วิจัยและพัฒนา(2)


ขั้นตอนที่ 1

กระบวนการวิจัยและพัฒนนา(R&D)

โดยทั่วไปกระบวนการทำวิจัยและพัฒนาจะเขียนเป็นรายงานมี 4 ขั้นตอน ดังได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะเป็นการทำวิจัยแล้วพัฒนาต่อเนื่องกัน พอจะสรุปดังนี้

  • ขั้นที่ 1 (R1) = วิจัยเชิงสำรวจ         เพื่อต้องการทราบปัญหา หรือความต้องการ
  • ขั้นที่ 2 (D1) = พัฒนานวัตกรรม      เพื่อนำไปแก้ปัญหา
  • ขั้นที่ 3 (R2) = วิจัยเชิงทดลอง       เพื่อทดลองใช้นวัตกรรม
  •           (D2) = ปรับปรุง/พัฒนา 
  • ขั้นที่ 4 (R3) = วิจัยเชิงประเมิน       เพื่อประเมินนวัตกรรม
  •           (D3) = ปรับปรุง/เผยแพร่

ต่อไปนี้จะขอขยายความถึงกระบวนการในแต่ละขั้น เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนรายงานการวิจัย

ขั้นที่ 1 เป็นขั้นที่ต้องทำการสำรวจ/สังเคระห์/วิเคราะห์ ปัญหา,ความต้องการ หรือความจำเป็น

วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ เพื่อศึกษา/สำรวจ/วิเคราะห์ สภาพปัญหาเกี่ยวกับ..............

ในขั้นตอนนี้ทำได้อ 2 วิธี คือ

  1. ในกรณีที่ยังไม่มีสิ่งใดยืนยันความเป็นปัญหา จำเป็นต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่ โดยการสำรวจสภาพปัญหาต่าง (วิจัยเชิงสำรวจ)  จากการใช้แบบสอบถาม การสัภาษณ์ แล้วแต่ความเหมาะสมของข้อมูลและแหล่งข้อมูลที่เราต้องการจะเก็บ
  2. ในกรณีที่มีข้อมูลอยู่แล้ว เช่น เอกสารบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เอกสารบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่พอจะยืนยันความเป็นปัญหาได้ ก็ไม่ต้องเก็บข้อมูลใหม่ แต่จะนำข้อมูชลที่มีอยู่นั้นม่ทำการวิเคราะห์/สังเคราะห์  เพื่อหาจุดที่เป็นปัญหาอย่างแท้จริง

หรือเพื่อต้องการการยืนยันที่ชัดเจนมากขึ้นอาจทำทั้ง 2 วิธี ก็ได้ เพียงแต่การทำขั้นที่ 1 นี้ ต้องได้มาซึ่งปัญหา หรือความต้องการที่จำเป็น และสำคัญเร่งด่วนจริงๆ ที่จะนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมในการแก้ปัญหา

แหล่งข้อมูล  จากวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจะแบ่งแหล่งข้อมูลออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1.  แหล่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร เช่น เอกสารบันทึกข้อมูลต่าง ๆ  แบบบันทึกคะแนนต่าง ๆ(ปพ.5 ปพ.6 ฯลฯ) แบบฝึกหัด รายงานการประเมินทั้งภายใน และภายนอก เป็นต้น
  2. แหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคล เช่น ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครอง ชุมชน ที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลที่จะสามารถให้ข้อมูลเราได้

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

  1. ในกรณีที่นำข้อมูลจากเอกสารมาวิเคราะห์ /สังเคราะห์ อาจสร้างแบบบันทึก ตารางวิเคราะห์ปัญหาเพื่อนำข้อมูลที่มีอยู่มาวิเคราะห์ปัญหาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  2. ในกรณีที่ต้องเก็บข้อมูลโดยเก็บจากแหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคล ก็มักจะเป็น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ เทคนิคการประชุมกลุ่ย่อย  หรือเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับแหล่งข้อมูล และข้อมูลที่ต้องการ

การวิเคราะห์ข้อมูล

  1. ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์/สังเคระห์จากเอกสาร จากการสัมภาษณ์ อาจใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ หรือการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา แล้วลักษณะของข้อมูล
  2. ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

คราวหน้าจะมาคุยขั้นตอนต่อไปให้ฟังใหม่นะคะ ถ้าท่านใดมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม หรือมีอะไรที่ต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ก็ยินดีคะ

หมายเลขบันทึก: 196857เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2008 06:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท