ขยายโครงการเด็กสามารถ (หนูทำได้) อีก 6 จังหวัด


การให้ยาต้านไวรัสในเด็กที่สำเร็จได้ จะเป็นตัวอย่างโชว์ ที่ทำให้ผู้คนทั้งหลาย เกิดความเชื่อมั่นในการรักษา ว่ารักษาเด็กยากสุด เรายังทำสำเร็จกันได้ เราก็จะฮึกเหิมว่า ผู้ใหญ่แม้นจะยาก และมีจำนวนมากก็ต้องสำเร็จได้

 6 จังหวัด แต่  7 โรงพยาบาล ค่ะ

ที่จะขยายการดูแลเด็กติดเชื้อ เอชไอวี โดยสร้างเครือข่ายกับ โรงพยาบาลชุมชนเพิ่มในปีนี้  เรารับสมัครอีก 6 จังหวัด

หลังจากขยายใน สองปีก่อนไปแล้ว 8 จังหวัด

ในปีแรก สองจังหวัด คือ อุบล และอุดร

ในปีที่สอง หกจังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา สุรินทร์ กาญจนบุรี หาดใหญ่ นครสวรรค์ และนครศรีธรรมราช

 

ปีนี้ น้องกิ๊ก แห่ง กองโรคเอดส์ฯ เตรียมการอย่างพร้อมสรรพ เชิญ อีก หก จังหวัด ที่สนใจโครงการ เข้ามาประชุมเตรียมการกัน พุธที่  23 กค 51

 

รพ ชัยภูมิ

 

รพบุรีรัมย์

 

รพ พะเยา

 

รพลำปาง

 

รพ ระยอง

 

รพ ศรีนครินทร์ ขอนแก่น

 

และ รพ ขอนแก่น

 

ล้วนแล้วแต่เป็นโรงพยาบาล ขนาดใหญ่ และมีประสบการณ์ การดูแลให้ยาต้านไวร้สแก่เด็ก มาแล้วทั้งสิ้น ส่วนมากจะมีจำนวนเด็กในความดูแล เกิน 100 คนขึ้นไป  มากสุดที่ รพ ศรีนครินทร์ มีจำนวนตั้ง  271 คน

 

และผู้เข้าประชุม ครั้งนี้ มีทั้งแพทย์ เภสัชกร พยาบาล มาเป็นจำนวนใกล้เคียงกัน  เป็นลักษณะ สหสาขา อย่างแท้จริง

 

ดู จาก ผู้นำเสนอในแต่ละทีมก็จะเห็นความใส่ใจ เอาเป็นธุระจากสหสาขา จริงๆ เพราะ เป็นแพทย์ 2 ท่าน เภสัชกร  3 ท่าน และ พยาบาล อีก 2 ท่าน

 

เราเริ่มด้วย การบรรยาย จาก อาจารย์สัญชัย แห่งสำนักเอดส์ฯ ก่อนซึ่งท่านให้ข้อมูลว่า โครงการเด็กสามารถนี้ จะขยาย ด้วย งบ Global fund ก่อน 15 จังหวัด จากนั้น ก็จะส่งต่อให้ สปสช นำไปสู่การขยายทั้งประเทศ

 

 

หลังจากนั้นตัวแทนโรงพยาบาลแต่ละแห่งก็ผลัดกันเล่า นำเสนอประสบการณ์ที่เคยดูแลเด็กมา พบว่ามีประเด็น น่าสนใจ และมีเสน่ห์คนละแบบ

 

ตัวดิฉันเองนั่งฟัง ชอบทุกการนำเสนอ เพราะได้ เรียนรู้ อะไร ที่น่าสนใจ ในที่ต่างๆกัน

 

รพชัยภูมิ ชอบตรงที่ เภสัชกร คุณวิชาญ เป็นผู้นำเสนอ เธอเป็นเภสัชกรที่ไม่ธรรมดา เพราะเอาเป็นธุระจริงๆ ถือเรื่องให้ยาเด็กเป็นงานสำคัญโดยลงคลุกงานเต็มตัว  ทั้งนับยา จัดยา ปรับขนาดยาให้เด็ก ดู ความร่วมใจในการกินยา(adherence)และยังเข้าไปเยี่ยมบ้านกับ ทีมศูนย์ องค์รวมด้วย

 

รพ บุรีรัมย์ มีการพัฒนางานเด็ก ไปเยอะ มีคุณหมอ วรรณีนำทีมมา ประชุม เคยทำงบ ขอ สปสช มาขยายงานแล้ว มีการใช้ทรัพยากรเดียวกันกับ ทีม อายุรกรรม เช่นสถานที่ และมีการส่งต่อเด็ก ไปรพชแล้วโดยให้ เอกสารบันทึก ประวัติเด็ก ตัวจริงให้รพชุมชนไปพร้อมกับเด็ก และถ่ายเอกสารทำสำเนาเก็บไว้

 

พะเยา มี NGO เข้ามาช่วยงาน จำนวนถึง 6 กลุ่มด้วยกัน มีการดูแลด้านสังคมและจิตใจที่ดูครอบคลุมดีมาก และที่น่าสนใจคือระบบการนัดผู้ป่วยที่นัดมาพร้อมกัน ครั้งละ 75 คน  ซึ่งผู้ฟังทึ่งมาก ว่า ทำได้อย่างไร ใน 1 วันที่ให้ บริการ และยังมีคุณหมอพรรณราย เพิ่งจบบอร์ดใหม่ ตั้งใจมาประชุมครั้งนี้โดยเฉพาะเลย

 

ลำปาง คุณหมอ กุลธิดา นำเสนอ เธอมีแนวทางการดูแลที่ชัดเจน เป็น flow chart ที่เป็นตัวยืนยันการบริการที่เป็นมาตรฐาน แก่เด็ก ว่าจะไม่เกิดงง สับสน และช่วยให้การทำงานเป็นมาตรฐาน ไม่ซ้ำซ้อน ซ้ำซาก ที่น่าดีใจแทนเด็กๆ คือทีมดูแลเด็ก เป็นทีมเดียวกับของทีมให้คำปรึกษาผู้ใหญ่ ซึ่งน่าดีใจ ตรงที่ในอนาคตเด็กๆที่ลำปางเมื่อโตขึ้น การย้ายจากคลินิกเด็ก ไปผู้ใหญ่จะไม่ประสบปัญหามาก

 

ระยอง ที่ รพชุมชน ของระยอง สองแห่ง กุมารแพทย์ ที่ประจำอยู่ เปิดคลินิกดูแลเด็กเองอยู่แล้ว และยังมี อาจารย์ จุรีรัตน์ กูรู ด้านเอดส์ จากชลบุรีท่านให้ ความช่วยเหลือด้านวิชาการ อยู่

 

ศรีนครินทร์ อาจารย์ ภพ ซึ่งพาทีมอันแข็งแรงของเธอมาด้วย ที่ใครๆก็ อิจฉา ทั้งเภสัช พยาบาล และนักสังคมสงเคราะห์

รพ ศรีนครินทร์ นั้นเปรียบเสมือน บ้านพี่เมืองน้องกับเชียงราย เรียนรู้ แลกเปลี่ยนและแบ่งปันกันมาตลอด ข้อมูลเจ๋งที่อาจารย์นำเสนอมีมากมาย หลายข้อ  คนไข้  เสียชีวิตน้อยมาก  มีการทำ pre และ post conference ในวันจันทร์ก่อนวันบริการในวันอังคาร มีการนำเสนอสถิติ ตัวชี้วัดที่น่าสนใจมาก คือ ความแตกต่างของ ความร่วมใจในการกินยาของเด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ปี และอายุมากกว่า 10 ปี และ การเข้าไปจัดการช่วยเหลือเด็กของทีม ทำให้adherence การกินยาของเด็กดีขึ้นอย่างชัดเจน

 

ขอนแก่น เป็นอีกทีมในจังหวัดเดียวกัน มีการดูแลผู้ป่วย  64 คนก็จริง แต่จะมีรพ ศรีนครินทร์ ของมหาวิทยาลัย เป็นพี่เลี้ยง มีเภสัชกรเป็นตัวเชื่อมสหสาขาทั้งหมด

 

 

น้องกิ๊ก (ชื่นกมล) ได้พิธีกรคนใหม่ น้องเอ๋ กิตติ มาช่วย ในการดำเนินการจัดลำดับรายการตามเวลา ทำให้การประชุมคราวนี้ เป็นไปอย่างกระชับ รวดเร็ว ได้สาระ และมีประสิทธิภาพด้วยบรรยากาศ สบายๆ

 

คุณธนันดา ให้ ข้อสังเกตว่า การจัดการประชุมครั้งนี้ เป็นระบบมากขึ้น แผนงานชัดเจนมากขึ้น ทั้งหกจังหวัดล่าได้เป็นฉากๆ เห็นทะลุเป็น output outcome และสิ่งท้าทายและปัญหาที่จะพบ ด้วย

 

อ กุ๊ก รังสิมา เสริมว่า คราวนี้ โดรงการเลือกถูกจังหวัด เพราะไม่ค่อยมีใครปฏิเสธอ้ำอึ้ง หรือ ทำท่าไม่อยากทำ อาจเป็นเพราะมีประสบการณ์  เห็นว่าเป็นสิ่งที่น่าทำ และรู้จักโครงการแล้ว คิดว่าเป็นโอกาส ขยายงาน ไม่ได้คิดว่าเป็นภาระ

 

ดิฉันอยากจะเรียนทุกท่านว่าจากประสบการณ์ ที่เชียงรายทำ ปรากฏว่า เมื่อส่งแล้วเด็กไม่อยากกลับมา ทุกคนจะรับยาต่อที่รพชุมชน น่าทึ่งว่าโรงพยาบาลชุมชน 16 โรง ที่ตอนแรกๆ ไม่อยากรับ ตอนนี้ ไม่ยอมคืน  ทุกโรงทำได้ ดูแลได้ และทำได้ดีเสียด้วย แถมยังมาขอรับผู้ป่วยที่ดูแลยากๆ เด็กทารก เด็กที่กินยาสูตรพิเศษ เพิ่มไปอีก  มีบริการพิเศษ ที่ รพ เชียงรายฯ ทำไม่ได้ เช่น มี 2 โรงที่บริการในวันหยุดราชการ เพื่อให้เด็ก ไม่ขาดเรียน  มี 2  โรงที่เภสัชกรบริการจัดยา UNIT dose ให้เด็กทุกคน เพื่อให้เด็กกินยาถูกต้อง

 

การดูแลด้าน จิต สังคมดีกว่าที่เชียงราย เราทำอีกด้วย ไปแก้ปัญหาที่ โรงเรียนให้ ไปทำกลุ่มในหมู่บ้าน ตอนนี้ มี การจัดทำค่ายเด็กวัยรุ่นในโซนตัวเองอีก และมีหลายแห่งที่ได้รับเงินสนับสนุนจากพื้นที่ ชุมชน เช่นจาก อบต อบจ

 

เราจบด้วยการ AAR  ได้ความรู้สึกดีๆ จากที่ประชุม ตัวดิฉันรู้สึกอิ่ม และอบอุ่นอยู่ตลอดการประชุม นึกถึงที่ท่านพระอาจารย์ ไพศาล วิสาโล ท่านกล่าวว่า จิตเรามี 3 ระดับ อัตตามุ่งทำเพื่อความอยู่รอด  มโนธรรมซึ่งต้องการความสุขเมื่อได้ทำเพื่อผู้อื่นด้วย และโพธิจิต ซึ่งไร้อัตตา เข้าถึงความจริง ซึ่งท่านบอกว่าในเวลาปกติ อัตตา และมโนธรรมจะแย่งกันปรากฏตัว สลับกันแสดงตัวตลอดเวลา

 

แต่ในการประชุมครั้งนี้ ดิฉันเห็นแต่มโนธรรมปรากฏ เห็นคนทำงานที่เห็นคุณค่าของงานตนเอง ความเสียสละมากมาย แม้จะเจอ อุปสรรคก็จะทำ เพื่อเห็นประโยชน์ ส่วนรวม คิดเองว่าบางช่วงของการประชุม เป็นระดับโพธิจิตที่ไร้อัตตา เข้าถึงความจริงด้วย

 

เด็ก ติดเชื้อ เอชไอวีที่ได้ยาต้านไวรัส เป็นเพียง 3.3% ของผู้ป่วย ที่ได้ยาทั้งหมด แต่เป็นประชากรกลุ่มพิเศษ ซึ่งถ้าไม่ตั้งใจ ไม่พยายาม ไม่เสียสละและอดทนเราจะช่วยเด็กกลุ่มนี้ไม่ได้ และสิ่งดีๆที่สำคัญมากที่พวกเราคาดว่าเกิดจะตามมาหลังการทำงานนี้สำเร็จคือ

 

การให้ยาต้านไวรัสในเด็กที่สำเร็จได้ดี จะเป็นตัวอย่างผลงานโชว์ ที่ทำให้ผู้คนทั้งหลายไม่ว่า ผู้ป่วยเอชไอวีทุกคน ญาติผู้ดูแล ผู้ให้การรักษาผู้ป่วย เกิดความเชื่อมั่นในการรักษา  ว่า ขนาด รักษาเด็กยากสุด เรายังทำสำเร็จกันได้ เราก็จะฮึกเหิมว่า ผู้ใหญ่แม้นจะยาก และมีจำนวนมากก็ต้องสำเร็จได้

 

ซึ่งจะทำให้ผลรวม ของการรักษาผู้ป่วยเอชไอวีของทั้งประเทศมีประสิทธิภาพในระยะยาวได้

 

 ฝั่งซ้ายเป็นทีม ขอนแก่น พะเยา ชัยภูมิ และบุรีรัมย์ 

 

 ฝั่งขวา เป็น ทีม ระยอง ลำปาง และเชียงราย

 

 

 มุมสุดด้านซ้ายเป็นทีมศรีนครินทร์

 

ด้านหน้าเป็นทีมจาก สำนักโรคเอดส์  และ ศูนย์ ความร่วมมือไทยสหรัฐ 

 

กลางวัน ผู้จัดการประชุมและเจ้าภาพทั้งหมด เปลี่ยนบทบาทมาเสริฟอาหารอย่างสนุกสนานและกันเอง 

 

 ด้านหน้าซ้าย เป็นทีมบุรีรัมย์ และชัยภูมิ

 

 อ กุ๊ก รังสิมา มาช่วย เมนท์

 

หมายเลขบันทึก: 196962เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2008 17:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
  • ดีจังเลยครับ
  • ทีมงานแข็งขันมากครับคุณหมอ
  • ดีใจที่จะมีทีมที่นี่ด้วย
  •  กาญจนบุรี
  • พอจะทราบไหมครับ
  • ว่าโรงพยาบาลอะไร
  • ขอบคุณมากครับ

เข้ามาชื่นชม

ถ้ามีโครงการมาถึงจ.นครสวรรค์ อย่าลืม บอกด้วยนะค่ะ ยินดีมากค่ะ

โรงพยาบาล พหลพลพยุหเสนาค่ะ

นำโดยคุณหมอ อ้อย และน้องน้ำแข็ง เภสัชกร

ขอบคุณ อ ขจิตมากค่ะ รวดเร็วดังกามนิต หนุ่มดังเดิม

น้อง Sarah ที่น่ารัก

ขอบคุณนะคะ ที่มาเมนท์

ทีม นครสวรรค์ มาแล้วค่ะ นำทีมโดย อ นพ วิชัย เจ้าแห่งการพัฒนาคุณภาพ ของ รพ นครสวรรค์

  • กำลังจะได้ไปโรงพยาบาลนี้ครับ
  • โรงพยาบาล พหลพลพยุหเสนา
  • ไม่ทราบว่าจะได้พบหมออ้อยไหม
  • น้องน้ำแข็งด้วยใช่ไหมครับ

อาจารย์รวิวรรณคะ ขอบคุณเป็นอย่างมากค่ะที่กรุณาเป็นทั้ง Instructor, Conductor, และ Commentator ในการประชุมวันนั้น และชื่นชมอาจารย์ที่เป็น role model ในการทำงานให้กับกิ๊กค่ะ

ปล.ขออนุญาตแก้ไขข้อมูลส่วนตัวค่ะ

1.กิ๊ก (ชื่นกมล)ค่ะ

2.ไม่ได้เป็นเภสัชกรค่ะ

ดีใจมากเลยค่ะ ที่มีเครือข่ายมากขึ้น (รพ.หาดใหญ่)

แก้ไขแล้วนะคะ ขออภัยน้องกิ๊กด้วย สำหรับความผิดพลาด ครั้งที่สอง

ขอบคุณ น้องอุษา สมาชิกโครงการ จาก หาดใหญ่มากค่ะ

ขอเมนต์ด้วยคนค่ะ

ยืนยันว่าประชุมวันนั้นเป็นประชุมที่ดีที่สุดในรอบปีจริงๆ กลับบ้านด้วยความอิ่มใจเหมือนที่อ.รวิวรรณ เล่าไว้จริง ๆ ค่ะ

ไม่นึกว่าเครือข่ายเด็กสามารถนี้จะโตเร็วขนาดนี้ เด็กคนนี้ไม่ธรรมดาจริงๆ

รู้สึกยินดีและดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมเมื่อ 23 ที่ผ่านมา จากที่นั่งฟังการนำเสนอ (ฟังบ้าง ไม่ได้ฟังบ้าง) ก็พอจับประเด็นได้นิดหน่อย แต่เท่าที่รู้สึกได้ว่าทุกคนมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะทำงานเพื่อเด็กๆ ซึ่งเป็นอนาคตของประเทศ ถึงแม้พวกเค้าจะเป็นเด็กที่ได้รับโอกาสน้อยก็ตาม แต่พวกเราก็ยังตั้งใจที่จะดูแลเค้า ขอบคุณแทนเด็กๆเหล่านั้นด้วยนะคับ

  • สวัสดีค่ะคุณหมอ
  • อ่านทั้งบันทึกและคอมเมนท์แล้วตื้นตันใจจริงๆ ค่ะ
    น่ายินดีที่เครือข่ายเพิ่งตั้งแต่แข็งแรงได้ขนาดนี้
    เป็นโชคดีของเด็กผู้ได้รับความเมตตาจากทีมงานค่ะ
  • ขอบคุณคุณหมอรวมทั้งทีมงานทุกท่านแทนเด็กๆ นะคะ เป็นกำลังใจในการทำงานให้ค่ะ


เรย์

ขอบคุณ

 คุณบิ๋นห์ ธนันดา เธอเป็นพี่เลี้ยงที่แสนดี ให้โครงการ คอยจูงไปในทางที่ถูก ช่วยแก้ไขเมื่อเกิดปัญหา ถนอมกล่อมเกลี้ยง เลี้ยงจากทารก โตขึ้นเป็นเด็กสามารถ น่าชื่นใจ

ขอบคุณ

น้องเอ้ กิตติ ผู้เป็น Moderator ทำให้ การประชุมลุล่วง แรกๆ คนในห้องก็ ไม่รู้จัก งง ว่า หนุ่ม คล่องแคล่ว และ หลักแหลม คนนี้ เป็นใคร พอ ทราบกัน เราก็ดีใจว่า มีกำลังสำคัญ เพิ่ม ในทีมของสำนักโรคเอดส์ อีก 1 คน

ขอบคุณ

น้องเรย์ มีมุทิตาจิต แก่ เด็กๆ ได้กำลังใจให้ทีม อีก เพียบ

ขอบพระคุณ อาจารย์ อัจฉราเป็นอย่างสูงเจ้าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท