การประชุมคณะอนุกรรมการรับรองมูลนิธิหรือองค์กรภาคเอกชนเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์และรับรององค์ภาคประชาขนเป็นองค์กรสวัสดิการชุมชนในเขตจังหวัด


กองทุนสวัสดิการชุมชนได้รับการรับการรับรองตามกฏหมายแล้ว
  1.      เช้าวันนี้ที่ห้องประชุมศรีปราชญ์ ศาลากลางจังหวัดนครศรี ฯ ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการ รับรองมูลนิธิ สมาคม หรือองค์กรภาคเอกชนเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ และรับรององค์กรภาคประชาชนเป็นองค์กรสวัสดิการชุมชนในเขตจังหวัด                                          โดยมีข้อกำหนดคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นคำขอและการรับรองเป็นองค์กรสวัสดิการชุมชน ในเขตจังหวัด ปีพ.ศ 2551 ดังนี้ 1 .มีการดำเนินกิจการและผลงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมไม่น้อนกว่า 1 ปี 2. มีที่ทำการตั้งอยู่ในท้องที่ที่จะยื่นคำขอไม่น้อยกว่า 1 ปี 3. มีบริการสวัสดิการสังคมในระดับชุมชนที่หลากหลายตามสภาพของชุมชน 4.มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมอย่างสมำเสมอ    โดยในการประชุมวันนี้ มีองค์กรเสนอเข้ารับการรับรองจำนวน 8 องค์กร ดังนี้ 1. ชมรมผู้สูงอายุสถานีอนามัยตำบลบ้านราม 2. ศูนย์ฟื้นฟูและพัฒนคนพิการอำเภอหัวไทร   เสนอรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ ซึ่งคณะกรรมการมีมติรับรอง ทั้ง 2. องค์กร ส่วน การรับรององค์กรภาคประชาชน เป็นองค์กรสวัสดิการชุมชน จำนวน 5 องค์กร คือ 1 . กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลท้ายสำเภา 2 . กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบางจาก 3.ชมรมคนพิการตำบลขุนทะเล 4. กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลนาเขลียง 5 .กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลเสาเภา     ซึ่ง คณะกรรมการมีมติรับรอง 4 องค์กร  ส่วนชมรมคนพิการให้ทบทวนว่าจะเข้าข่ายองค์กรสาธารณประโยขน์มากก่วา   จึงเก็บความคืบหน้ามาบอกกล่าวกันนะคะ หลังจากที่ไม่ได้บันทึกเสียนาน  ต้องขออภัยด้วยนะคะ แต่จะพยายามบันทึกให้สม่ำเสมอมากขึ้น                                                        
หมายเลขบันทึก: 197101เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2008 14:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 09:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

น้องพัช

เข้ามาเยี่ยมและอ่านความก้าวหน้าของงานครับ

คิดถึงครับ

สวัสดีค่ะคุณพัชนี

ยังติดตามอ่านด้วยความสนใจค่ะ

ยินดีกับกองทุนที่ได้รับการรับรองตามกฎหมาย แต่ก็น่าสนใจว่าทำไมบางกองทุนจึงไม่ต้องการการเข้าไปสู่ระบบการรับรองดังกล่าว และทำไมบางกองทุนจึงตัดสินใจเข้าสู่ระบบ

น่าสนใจอีกประการหนึ่งว่า กองทุนที่ได้รับการรับรองแล้วจะใช้ประโยชน์จากสถานภาพดังกล่าวอย่างไรเพื่อพัฒนากองทุนและชุมชนของตนเอง

เป็นกำลังใจให้ทีมงานค่ะ

สวัสดีค่ะ อ. จำนง ขอบคุณนะคะที่ให้กำลังใจ วันก่อนปลัดวาสนาเชิญประชุมคณะทำงานจับภาพ พื้นที่ km ของโซนอำเภอต่าง ๆ เมื่อวันที่ 29 ก.ค ที่ผ่านมา อาจารย์ได้เข้าประชุมหรือเปล่าค๊ะ เห็นรายชื่อในคำสั่ง อาจารย์อยู่โซนอำเภอเมือง พัชอยู่โซนชะอวด ไม่ทราบว่าเขานัดหมายกันลงพื้นที่วันไหน อาจารย์ทราบหรือเปล่าพอดีวันนั้นพัชติดประชุมที่สนง.ภาค เลยไปไม่ได้ แต่ถ้ารู้วันลงพื้นที่ก็อยากไปด้วย ชะอวดใกล้พัทลุง สงสัยมีคนรู้ว่าพัชอยู่พัทลุงมากกว่าอยู่นครฯ แล้วตอนนี้ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

สวัสดีคะ อ. ปัทมาวดี เรื่องกองทุนที่ผ่านการรับรองแล้ว สิ่งที่จะได้รับถ้าโดยตรงนอกจากมีความมั่นอก มั่นใจในสถานภาพทางกฏหมายแล้ว เท่าที่ทราบ ถ้าทางตรง

จาก สนง.พมจ. แล้ว กองทุนเหล่านี้ที่ผ่านการรับรองจะสามารถเสนอโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมสวัสดิการสังคมในจังหวัดได้ ซึ่งในแต่ละจังหวัดจะมีงบประมาณ จังหวัดละ 2-3 ล้านบาท เพื่อนำไปพัฒนาความเข้มแข็งของกองทุน หรือกิจกรรมอื่น ๆที่เป็นการพัฒนาต่อยอด ส่วนกองทุนที่ไม่อยากเข้าระบบการรับรองอาจจะยังไม่เข้าใจรายละเอียดขั้นตอนการเสนอ หรืออาจเข้าใจผิดคิดว่ากองทุนจะไม่เป็นอิสระ ซึ่งเป็นความกังวลมากกว่า ถ้าทำความเข้าใจแล้วการรับรองอาจจะดีกว่าก็ได้ ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ ต้องขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่ให้ความสนใจเสมอมา

รู้สึกว่า นคร มีความก้าวหน้าเยอะ เกี่ยวกับสวัสดิการชุมชน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท