พัฒนาบุคลากรด้าน ICT โดยศรีเชาว์ วิหคโต


การพัฒนาบุคลากร มีวิธีการหลากหลาย ขึ้นอยู่กับ บุคคล สถานที่ และช่วงเวลา

P สร้าง: จ. 25 ธ.ค. 2549 @ 14:39

หลังจากที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้มีโอกาสได้รับเชิญไปเป็นวิทยากร ที่ ศนจ.สุโขทัย ในการพัฒนาบุตลากรด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้มีโอกาสได้เรียนรู้ และพบประสบการณ์หลายประการที่คุ้มค่าอย่างมาก โดยเฉพาะเกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาบุคลากร หรืออาจจะเรียกว่า การฝึกอบรม สิ่งที่เป็นข้อสะกิดใจอย่างมาก มีอยู่ 3 ประการคือ
    1 กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร  เพราะคนที่มาเข้าร่วมกิจกรรมมีหลากหลาย มีความแตกต่างกันอย่างมาก บางท่าน เพียงแค่พื้นฐาน ใช้คอมพิวเตอร์มาไม่มาก และใช้อยู่เพียงไม่กี่เรื่อง ขณะที่บางท่าน รู้อย่างมาก เพียงแค่บอกก็ทำได้แล้ว บางท่าน ทำให้ดู 1 รอบ จึงจะทำได้ บางท่าน ทำให้ดูแล้ว 2 รอบ ก็ทำไม่ได้ ดังนั้น แต่ละคน จึงมีความแตกต่างกัน เรื่องที่จะให้เรียนรู้ จึงต้องแตกต่างกัน เพราะบางท่านต้องเริ่มตั้งแต่ ก.ไก่ ขณะที่บางท่าน เริ่มที่ ฮ นกฮูก แนะนำแค่นิดเดียวก็สำเร็จ ดังนั้น ถ้าให้ความรู้ในเรื่องเดียวกัน พร้อมๆ กัน คงไม่เหมาะสมแน่ๆ .....แล้วจะมีวิธีการเช่นไร ที่จะทำให้ แต่ละคนไปถึงเป้าหมายปลายทางได้เหมือนกัน  วิธีการเรียนรู้ของ กศน. จึงต้องคำนึถึงเรื่องนี้อย่างมาก รูปแบบการให้ทุกคนมาเข้าแถว แล้วเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน ในเรื่องเดียวกันทั้งหมดคงไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องแน่ๆ แต่กระบวนการอบรมที่ผ่านมา ก็มักจะถูกผูกติดไว้กับกระบวนการและเวลาที่กำหนดไว้ตายตัว และเกิดความเคยชินกันทุกฝ่าย
     2 สถานที่ อบรม ไม่ว่าที่ไหน ถ้าเป็นการอบรมคอมพิวเตอร์ ก็มักจะถูกอัดเข้าไปในห้องสี่เหลี่ยม แคบๆ หรือกว้างสุดสายตา ตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นแถว มีเครื่องของครูอยู่หน้าห้อง พร้อมทั้งเครื่องฉาย LCD Projector ผู้เข้าอบรมก้มหน้าก้มตาอยู่กับเครื่องของตนเอง พร้อมทั้งเงยหน้าดูจอคอมพิวเตอร์ แล้วทำตามให้ทันครู แล้วเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน ทำไมต้องเป็นห้องอบรม ทำไมต้องดูจากเครื่องของครู ทำไมต้องรีบทำตามครูให้ทัน เรื่องนี้ไม่ค่อยเข้าใจ และนั่งแภวหลังด้วยมองไม่ค่อยเห็นเลย ทำให้ทำตามไม่ทัน ไม่เป็นธรรมชาติของการเรียนรู้เลย แต่ผู้เข้าอบรมก็ชอบ เพราะมีคนคอยบอกให้ทำ แล้วก็ทำตามได้ ทั้งๆที่บางครั้งก็ไม่รู้ว่า ทำไมต้องทำอย่างนั้น
     3 ช่วงเวลา มีการกำหนดว่า จะต้องอบรมตามช่วงเวลาที่กำหนด เพราะวิทยากรว่างตอนนี้ ทั้งๆที่บางครั้งก็ไม่พร้อมที่จะรับรู้ เพราะยังมีเรื่องอื่นที่เร่งด่วนจะต้องทำ หรือทำไมต้อง 5 วัน 3 วันไม่ได้หรือ เพราะเรารู้เรื่องเกือบหมดแล้ว หรือ 7 วันไม่ได้หรือ เพราะไม่ค่อยรู้เรื่องเลย พรุ่งนี้ไม่มาได้ไหม เพราะมีธุระสำคัญ
    คิดถึง 3 เรื่องนี้แล้ว ก็ทำให้นึกถึงแนวคิดที่กล่าวถึง any time any where any person คือ ใครจะมาเรียนก็ได้ ที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ หรือที่เราเคยพูดว่า ไม่มีรอบ ไม่มีรุ่น ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ ที่ปรับ ยืดหยุ่น สำหรับผู้เรียน และมักจะเป็นคำพูดที่สวยๆ ในการเรียนในรูปแบบ e-Learning เพราะใครจะเข้ามาเรียนก็ได้ ว่างเมื่อไรก็เข้ามาเรียน และนั่งเรียนที่ไหนก็ได้ แต่หลายท่านก็อกว่า เรียนแบบนี้ มันขาดไปส่วนหนึ่ง คือ จิดใจ เพราะคอมพิวเตอร์มันไม่มีชีวิต
    หลังจากกลับการอบรมมานั่งทำงาน เปิด Internet อ่าน webboard ก็มีคนถามเข้ามาว่า เมื่อไรอาจารย์จะเปิดการอบรมอีก ก็เริ่มมาคิดต่อว่า เราอบรมมาแล้วตั้ง 10 กว่าปี จะต้องอบรมไปอีกเท่าไรเริ่มจากยืนสอนได้ทั้งวัน มาจนบัดนี้ สุขภาพเริ่มแย่ จะยืนไม่ไหวแล้ว แต่วิธีการเดิมๆ ก็ยังได้รับความนิยม  เพาะถ้าเรื่องไหนได้ไปยืนอธิบาย หรือสอนหน้าห้อง เขาจะดีใจ ว่า ได้เข้ารับการอบรม แต่ถ้าเรื่องไหนบอกว่า ให้ไปอ่านเอง ได้ทำสื่อไว้ให้ศึกษาแล้วดูเหมือนกับว่า ไม่ได้เข้าอบรม จะทำไม่ได้ ความพอดีมันอยู่ตรงไหน ระหว่าง สิ่งที่ควรจะเป็น กับความเคยชินที่ปฏิบัติกันมา และถ้าจะเปลี่ยนความคิดใหม่จะทำอย่างไรแท่สำคัญอีกประการหนึ่ง ทำอย่างไรจึงจะทำให้ สามารถเรียนรู้ได้ครั้งละมากๆ ไม่ใช้มาอบรมกันครั้งละ 10-20 คน เหมือนที่ผ่านมา

หมายเลขบันทึก: 196004เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2008 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 10:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท