริหารแบบมีส่วนร่วม(Participation Management)

-  ความเป็นมา  

-  ความหมายของการบริหารแบบมีส่วนร่วม 

-  แนวความคิดพื้นฐานของการบริหารแบบมีส่วนร่วม 

-  เทคนิคการใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม

          - วิธีการใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมสมัยใหม่ 

     -  การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์  ( MBO)

-  มนุษยสัมพันธ์

-  ความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์

-  ความหมายของมนุษยสัมพันธ์

-  การเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์

-  หลักในการปรับตัวเพื่อการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

-  หลักทั่วไปของมนุษยสัมพันธ์

 

3. นำเสนอเรื่องที่อยากทำ

                ผมจึงมีความสนใจที่จะเพิ่มทักษะและพัฒนางานวิจัยในชั้นเรียน โดยใช้กระบวนการบริหาร แบบพาคิดพาทำ   โดยศึกษาและพัฒนางาน  ตามกระบวนการขั้นตอน ดังนี้

                การบริหารแบบพาคิดพาทำ

                             -  ความหมายของการบริหารแบบพาคิดพาทำ

                             -  จุดมุ่งหมายของการบริหารแบบพาคิดพาทำ

-  ความจำเป็นของการบริหารแบบพาคิดพาทำ                                          

-   ลักษณะของการบริหารแบบพาคิดพาทำ

                             -  รูปแบบของการนิเทศภายใน

-  การบริหารแบบพาคิดพาทำ ตามขั้นตอน คือ

          -1.  การสร้างความตระหนัก   ให้ความรู้และสาธิตรูปแบบการวิจัยในชั้นเรียน  

-2.  ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน 

-3.   แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 

-4.  จัดนิทรรศการ  เผยแพร่ผลงาน    (เลือก Best Pact ice)

 

                การวิจัยในชั้นเรียน

 

                                                -  ความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน

                                                -  ความหมายของการวิจัยในชั้นเรียน

                                                -  จุดประสงค์ของการวิจัยในชั้นเรียน

                                                -  ลักษณะสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน

                                                -  ประเภทของการวิจัยในชั้นเรียน

                                                -  ประโยชน์ของการวิจัยในชั้นเรียน

                                                -  ขั้นตอนหรือกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียน

                                                        -1  ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดปัญหาและหาสาเหตุของปัญหา

                                                        -2  ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดวิธีการแก้ปัญหา/แนวทางการแก้ปัญหา

                                                        -3  ขั้นตอนที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย / การดำเนินการแก้ปัญหา

                                                        -4  ขั้นตอนที่ 4 การสรุปผลและเขียนรายงานการวิจัย

 

 

นายวิชัย  กันสุข   ผู้บันทึก

......................................................................................

  ข้อมูลอ้างอิง 

จันทรานี  สงวนนาม.  ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา.  กรุงเทพฯ :

บุ๊ค พอยท์,  2545.

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 197429เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2008 09:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

น่าจะใช้ชื่อว่า

1.การพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้การบริหารแบบพาคิดพาทำ

2.การบริหารแบบพาคิดพาทำในการพัฒนากระบวนการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

ตรงกระบวนการค่ะน่าจะเพิ่มประโยชน์ของการบริหารแบบพาคิดพาทำด้วยนะคะ

ขอบคุณมากครับ...ในข้อเสนอแนะ ในการทำวิจัยเรื่องนี้ ผมคาดว่าจะใช้ชื่อ "การพัฒนากระบวนการบริหารแบบพาคิดพาทำเพื่อเพิ่มทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน"

การวิจัยในชั้นเรียนเป้าหมายของทุกโรงเรียนค่ะ ชื่นชมงานของ ผอ. focus ไปที่จุดเดียวกัน

เป็นแนวคิดที่ดี การที่เป็นผู้นำแล้วนำกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนมาส่งเสริมครู อีกทั้งครูจะได้ประโยชน์ เลื่อนตำแหน่งได้อีกด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท