drrakpong
นายแพทย์ รักษ์พงศ์ เวียงเจริญ

เตรียมความพร้อมรับการประเมินการพัฒนาคุณภาพ โดย พรพ. สำหรับหน่วยงาน


เปิดโอกาสให้รพ.เป็นฝ่ายกำหนดเรื่องที่พัฒนาหรือทบทวนหรือเรื่องที่เกิดอุบัติการณ์แล้ว โดยไปเยี่ยมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรียกว่า “ Trace” เพื่อลดการนำเสนอแบบเป็นทางการลง

 

ตามที่ พรพ. ได้กำหนดการเยี่ยมให้คำปรึกษาเพื่อประเมินความสำเร็จการพัฒนาคุณภาพขั้นที่ 2 สู่ HA สำหรับโรงพยาบาลพหลพยุหเสนา ในวันที่ 4 สิงหาคม 2551 โดยอาจารย์ที่ปรึกษาที่มาเยี่ยมโรงพยาบาลในครั้งนี้ได้แก่

 

1.    รศ.นพ. รณชัย    อธิสุข              จาก  โรงพยาบาลศิริราช

2.    อ.ทัศนีย์            สุมามาลย์        จาก  กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

3.    ภก. สมศักดิ์       ตรงกมลธรรม    จาก  โรงพยาบาลดำเนินสะดวก

 

ทาง พรพ. ได้ส่งหนังสืออย่างเป็นทางการมาแล้ว โดยรูปแบบการเข้าเยี่ยมประเมินในครั้งนี้ จะแตกต่างจากการเยี่ยมประเมินที่เราคุ้นเคย คือ เข้าห้องประชุมแล้วนำเสนอ แต่ครั้งนี้ จะเป็น การเข้าเยี่ยมที่หน่วยงานมากขึ้น โดยเปิดโอกาสให้ รพ.เป็นฝ่ายกำหนดเรื่องที่พัฒนาหรือทบทวนหรือเรื่องที่เกิดอุบัติการณ์แล้ว โดยไปเยี่ยมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรียกว่า “ Trace”  เพื่อลดการนำเสนอแบบเป็นทางการลง

 

ซึ่งทาง พรพ. ได้กำหนด Schedule และ Trace เอาไว้ 3 ทีม ซึ่งศูนย์คุณภาพ ได้กำหนดเวลาลงไปให้ชัดเจนขึ้นดังนี้ครับ

 

จะเห็นว่า มีหน่วยงานหรือทีม ที่อาจไม่เคยได้รับการเยี่ยมจากหน่วยงานภายนอกมาก่อนอยู่หลายทีมทีเดียว แต่ไม่ต้องเคร่งเครียดเกินไป ในการเตรียม โดยเฉพาะเรื่องเอกสาร  เพราะ พรพ. ได้ให้คำแนะนำในการเข้าเยี่ยมหน่วยงานไว้ ดังนี้ครับ

 

 1.1.    ใช้เวลา 5 นาทีแรกนำเสนอผลลัพธ์ของงานที่ทีมภาคภูมิใจ ให้ครอบคลุมมากที่สุด  เช่น ลดความผิดพลาดในการให้ยา” “ให้การดูแลทางด้านจิตใจแก่เด็กที่ได้รับยาเคมีบำบัดและให้ญาติมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือดูแลกัน 

1.1.1.          หากมีข้อมูลตัวเลขแสดงผลลัพธ์ได้ยิ่งดี  แต่ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร   

1.1.2.          ไม่ต้องนำเสนอรายละเอียดวิธีการพัฒนาในช่วงนี้

1.2.    เมื่อผู้เยี่ยมให้คำปรึกษาถาม ให้จับประเด็นคำถามให้ชัดเจน (ควรจดประเด็นคำถามไปด้วย เพื่อทบทวนความเข้าใจ และเพื่อจะได้ตอบได้ครอบคลุม) 

1.2.1.          ควรเชื่อมโยงประเด็นคำถามกับมาตรฐาน HA และนึกถึงเป้าหมายของมาตรฐานไปด้วยในระหว่างคิดคำตอบ

1.2.2.          ควรตอบให้ตรงประเด็นอย่างกระชับ ไม่เยิ่นเย้อ 

1.2.3.     ควรนำเสนอตัวอย่างของการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมและสัมผัสได้ บอกเล่าถึงสิ่งที่ทำในชีวิตประจำวัน อย่าตอบคำถามตามทฤษฎีซึ่งยังไม่ได้นำมาปฏิบัติ

1.2.4.     ควรตอบให้ครบ PDCA คือ แนวทางการทำงานเป็นอย่างไร, การปฏิบัติจริงเป็นอย่างไร ครอบคลุมเพียงใด, ผลลัพธ์เป็นอย่างไร, มีแผนที่จะทำอะไรต่อ

1.3.        ควรกระจายผู้ตอบให้ทั่วถึงโดยให้ผู้ปฏิบัติที่รู้เรื่องดีที่สุดเป็นผู้เริ่มต้นตอบและสมาชิกที่เหลือช่วยกันเพิ่มเติมให้สมบูรณ์

1.3.1.          ผู้บริหารหรือหัวหน้าทีมควรเป็นบุคคลสุดท้ายที่จะตอบในประเด็นนั้น

1.4.    ถ้าฟังคำถามไม่เข้าใจ อย่าลังเลที่จะถามผู้เยี่ยมให้คำปรึกษากลับ ด้วยการ () ขอให้ผู้เยี่ยมให้คำปรึกษาตั้งคำถามใหม่ที่ชัดเจนมากขึ้น หรือ () ขอให้ผู้เยี่ยมให้คำปรึกษาอธิบายเหตุผลของการตั้งคำถามนั้น หรือ () ทวนคำถามด้วยสำนวนของเราเอง และขอให้ผู้เยี่ยมให้คำปรึกษายืนยันว่าใช่สิ่งที่ผู้เยี่ยมให้คำปรึกษาต้องการทราบหรือไม่ 

1.4.1.          อย่าตอบคำถามโดยที่ยังไม่เข้าใจว่าผู้ถามต้องการอะไร 

1.5.    หากต้องการตอบคำถามที่ผ่านมาแล้ว และผู้เยี่ยมให้คำปรึกษาได้ตั้งประเด็นใหม่แล้วควรรอจนการพูดคุยในประเด็นใหม่สิ้นสุดลงคอยย้อนกลับไปตอบคำถามเดิมโดยระบุให้ชัดเจนว่าเป็นการตอบต่อคำถามอะไร

1.6.    เมื่อสิ้นสุดการสัมภาษณ์ ขอให้ทีมช่วยกันสรุปว่าได้เห็นโอกาสพัฒนาอะไรบ้างจากคำถามของผู้เยี่ยมให้คำปรึกษาก่อนที่จะให้ผู้เยี่ยมให้คำปรึกษาสรุปข้อเสนอแนะให้ทีม

 

 หลักการที่สำคัญอื่น ๆ ลองศึกษาบล็อก ที่ อ. วราภรณ์ เขียนให้กำลังใจโรงพยาบาลพหลฯ โดยเฉพาะที่นี่ครับ  http://gotoknow.org/blog/paula-story/194457

หมายเลขบันทึก: 195990เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2008 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • มาให้กำลังใจโรงพยาบาลบ้านเรา
  • (กระซิบๆๆว่าอาจารย์ รศ. นพ. รณชัยใจดี อิอิๆ)
  • เข้าใจว่าหน่วยงานในโรงพยาบาลพหลฯเข้าใจโปรแกรมและเวลาที่จะประเมินแล้วนะครับ
  • เมื่อวานใช้สายลับสืบ
  • ปรากฎว่า มีการเดินทั่วตึกเลยครับ
  • อิอิๆๆ
  • เอาใจช่วยครับผม

เอ สายลับของ อ.ขจิต นี่ใครน้อ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ

อืมม แต่ยังสงสัยกับแบบประเมินตนเอง ระดับ รพ. ว่ามีแบบฟอร์มเหมือน Service profile ของหน่วยงานและ PCT หรือเปล่า มีคำตอบ ของ อ.อนุวัฒน์ที่นี่ http://www.ha.or.th/easy_board/view2.asp?id=172

การประเมินตนเองตามมาตรฐาน 2006 หากเป็นการประเมินในระดับหน่วยงานหรือระดับ PCT จะคล้ายกับของเดิมครับ ส่วนการประเมินตามมาตรฐานในระดับโรงพยาบาล เราไม่ได้ตั้งคำถามให้เหมือนกับมาตรฐานที่ผ่านมา ขณะนี้เราให้หลักการว่าให้ รพ.วิเคราะห์หาประเด็นสำคัญในเรื่องนั้นๆ และตอบตามแนว PDSA โดยพยายามเน้นการนำมาตรฐานไปปฏิบัติในงานประจำ รวมทั้งพัฒนาระบบต่างๆ ให้เหมาะสมก่อน แล้วค่อยมาตอบแบบประเมินตนเอง โดยเน้นที่ทบทวนประเมินผลให้มาก

หัวใจสำคัญคือการนำมาตรฐานไปปฏิบัติครับ ไม่ใช่การตอบในกระดาษ


ตอบโดย :   อนุวัฒน์     วันที่/เวลาตอบ : 28/1/2550

 ผมยึดเลยนะครับ แฮ่แฮ่

สวัสดีค่ะ อาจารย์ เกือบไม่ได้อ่านแล้วค่ะ แอบมาที่พัทยา สามวัน ไม่ได้อยู่ออฟฟิศ การตอบแบบประเมินระดับรพ.มีแบบประเมินส่วน ก. และ ข. 14 บทค่ะ ไม่ทราบมีไฟล์หรือยังคะ ขอบคุณที่เรียกอาจารย์วราภรณ์ค่ะ เขินๆ อิอิ อาจารย์ขจิต แอบสืบราชการลับไปหลายเรื่องค่ะ ( วันที่ 4 อาจจะแอบไปด้วยนะคะ )

มาอีกรอบค่ะ trace เขากำหนดกว้างๆ ไว้ เพราะอยากให้ร่วมกันกำหนดประเด็นและหน่วยที่ trace ค่ะ คือทบทวน case ร่วมกันเลย แล้วช่วยกันหยิบ กันเลือกกรณีที่ทบทวน หรือเหตุการณ์ที่เกิดมาคุยกันแบบพี่ๆน้องๆ ตอนเข้าหน่วยงาน ยังยึดเรื่อง Unit optimized อยู่ค่ะ จัดตารางแบบนี้ เครียดปล่าวๆ ค่ะ เฮ่อ.....

ขอบคุณครับ คุณพอลล่า

แบบประเมินตนเองระดับโรงพยาบาลมีแต่แบบเก่าโบราณ ปี 2546 ไม่ทราบว่ามีแบบใหม่กว่านี้ไหม โดยเฉพาะรองรับมาตรฐานใหม่

ดูในเวบ รพ.สงขลา ก็พยายามตอบแบบมาตรฐานใหม่กัน แต่บ่นว่าไม่มีตัวอย่างเหมือนกัน

ส่วนตารางที่จัดไว้ เป็นไปตาม trace ที่ พรพ.กำหนดมา ไม่รู้ว่าจะเยีี่ยมทันในวันเดียวไหม แต่กำหนดไว้เป็น schedule คร่าว ๆ ว่าลำดับเวลาการเข้าเยี่ยมหน่วยงานจะเป็นอย่างไรครับ

ที่เครียด จะเป็นอาจาร์ยืที่ปรึกษา หรือเปล่าครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ drrakpong ดีใจจังที่รพ.ไม่เครียด ค่ะ

สงสัย ต้องขอไฟล์ต้นฉบับแบบประเมินตนเอง ระดับโรงพยาบาลด้วยนะครับ

ส่วนหน่วยงาน และ PCT จะเป็นแบบ service profile ครับ

อาจารย์ตอบ hospital Profile ปี 2008 หรือยังค่ะ

อ่านแล้วยากมาก แต่ถ้าตอบแล้วขอดูเป็นวิทยาทานด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท