18 March 2006 (วิเคราะห์ ZPC)


วันนี้เริ่มวิเคราะห์ ZPC (Zero Point of Charge) ด้วยวิธี STPT เวลาแปดโมงเช้า โดยการวัดค่า pH ของตัวอย่างสารละลายดิน (กำหนดเป็น pH1)

แล้วเขย่าแบบ reciprocal สาม ชั่วโมง หลังจากที่เติม 2M Nacl ปริมาณ 500 ไมโครลิตร

แล้วนำมาวัดค่า pH อีกครั้ง โดยกำหนดให้เป็นค่า pH2

ตัวอย่างดินจำนวน 10 ตัวอย่าง (70 ขวดตัวอย่าง เนื่องจากดินหนึ่งตัวอย่างตั้งค่าความเข้มข้นของ 0.1M HCl ไว้ 7 ระดับ) จะใช้เวลาการวัดค่า pH ประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที

สังเกตเห็นว่า หลังจากเพิ่มเกลือโซเดียมคลอไรด์แล้ว สารละลายดินที่มีค่า pH1 ในระดับสูงจะวัดค่า pH2 ได้ค่าต่ำลง อันนี้อาจจะเป็นเพราะ ประจุของโซเดียมไอออน ไปแทนที่ ประจุของไอออนที่แสดงฤทธิ์เป็นกรด (เช่น Fe, H,  Al) บนพื้นผิวอนนุภาคดินเหนียว ทำให้ไอออนบวกเหล่านั้นเป็นอิสระละลายอยู่ในสารละลายดิน  แต่ทั้งนี้ยังต้องต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อมายืนยันถึงไกไกลการแลกเปลี่ยนประจุที่เกิดขึ้น

ขั้นตอนต่อไป คือ นำค่า pH1 และ pH2 ที่ได้ นำมาพลอตกราฟ โดยเลือก model ของกราฟให้เหมาะสม แล้วหาจุดตัดกันของเส้นกราฟทั้งสอง ซึ่งเป็นค่า ZPC ของตัวอย่างดิน ซึ่งนำไปหา σp (ค่า permanent charge ณ ตำแหน่ง ZPC) ในขั้นตอนต่อไป 

ข้อมูลเพิ่มเติม: ปริมาณของ coating ของ Fe และ Al hydroxide จะมีผลต่อค่า ZPC  ในดิน ในทิศทางเดียวกัน

หมายเลขบันทึก: 19681เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2006 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

PZSE = f (-O.M, - permanent negative charge, )

Zigme p = f(permanent negative charge) --> high amounts of bases

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท