บทคัดย่องานวิจัยภาษาไทย


  

 

บทคัดย่อ

 

ชื่องานวิจัย              :  ผลการใช้เทคนิคแบบร่วมมือในการเรียนวรรณคดีไทย

                                  ตามกรอบแนวคิดผู้เรียนสร้างความรู้เอง   ของนักเรียน

                                  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15             

ชื่อผู้วิจัย                 :  นางนงคราญ   ติกุล

ปีที่ทำการวิจัย          :  2550

 

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เทคนิคแบบร่วมมือในการเรียนวรรณคดีไทยตามกรอบแนวคิดผู้เรียนสร้างความรู้เอง  เพื่อศึกษาผลการใช้เทคนิคแบบร่วมมือในการเรียนวรรณคดีไทยตามกรอบแนวคิดผู้เรียนสร้างความรู้เอง และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนเทคนิคแบบร่วมมือในการเรียนวรรณคดีไทยตามกรอบแนวคิดผู้เรียนสร้างความรู้เอง ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1/2   โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงรายเขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคแบบร่วมมือในการเรียนวรรณคดีไทย  ตามกรอบแนวคิด ผู้เรียนสร้างความรู้เอง  จำนวน  5  แผน   แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทย แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ  4  ตัวเลือก และ  แบบประเมินคุณภาพการจดบันทึกของผู้เรียนตามเกณฑ์รูบริคส์ (Rubrics)  ข้อมูลทั้งหมดที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย    ค่าร้อยละ  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                ผลการวิจัยพบว่าแผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้เทคนิคกลุ่มร่วมมือในการเรียนวรรณคดีไทย  ตามกรอบแนวคิดผู้เรียนสร้างความรู้เองมีประสิทธิภาพเฉลี่ยเท่ากับ  85.18/84.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 80.52 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 กำหนดไว้ร้อยละ 70  ผลงานของผู้เรียนขณะทำการสอน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ  7.56   ของคะแนนเต็ม   10    คะแนน    ค่าเฉลี่ยของคะแนนจากการประเมินคุณภาพการจดบันทึกของผู้เรียนตามเกณฑ์      รูบริคส์ (Rubrics)   ขณะทำการสอน จำนวน 11  ครั้ง มีแนวโน้มสูงขึ้นความคิดเห็นของนักเรียนต่อการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคกลุ่มร่วมมือในการเรียนวรรณคดีไทย  ตามกรอบแนวคิดผู้เรียนสร้างความรู้เองอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.54 ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เทคนิคแบบร่วมมือโดยภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก ค่าเฉลี่ย = 4.50  จึงกล่าวได้ว่า  การใช้รูปแบบการสอนเทคนิคกลุ่มร่วมมือในการเรียนวรรณคดีไทย  ตามกรอบแนวคิด ผู้เรียนสร้างความรู้เองทำให้นักเรียนมีพัฒนาการของการสร้างองค์ความรู้ในการเรียนวรรณคดีไทยสูงขึ้น                    

 

หมายเลขบันทึก: 196398เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2008 09:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

น่าจะเป็นนวตกรรมที่ดี มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน สมควรที่จะเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับครูผู้สอน

ขอบคุณมากที่นำมาเผยแพร่ จะขอบพระคุณมากค่ะถ้าจะนำผลงานบางส่วนมานำเสนอบน Blog

ขอให้ประสบผลสำเร็จในการทำงานครั้งนี้นะคะ

ขอบคุณสำหรับการแผยแพร่ ถ้ามีสิ่งที่ดีให้นำมาทำอีกนะคะ

ส่งกำลังใจในความสำเร็จที่รออยู่

มีสาระมากเลยคะ หนู่ชอบมาก

ขอบคุณค่ะที่เผยแพร่งานวิจัยดีๆ สู่สาธารณชน

ดีใจที่เผยแพร่ผลงานให้ได้อ่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท