บันทึก...เรื่องของจิต


จิตใจ มนุษย์นั้น...ยากแท้หยั่งถึง

พฤติกรรมคนเรา บางทีมันก็แปลกประหลาด จนน่าตกใจ ถึงแม้เราจะเข้าใจว่า”ต่างคนต่างจิตต่างใจ” ไม่มีใครคิดหรือทำอะไรเหมือนกับเราไปซะทุกอย่าง แต่บางครั้งเราก็พบพฤติกรรมที่อธิบายได้ยาก และยากที่จะทำความเข้าใจ ว่าอะไรอยู่ในความคิด อยู่ในความเชื่อ และอยู่ในทัศนคติของเขา 

...คนบางคนก็ใช้เงินเพื่อคลายเครียด และเลือกที่จะสร้างเหตุการณ์ที่วุ่นวายให้กับตัวเอง แล้วก็บ่นว่า”ทำไมมันแป็นแบบนี้”

...บางคนก็ทำอะไรแปลกๆแบบควบคุมไม่ได้ แต่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา และ

...บางคนก็กระแทกอารมณ์ใส่กันเพียงเพื่ออยากเอาชนะ จนทำให้อุณหภูมิสูงเพียงพอจนเกิดเป็นไฟ เผาผลาญคนรอบข้างวอดวาย

          นึกถึงคำพูดอาจารย์นุ่น ที่บอกว่าคนสมัยนี้ใช้แรงงานอารมณ์ (Emotional Labor) กันมาก-เปลือง จนเหนื่อยที่ใจ ทั้งๆที่ร่างกายก็สุขสบายดี

          ใจที่มันเหนื่อยมากๆ บ่อยๆ ก็ต้องอ่อนล้า อ่อนแอ เกิดป่วยกระเสาะกระแสะไปตามๆ กัน ...อะไรล่ะ? ที่จะเยียวยาจิตใจให้กลับมาเข้มแข็งได้เล่า อะไร????

          ความสุขคืออาหารของใจ ทุกคนแสวงหาความสุขซึ่งมี 2 แบบ คือ

...สุขแท้ และสุขเทียม... ในปัจจุบันนี้ก็มีสุขมากมาย ทั้งแท้ และเทียมปะปนกันไป แน่นอนสุขแท้นั้นสร้างความสุขที่แท้จริงให้ ทำให้เราอิ่มเอิบ เกิดปีติ แต่สุขเทียมนั้นฉาบฉวย และนำมาซึ่งความวุ่นวายสับสน ซึ่งก็ไม่มีใครสนใจจริงจังนักว่าแบบไหนสุขแท้ สุขเทียม เพียงแค่ขอให้มันเป็น”ความสุข” ก็แล้วกัน

      แล้วก็นึกถึงคำของท่านพุทธทาส เมื่อตอนไปที่สวนโมกฯ ซึ่งจับใจฉันว่า เราต้องการแบบไหน ... สุกไหม้ หรือสุขเย็น... มันก็มี 2 แบบ เหมือนกัน แต่คำของท่านพุทธทาสเจ๋งกว่า ได้อารมณ์ระแทกใจมากกว่า เรียกสติได้ดีกว่านักเชียว

คงไม่มีใครนิยามได้ชัดเจน จนกว่าเราจะเจอมันด้วยตนเอง ว่าความสุขเย็น...คืออะไร???

หมายเลขบันทึก: 196313เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2008 18:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

                   

  • ถ้าเราปลูกต้นรักในใจเรา ให้เขียวขจีเหมือนต้นข้าว โดยไม่ต้องเอาไปเฝ้าผูกพันกับคนอื่น  ...นอกใจ...  ได้ก็ดีสิเนาะ
  • แปลงนาที่วางกรอบไว้ คงไม่มีขยะที่มีแต่สนิมเขรอะเกรอะกรังมาเกาะได้เลย
  • แต่กว่าจะ ... ใจดำ... ได้ขนาดนี้ สนิมต้องใช้เวลาอ็อกซิไดซ์หลายปีเลยนะน้อง

 

เฉยเฉยสอนใจ

อ่านเฉยๆ ดูเฉยๆ รับรู้เฉยๆ สัมผัสเฉยๆ หิวเฉยๆ หอมเฉยๆ เหม็นเฉยๆ

สุขหรือทุกข์ก็เฉยๆ โกรธก็เฉยๆ แค้นก็เฉยๆ อิจฉาก็เฉยๆ เรียนก็เรียนเฉยๆ

เที่ยวก็เที่ยวเฉยๆ ทำงานก็ทำงานแบบเฉยเฉยๆอะไรอะไร เราก็เฉยๆ แต่ไม่เฉื่อยนะ

รับรู้สรรพสิ่งรอบตัวก็รับรู้มันแบบเฉยๆ หยุดอยู่แค่เฉยๆ ผู้หญิงคนดีสวยก็สวยแบบเฉยๆ

มันก็มีความสุขแบบเฉยๆแล้วชีวิตมันก็เท่านี้ครับภาษาลาวว่า(เบิ่งเฉยๆ)หยุดอยู่แค่เฉยๆ

แล้วก็เฉยๆ เฉยๆอย่างเดียวชนะทุกอย่าง มันเป็นคำกลางๆที่ทำที่คิดแล้วใจสบายดีเฉยๆ

เราจะทำอะไรอะไร ก็ทำแบบเฉยๆเถิดนะ แล้วจะสุขใจแบบเฉยๆ ชนะใจชนะทุกสิ่งครับ

ฝากตรงนี้นิดครับสำคัญมากครับ

...ผิดศลีเฉยๆไม่ได้ได้นะครับ เพราะเฉยๆตรงนี้ใจทุกข์จริงไม่ทุกข์เฉยๆนะครับ

เพราะมันจะทำให้จิตเราไม่เฉยๆจริงครับ ต้องเฉยๆในสิ่งที่ที่ดีที่งามจึงจะได้ผลถึงจิตครับ

ฝากเอาไว้ด้วยนะครับ

โอระยองเขียน

เรื่องของจิต...

จิตแบ่งออกเป็น2จิด ป.ล.ตรงนี้พูดถึงจิตมนุษย์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้นะครับ หากว่าจิตพระอรหันต์นั้น มี1เดียวไม่มี2 ก็คือจิตหลุดพ้นนั่นเอง

1 จิตแท้ตั้งแต่ดั้งเดิมเกิดกายคือ จิตภายใน มีความใสสะอาดหมดจดมาแต่เดิมแล้ว แต่ถูกครอบงำด้วยจิตเทียม อันประกอบด้วยกิเลศทั้งมวลซึ่งมีอยู่ในร่างกายนี้

จิตนี้ประกอบด้วย จิต(สมาธิ) สติ(ความคิดเริ่ม)ปัญญา(อารมณ์ของความคิด)(จิตนี้เรียกว่าจิตละเอียด) หรือจิตพระอรหันต์

2 จิตเทียมจิตภายนอกที่ปกคลุม จิตแท้อีกทีหนึง คือจิตที่ ร่างกาย หรือสมองนี้ สร้างขึ้นมา เพื่อครอบงำจิตแท้ ที่อยู่ภายใน ไม่ให้ประท้วงออกมา

ประกอบด้วย จิต(สมาธิ) สติ(ความคิดเริ่ม) ปัญญา(อารมณ์ของความคิด)(จิตนี้เรียกว่าจิตหยาบ) หรือจิตมนุษย์ ซึ่งส่วนนี้จะฝังตัวอยู่ในมันสมองของเรา และพัฒนามาเรื่อยๆตั้งแต่เกิด

...ดังนั้น เวลาเราเข้าสมาธิ จงสังเกตุ ว่าตอนนี้ ขณะที่เราเข้าสมาธินั้น เราอยู่ในอารมณ์ ของจิตไหน ละเอียดหรือหยาบ เราสามารถรู้ได้ทันทีว่าอารมณ์นั้นอยู่ในจิตไหน

แท้หรือเทียม...

...โดย...ใช้วิธีของผมนะครับ การจะเข้าสมาธิ ขึ้นสู่ฌาณและตามด้วยญาณ ไม่ยากเลยไม่ถึง10วินาทีสงบเลย ถ้าเราสามารถแยกหรือดูจิตตรงนี้ออกว่าอยู่ในอารมณ์ไหนผมลองมาแล้วได้ผล

เข้าสมาธิ เกิดปัญญา มีความคิดดีดีได้เร็วมากครับ จะให้นิ่งสงบก็นิ่งสงบ จะใช้ปัญญาก็ไหลลื่น ไม่ตกลงทางต่ำ หากหลงไปทางต่ำก็ลืมตากำหนดใหม่อย่างเดิมอีกครั้งก็เข้าที่แป๊บเดียว

...วิธีการก็คือ...

...เราหาที่นั่งให้พอเหมาะพอดีนั่งตัวตรงช่วงขณะที่เราเอามือมาประสานกันนั้นให้หายใจเข้าจนเต็มปอดพร้อมกับรวบรวมกำลังจิตแห่งสมาธิ(ด้วยความตั้งมั่นและตั้งใจอย่างที่สุด)

มาไว้ที่บนฝ่ามือดันพลังจิตบนฝ่ามือให้ความรู้สึกว่าได้ดันจิตแห่งสมาธิขึ้นมาเรื่อยๆจนถึงตรงกลางกระหม่อม(กลางศรีษะ)เหมือนเราชักธงสู่ยอดเสายังไงยังงั้นเลยแล้วให้จิตนั้นนิ่งอยู่ตรงกลางกระหม่อมสักครู่

ตอนนี้ก็หายใจเรื่อยๆปกติอย่าเร่งนะครับให้รู้สึกว่าจิตแห่งสมาธิเรานั้นอยู่ตรงกลางกระหม่อม คลายความเครียดทั้งมวล ปล่อยให้จิตสงบ และปล่อยวางทุกสิ่งไป ไม่ยึดไม่คิดถึงใครทั้งนั้น

ถึงตรงนี้ท่านใดจะนิ่งนานแค่ไหน แล้วแต่ละคน ถึงตรงนี้ความคิดทั้งมวลหยุดหมดคล้ายๆตัวสติยืนจ้องมองจิตอยู่เฉยๆ ส่วนจะปล่อยนานหรือเร็วตอนนี้ก็อยู่ที่ตัวบุคคลตรงนี้จะได้สุขจากสมาธิและตัวสติหล่ะครับ ผมเปรียบเทียบตัวสติของจิตก็คือ

คือคิดหัวข้อของความคิดว่าจะคิดเรื่องอะไร พอสติได้หัวข้อของความคิดแล้ว พอเริ่มคิด ก็จะเกิดปัญญา ปัญญาที่นี้หมายถึง อารมณ์ของปัญญาก็ได้ แต่อารมณ์ที่เกิดจากปัญญานี้ออกมาจาก

จิตเดิมแท้ของเราที่ได้ตั้งมั่นเอาไว้แล้ว(สมาธิ) เรื่องต่างๆที่สติเริ่มคิดก็จะกลายเป็นปัญญาหรืออารมณ์ ของจิตแท้ ก็จะคิดประมวลอารมณ์ต่างๆ ไปในทางที่ดี ทางปิติ ไม่ลงในทางต่ำไม่ฟุ้งซ่าน

ถึงตรงนี้ เราจะได้ครบ สติ(ความคิดเริ่มต้นที่ดี) สมาธิ(จิตที่ตั้งมั่นดีแล้ว) ปัญญา(อารมณ์ของปัญญาที่ดี) เราก็ตั้งมั่นไว้ปล่อยให้สติ(ความคิด)กับปัญญา(อารมณ์)ทำงานไปในทางที่ดีตลอดเวลา ปิติ ปิติ ตอนนี้จงรู้เถิดว่าเราอยู่ในจิตแท้แล้ว

แทบจะไม่มีร่างกายนี้เลย นอกจากตอนเราใช้ปัญญาคืออารมณ์พิจารณาสังขารเท่านั้นจึงจะเห็นว่ามันปวดนะ มันชานะ มันทรมานนะ มันร้อนนะ คือสติจะมารับรู้ แต่สมาธิเราก็ต้องมั่นคงอยู่อย่างนั้นไว้ ถึงจะเจ็บปวดก็ตามทีเดี๋ยวพอเรากลับไปหาสมาธิ

มันก็หายไม่รู้สึกสับเปลี่ยนไปมาอย่างนี้กับตัวสติที่ดี

บางครั้งเราก็ปล่อยวาง ให้เหลือแต่สมาธิตรงกลางกระหม่อม อย่างเดียว แช่อิ่มไว้ ตรงนี้เป็นสุขครับแต่อย่าไปยึดติดมากครับ ซักพักเราก็มาใช้ สติ ปัญญา อีก พิจารณา สังขาร หรืออะไรก็ได้ ไปทางที่ดีมีประโยชน์

ตรงนี้แปลกมากปัญญาตัวนี้มันไปของมันเอง เราไม่ได้บังคับให้คิดแต่มันไปของมันเองครับ ถึงตอนนี้ร่างกายแทบไม่รู้ว่ายังมีร่างกายนี้เลยครับ เหมือนมันหายไปเลย ไม่เจ็บไม่ปวดแต่พอคลายสมาธิขาชาเลยลุกไม่ขึ้น

...ตรงกันข้าม หากเราทำตามขั้นตอนแล้ว สติกับจิตของเรา ฟุ้งซ่าน คิดไปในทางที่เลว ทางต่ำ คิดถึงคนนั้นคนนี้ ไม่นิ่ง ปวดเนื้อปวดตัว ตัวจะหนักๆ

ตรงนี้เราจะรู้ได้ว่า สมาธิเราไม่ตั้งมั่น ไม่ได้อยู่ตรงกลางกระหม่อมแล้ว มันกระจัดกระจาย ไปทั่วตอนนี้เราจงรู้เถิดว่าเรากำลังเข้าไปใช้ สติหรือความคิดเริ่มต้น ของจิตมนุษย์ที่หยาบที่อยู่ในสมองในร่างกาย

เมื่อเราเข้าไปใช้สติหยาบที่อยู่ในสมองแล้ว สติหยาบย่อมสั่งงานไปที่ จิตหยาบ จิตหยาบนั้นฝังเต็มไปด้วย กิเลศ แม้จิตแท้จะเข้าไปช่วยดึงเท่าไรก็ไม่อาจฝืนสู้จิตหยาบได้เราจะคิดแต่สิ่งที่ไม่ดีไปตลอด

โดยมีความคิดดีๆเข้ามาต่อสู้ขัดแย้งบ้างแต่ก็พ่ายแพ้ไปเพราะสมาธิเราตกไม่อาจเข้าถึงจิตแท้ได้ ถึงตอนนี้เราจงตั้งหลักใหม่(เริ่มชาร์ตไฟใหม่)เราจงหายใจยาวเข้าไปในปอดจนเต็มที่พร้อมกันกับดันสมาธิอันแรงกล้าจากฝ่ามือเรา

ดันขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงกลางกระหม่อมแล้วให้สมาธิรวมเป็นหนึ่งอยู่ตรงนั้น รู้สึกว่าอยู่ตรงนั้น ปล่อยวางทุกอย่างสบายๆ ไม่คิด ไม่ฝัน ไม่อยากได้อะไรทั้งนั้น มีแต่ความตั้งมั่น ที่จะเอาชนะ กิเลศอย่างเดียวเท่านั้น

ตรงนี้เราจะตั้งมั่นอยู่กับสมาธิอย่างเดียวนานแค่ไหนแล้วแต่ละบุคคลที่จะกระทำตรงนี้จะได้สุขจากสมาธิ จะนานช้าอยู่ที่บุคคล สักครู่ก็ปล่อยให้สติ ตัวดี ที่เกิดจากจิตสมาธิตั้งมั่นทำงาน สติตัวดีก็จะคิดเป็นปัญญา

คือเกิดอารมณ์ที่ดีแห่งปัญญา พิจารณาสังขาร สิ่งต่างๆไปในทางที่ดีตลอดเวลาไม่ตกมาที่จิตหยาบแห่งเนื้อสมองที่มีแต่กิเลศ ตรงนี้ถ้าเราดำรงรักษาจิตนี้ได้ตลอด ไม่เผลอ เท่ากับเราได้เข้าถึงจิตแท้แล้ว

เมื่อไหร่ที่เราออกจากสมาธิ เราจะรู้สึกโล่งสบายมีความปิติ เพื่อนๆครับ สมาธิถ้าเราทำอย่างนี้ เราจะเข้าสมาธิได้รวดเร็วมากครับ นับ123บางทีนิ่งสงบเลย ลองดูนะครับ จริงๆความคิดผมมันละเอียดกว่านี้

แต่ไม่รู้จะหาคำใดมาอธิบายได้ดีกว่านี้ เพราะเรื่องนี้บางทีรู้แต่ไม่รู้จะบอกยังไงดี ได้แค่นี้นะครับ ขอให้ทุกท่าน ถึงฝั่งแห่ง นิพพานเถิด สาธุๆๆ...

...สรุป...

1สมาธิ(จิตตั้งมั่นมีกำลัง)เปรียบเสมือนพลังงานเชื้อเพลิงน้ำมัน เหมือนพลังงานที่อยู่ในแบตเตอรี่ มีมากเท่าใดสมาธิก็แน่นเท่านั้น ต้องเก็บให้รวมอยู่อย่างนั้นการจะมีสติที่ดีเยี่ยม ก็ต้องมาจากสมาธิที่เต็มเปี่ยมไปด้วยกำลัง

เหมือนถ่านไฟฉายหากพลังงานอ่อน(สมาธิ) ไฟ(สติ)ก็ไม่สว่าง ไฟไม่สว่างก็มองไม่เห็นทาง(ปัญญา)ก็คือไม่เห็นทางแห่งปัญญาไม่มีปัญญาหรือปัญญาน้อยไป แล้วจะเห็นอารมณ์แห่งนิพพานที่ต่อเนื่องมาจากปัญญาได้อย่างไร

2สติ(ความคิดเริ่มต้นที่ดี) เปรียบเสมือนเรดาร์รอบๆสมาธิ คอยดูแล พลังงาน รอบๆสมาธิ คอยปกปักรักษาสมาธิ คอยชี้นำทาง บางครั้งก็ดึงความรู้ของสมาธิก็คือจิตมาใช้ประโยชน์ สติเริ่มต้นคิดในทางดี

อะไรๆ ที่ตามมาก็ไปในทางดี ก็จะเกิดปัญญาดี อารมณ์ดี ส่งผลให้การเจาะเอาปัญญาจากจิตแท้ก็ง่ายขึ้นหรือได้เลยในทันที เป็นปัญญาละเอียดของจิตเดิมแท้ ส่งผลให้จิตแท้มีกำลังมหัศจรรย์ เหนือการควบคุมของจิตเทียมที่อยู่ในมันสมองและร่างกาย

3ปัญญา(อารมณ์ของความคิด(สติ)) ปัญญาตรงนี้ก็ได้จากจิตเดิมแท้ จากสมาธิที่เราตั้งมั่นจนกลายเป็นกำลังที่จะสามารถเจาะเข้าถึงจิตแท้อันละเอียดจนเกิดปัญญาอันบริสุทธิ์นั่นเอง

คนละอย่างจากปัญญาที่เกิดจากมันสมองการเรียนรู้ของมนุษย์ ตรงนี้เค้าเรียกปัญญาอย่างหยาบ

คงจะได้ความรู้ไม่มากก็น้อย ผมไม่ได้ที่จะอวดรู้หรือจะสอนใครครับ แต่ตรงนี้เกิดจากการเรียนรู้เลยอยากจะกล่าวให้ทุกท่านทราบหากจะมีประโยชน์บ้าง ก็จงส่งเป็นผลอันได้แก่ฝั่งพระนิพพานเถิด...

...โอ ระยอง ...

การทำงานของสติจิตอารมณ์...

...จิตนั้นเป็นตัวรับรู้สั่นไหวแล้วปั่นเป็นอารมณ์ อารมณ์มันก็กลับไปเกาะที่จิตให้สั่งงานมาทันทีตัวอย่างเช่นขณะเกิดอาการ

ของอารมณ์ปวดหลัง จิตมันรับรู้ว่าปวดหลังอารมณ์มันเกิดคือความปวดหลังจิตมันรับรู้ว่าปวดมันก็เกิดอารมณ์ปั่นป่วน

อารมณ์มันก็กลับไปบอกจิตว่าปวดหลังแล้วนะจิต จะแก้ไขปัญหานี้ยังไงดี ถ้าเราไม่มีตัวสติมากำกับอีกตัวหนึ่งก็คือความคิดเริ่มต้นแล้ว

ปล่อยตามอารมณ์ของจิต มันก็จะพากันผสมโรง ว่า เออ!ปวดจริงๆด้วยแหละ คราวนี้มันจะปวดแสนปวด

ไม่หยุด ใจจะไม่สงบ งุดงิด รำคาญ แต่ถ้าเรามีสติมาดักตัวอารมณ์ป่วนไว้ก่อนที่อารมณ์จะสั่งจิตโดยตรง สติก็จะขึ้นหัวข้อที่ดีให้ว่า

สาเหตุแห่งความปวดนั้นเพราะอะไรแล้วสติก็มาสั่งจิตกำกับลงไปที่จิตว่า ปวดหลังหนอ! ปวดหลังหนอ! พอตัวจิตมันเกิดรู้ตัวขึ้นมามันก็แยก

ความเจ็บปวดออกไปเพราะมีสติมาสั่งจิต จิตนั้นจะเชื่อสติ หาทางแก้ปัญหานี้ให้จิตอย่าให้จิตปั่นอารมณ์เอง จิตมันก็จะแยกความเจ็บปวดออกไป

กลายเป็นอารมณ์แห่งปัญญาที่ดีที่ไม่บ่นว่าปวดเพราะรู้เหตุแห่งความปวดนั้นมาจากอะไร อารมณ์แห่งปัญญานั้นกลายเป็นยารักษาทันที

อย่างน้อยความปวดนั้นก็จะทุเลาเบาบางลงไปได้ ตรงนี้พระพุทธเจ้าของเราก็เคยทรงทำไว้ตอนที่พระเทวทัต

กลิ้งหินลงจากภูเขาทำให้ทรงห้อพระโลหิตที่เท้า แต่พระองค์ทรงแยกความเจ็บปวดนั้นออกไปได้ ด้วยสตินั่นเอง

เราต้องมาดูแล สติ จิต อารมณ์ ให้เป็นกลางก็เท่านั้น อย่าให้อารมณ์เหนือจิต อย่าให้จิตเหนืออารมณ์ มีสติคอยดูแลรักษาให้เป็นนิสัย

...สรุป...

สติ เปรียบเสมือน เชือกที่ผูกมัดจิตและอารมณ์เอาไว้ด้วยกัน หากเมื่อใดจิตมันเกิดรับรู้เกิดสั่นไหว ก็จะเกิดอารมณ์ปั่นป่วนขึ้นมา

คือถ้าจิตรับรู้ก็จะเกิดอารมณ์ทันที เชือกที่ผูกจิตและอารมณ์ไว้ก็สั่นไปถึงสติ สติก็จะไปช่วยไปดักทางก่อนอารมณ์จะเตลิดไป

จิตก็จะถามสติว่าจะทำประการใดประการหนึ่งกับอารมณ์นี้ดีพอสติริเริ่มสั่งงานแล้วจิตก็จะปั่นเป็นอารมณ์แห่งปัญญาทันที

หากแต่ว่าอารมณ์ปั่นที่มีสตินั้น ก็จะเป็นอารมณ์ปั่นของปัญญา จะนำพาไปในทางที่ชอบ ที่ควร...

พวกเราจงมารักษา สติ(ความคิดริเริ่มที่ดี)จิต(ตัวรับรู้สั่นไหวได้)อารมณ์(ปัญญาพาไปหรือตัวโง่พาไป)ให้สมดุลและมีการใช้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน

อย่าได้มองข้ามตัวสติเลยขอให้ใช้สติจนเคยชิน จะเกิดแต่ผลดีกับตัวท่านเองและคนรอบข้าง...

...ขอให้ทุกท่านที่อ่าน เจริญด้วยอารมณ์แห่งปัญญาเถิด...

...โอ ระยอง เขียน...

พระพุทธเจ้าท่านทรงกล่าวว่าไม่มีที่ไหนที่ไม่มีเถ้ากระดูกหรือ

ที่ท่านไม่เคยนอนตายหากเอาเถ้าเนื้อกระดูกมารวมกองกัน

ใน1คนที่เกิดๆตายๆมันมากมายยิ่งกว่าภูเขาลูกโตๆอีกนี่แค่คนๆเดียว

นะครับถ้าทั้งโลกจะขนาดไหนคิดดูตามหลักที่พระพุทธเจ้าท่านสอนซิครับ

ฉนั้นที่เราเหยียบย่ำนี่ไม่รู้ของใครเป็นของใครแล้ว จงให้ความเคารพ

ทุกย่างกว้าที่เราเดินไปเพราะนั่นคือสิ่งมีชีวิตที่นอนตายมากมาย

เราอาจจะเดินเหยียบธุลีของเราเองก็ได้ใช่ไหมครับพูดตามหลักธรรม

และความเป็นจริงทางพุทธศาสนาครับ ลองคิดๆดู นะครับ

เกิดมาทำไมต้องร้องไห้

...เราเกิดมาเราร้องไห้เพราะว่าเราหิวเรากลัวจะอดเกิดมาก็โดนกิเลศเล่นงานทันที

เลยครับตอนที่อยู่ในท้องแม่เราหายใจเรากินอาหารทางสายสะดือเหมือนเราโดนดองไว้

ปากของเราตาเราไม่กล้าอ้าหรอกตอนนั้นเดี๋ยวสำลักน้ำคร่ำถึงตายนะครับเรากับแม่

เราตอนนั้นเป็นเหมือนคนๆเดียวกันมันอบอุ่นไม่หิวแต่พอออกมาปุ๊บเจออากาศหนาวแถม

เรายังโดนตัดช่องส่งอาหารน้ำและอากาศอัตโนมัติอีกร่างกายมันกลัวจะอดครับเกิดปฏิ!

มันเลยร้องว่า หิวแล้ว หิวแล้ว หิวแล้ว กินตรงไหน ร่างกายมันตกใจกลัวจะอดกลัวหิว

กลัวอดตายเพราะยังไม่รู้วิธีกิน ไม่รู้ว่าจะเอาส่วนไหนกิน ในขั้นแรกที่เกิดมามันจึงร้อง

เพราะโดนตัดช่องส่งสารอาหารอากาศน้ำ ร้องใหญ่เลย แต่พอมีคนเอานมยัดใส่ปากให้ปุ๊บ

เงียบเลยหยุดร้องกินใหญ่เลยร่างกายมันก็เกิดปฏิ!อาการรับรู้ตรงนี้คือสติเล็กๆคือดีใจโล่งอก

อ๋อ!เออ!ดีนะที่ยังมี ช่องสำรองอีกที่ นึกว่าจะอดตายเสียแล้ว จริงไหมครับท่านผู้อ่าน

เมื่อเราอยู่ในท้องแม่ของเรานั้นน้ำอากาศและอาหารมันไหลมาเองสมองมันไม่หิวไม่อยาก

มันบริสุทธิ์เปรียบเหมือนอาหารทิพย์เราไม่ต้องออกแรงกินแต่เมื่อตัดสายสะดือช่องส่งอาหาร

นั้นแล้วร่างกายมันเกิดปฏิ!ตกใจมันกลัวจะอดเกิดหิวกลัวจะหิว เพราะยังไม่รู้วิธีกินมันงง

แต่พอมีอะไรมาใส่ปากมันก็ลองงับลองกินดู มันจึงรับรู้ว่า นี่คือทางรอดทางเดียวที่หิวเมื่อไร

ก็ร้องพอกินอิ่มก็หลับสลับกันไป ตอนอยู่ในท้องแม่นั้นเราอิ่มตลอดเราจึงไม่อ้าปากไม่ลืมตา

ไม่นึกหิวแต่พอออกมาอยู่ข้างนอกธรรมชาติมันสอนต้องช่วยตัวเองให้รอดก่อนเราจึงต้องใช้ปาก

จำไว้นะเราต้องใช้ปากๆถ้าเราหิวเราต้องร้องๆดังๆเราจึงจะได้กิน ถ้าเราไม่ร้องเราอดแน่ๆ

นี่คือสัญญาเล็กๆกับสมองเกิดปฏิ!การรับรู้โดยธรรมชาติเพื่อการอยู่รอดในขั้นตอนแรกๆ

ว่าต้องออกแรงดูดถึงจะอิ่ม เด็กที่ร้องก็เพราะว่ามันเสียดายความสะดวกสบายคล้ายอาหาร

เป็นทิพย์และต่อไปนี้มันต้องช่วยตัวเองแล้วคงต้องหิวมั่งอิ่มมั่งจนกระทั่งสิ้นลมหายใจไปจากโลกนี้

ต่อไปนี้คงต้องทุกข์มั่ง สุขมั่งไปจนตาย ต้องร้องไห้ทางปากหรือทางใจไปจนตายแน่ๆนั่นเอง

และนี่คือสิ่งที่เด็กต้องร้องไห้เวลาเกิดมาครับ ท่านคิดว่ายังไงครับ

โอ ระยอง เขียน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท