การบูรณาการกับการเรียนการสอน


การบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้

การบูรณาการการเรียนการสอน  :   การจัดกิจกรรมการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือ ตอบปัญหาที่สงสัยด้วยการผสมผสานสาระ กระบวนการ วิธีสอน  เทคนิคที่เน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติด้วยการสอดรากสาระความรู้อื่นๆและคุณธรรมจริยธรรมอย่างเหมาะสมเกิดความสมบูรณ์อย่างสมดุลเสมือนเป็นชีวิตของผู้เรียน( http://203.172.188.21/all/nsw1184689291.doc )

การบูรณาการทางการสอนจะช่วยฝึกให้ผู้เรียนรู้จักนำความรู้ไปผสมผสานกัน   ฝึกให้รู้จักใช้ เหตุผลและการนำไปประยุกต์ใช้  เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน 

เหตุผลในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

1. ด้านจิตวิทยา

ผู้เรียนได้มีโอกาสได้รับความรู้ที่หลากหลาย เกิดการนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

2.ด้านสังคมวิทยา

ผู้เรียนต้องการทักษะจากหลายสาขาวิชาร่วมกัน จึงจะสามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

3.ด้านบริหาร

o        แก้ปัญหาด้านการขาดแคลนบุคลากร

o        แก้ปัญหาความซ้ำซ้อนของเนื้อหาวิชา

o        ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย        

แนวคิด / ทฤษฎี

กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ

1.       ปรัชญาการศึกษาแบบ  Progressivism  ของ  John Dewey

o        การศึกษาคือชีวิต : คนต้องศึกษาตลอดชีวิต (ความรู้มากมายมหาศาล)

o        เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

·         การเรียนโดยการแก้ปัญหา

o        ส่งเสริมร่วมมือการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

o        สร้างเสริมการอยู่ร่วมกันในวิถีประชาธิปไตย

2.   ทฤษฎีการเรียนรู้ในด้าน  Cognitive  ที่ใช้  Constructivism  Approach 

หลักสำคัญของ  Constructivism  คือ ผู้เรียนต้องสร้างความรู้เอง  ครูเป็นผู้ช่วย

โดยจัดหาข้อมูลข่าวสารที่มีความหมายให้แก่ผู้เรียน  หรือให้โอกาสผู้เรียนได้ค้นพบ

ด้วยตนเอง  และเป็นผู้ลงมือกระทำ

3.   ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของ  Ausubel

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ  Ausubel  เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างมีความเข้าใจและมีความหมาย การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิมที่อยู่ในสมองของผู้เรียน

4.  การถ่ายโยงการเรียนรู้  (Transfer of Learning)

การถ่ายโยงการเรียนรู้  หมายถึง  การนำสิ่งที่เรียนรู้แล้วไปใช้ในสถานการณ์ใหม่  การถ่ายโยงการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่สำคัญเพราะวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การเตรียมผู้เรียนให้สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ในอนาคตทั้งในด้านประกอบอาชีพ และการแก้ปัญหาต่าง ๆ 

ลักษณะสำคัญของการบูรณาการ

การบูรณาการทำได้หลายระดับ  โดยเป็นการบูรณาการระหว่าง

  •  
    • ความรู้ของวิชาต่าง ๆ     (บูรณาการหลักสูตร)
    • ความรู้และกระบวนการเรียนรู้   (บูรณาการกระบวนการเรียนการสอน)

o        พัฒนาการทางความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ (จิตพิสัย)  เน้นทั้งความรู้ และ

เจตคติ  ค่านิยม  ความสนใจ  สุนทรียภาพ

o        ความรู้และการกระทำ  เน้นทั้งความรู้และทักษะพิสัย

o        สิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน

o        สิ่งที่เรียนในโรงเรียนต้องมีความหมายและมีคุณค่าต่อชีวิต สามารถนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น

 

หลักการจัดการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Learning Integration)   อาจจัดได้  2  ลักษณะ  คือ

1.  การบูรณาการภายในวิชา  (Intradisciplinary)   เป็นการบูรณาการที่เกิดขึ้นภายในขอบเขตของเนื้อหาเดียวกัน  วิชาที่ใช้หลักการบูรณาการภายในวิชาเดียวกันมากที่สุด คือ วิชาภาษา หรือกระบวนการทางภาษา ซึ่งประกอบด้วยการฟัง  การพูด  การอ่าน   และการเขียน   เนื่องจากมีความเกี่ยวพันกันหลายแบบ  นอกจากวิชาภาษาแล้ว  วิชาสังคมศึกษา  วิทยาศาสตร์  หรือคณิตศาสตร์    ก็ใช้หลักการเชื่อมโยงภายในวิชาได้ 

2.  การบูรณาการระหว่างวิชา  (Interdisciplinary)   เป็นการเชื่อมโยงหรือรวมศาสตร์ต่าง ๆ  ตั้งแต่  2 สาขาวิชาขึ้นไปภายในหัวเรื่อง (Theme) เดียวกัน   เป็นการเรียนรู้โดยใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะในศาสตร์ หรือความรู้ในวิชาต่าง ๆ มากกว่า 1 วิชาขึ้นไป  เพื่อแก้ปัญหา หรือการแสวงหาความรู้ความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง    การเชื่อมโยงความรู้และทักษะระหว่างวิชาต่าง ๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง ไม่ใช่เพียงผิวเผินและมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากขึ้น 

(http://www.wk.ac.th/project/kanyarat/project2/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99.doc)

แบบการสอนแบบบูรณาการการเรียนการสอน

1.   แบบสอดแทรก  ( infusion)

**  สอดแทรกเนื้อหากลุ่มสาระอื่นๆ เข้าในการสอนของตน

                  **  ใช้ครู   1   คน

  2.   แบบคู่ขนาน    ( parallel instruction)

**  สอนด้วยครู 2 คนขึ้นไป 2 กลุ่มสาระขึ้นไป

                  **   ครูวางแผนร่วมกันตามหัวข้อเรื่อง (theme) / มโนทัศน์

                  (concept) / ปัญหา  (problem) แล้วต่างคนต่างสอน

เนื้อหาตามกลุ่มสาระของตน

3.  แบบพหุวิทยาการ    ( multidisciplinary  instruction)

** คล้ายแบบคู่ขนาน  โดยเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่างๆตาม

หัวข้อเรื่อง (theme) / มโนทัศน์ (concept) / ปัญหา 

(problem) แล้วต่างคนต่างสอนเนื้อหาตามกลุ่มสาระของตน

** มอบหมายให้ทำ  project  เชื่อมโยงสาระการเรียนรู้

ต่างๆตามหัวข้อเรื่อง (theme) / มโนทัศน์ (concept) /

ปัญหา  (problem) (theme) / มโนทัศน์

4.  แบบเป็นคณะจะร่วมกันสอนเป็นทีม

**  ร่วมกันวางแผน   ปรึกษาหารือ   สร้างหน่วยการเรียนรู้

บูรณาการร่วมกัน และสอนร่วมกันเป็นทีม

5 .  บูรณาการทักษะปฏิบัติกับสาระ ( กระบวนการเรียนรู้ กระบวนการ

คิด กระบวนการสังคม  การปฏิบัติ  ทำงานเป็นกลุ่ม)

6 .  บูรณาการ ความรู้  ความคิด  การปฏิบัติ  และคุณธรรม จริยธรรม

7 . บูรณาการด้านปัญญา  อารมณ์  สังคม  และร่างกาย 

( http://203.172.188.21/all/nsw1184689291.doc )

คำว่าบูรณาการถูกนำมาใช้ในวงการศึกษามานานแล้ว  แต่มาท๊อปฮิตติดอันดับในวงการเมื่อมีการปฏิรูปการจัดการเรียนรู้  ซี่งในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้ระบุถึงแนวการจัดการศึกษาไว้ในมาตรา 23 ว่า  “…ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้  คุณธรรม  กระบวนการเรียนรู้  และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา…” ครูผู้สอนซึ่งมีหน้าที่จัดการเรียนรู้ ( http://www.takesa1.go.th/~nitess/somjaiburanakan.doc )

ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการนั้น ครูควรมีความรู้ความเข้าใจในหลักบูรณาการเพียงพอจึงจะทำให้การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการประสบผลสำเร็จ

แหล่งอ้างอิง

สมใจ เอื้อรุ่งเรือง.  บูรณาการ  บูรณาเกิน  และบูรณากรรม.  [ ออนไลน์ ].  เข้าถึงได้จาก: http://www.takesa1.go.th/~nitess/somjaiburanakan.doc

การเรียนรู้แบบบูรณาการ.  [ ออนไลน์ ].  เข้าถึงได้จาก: (http://www.wk.ac.th/project/kanyarat/project2/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99.doc

พิมพันธ์   เดชะคุปต์และ พะเยาว์   ยินดีสุข .  การบูรณาการรการเรียนการสอน.  [ ออนไลน์ ].  เข้าถึงได้จาก: http://203.172.188.21/all/nsw1184689291.doc

 

หมายเลขบันทึก: 197400เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2008 01:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

ข้อมูลดี มีประโยชน์  ขอบคุณมากค่ะ

แล้วจะแวะมาอ่านอีกนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท