โครงการพัฒนาผู้นำสหกรณ์ หลักสูตร “ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง” รุ่นที่ 2


การพัฒนาผู้นำสหกรณ์

 

 

 

  โครงการพัฒนาผู้นำสหกรณ์

 

หลักสูตร  ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง  รุ่นที่ 2 

 

(Coop.  Leaders  in Advanced  Cooperative  Leadership)

ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง ตุลาคม 2551

 

บทนำ

                     เป็นที่ทราบและยอมรับกันทั่วไปว่า ยุคนี้เป็นยุคของโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยีฯ และเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า   ในการที่จะบริหารองค์การ บริหารกิจการสหกรณ์ให้ประสบความสำเร็จด้วยดี จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีผู้นำ ที่มีความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ มีจริยธรรมคุณธรรม มีเหตุ มีผล และมีวิสัยทัศน์สามารถสร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับทีมงานและองค์การได้เป็นอย่างดี และมีภาวะผู้นำที่เป็นเลิศ จนมีคำกล่าวว่า ภาวะผู้นำขับเคลื่อนองค์การ

     ปัญหาของการพัฒนาสหกรณ์ในประเทศไทย ปัญหาหนึ่งคือ ขีดความสามารถของผู้นำ ที่เหมาะสมกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันและอนาคตที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนองค์การของผู้นำ ซึ่งจำเป็นต้องมีความรู้ด้านการจัดการสมัยใหม่ การบริหารเชิงกลยุทธ์ องค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรที่จำเป็นในการบริหารองค์การ และการพัฒนาภาวะผู้นำอย่างต่อเนื่องให้พร้อมรองรับการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางการบริหาร อันจะส่งผลให้ผู้นำสหกรณ์สามารถสร้างขีดความสามารถในการขับเคลื่อนองค์การ ให้ไปสู่ความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     ด้วยเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย  จึงได้จัดโครงการพัฒนาผู้นำสหกรณ์    หลักสูตร   "ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง"  (Coop. Leaders in Advanced Cooperative Leadership) รุ่นที่ 2 ขึ้น เพื่อการสร้างผู้นำระดับสูงของขบวนการสหกรณ์ให้มีความรู้ มีทัศนคติที่ดี มีประสบการณ์ มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และเป็นพลังขับเคลื่อนสหกรณ์ที่สำคัญต่อไป

วัตถุประสงค์

1.    เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำ  (Leadership)  แก่ผู้นำสหกรณ์ ผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์

2.    เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะด้านการบริหารจัดการ (Management Skills) แก่ผู้นำสหกรณ์

      ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคโลกาภิวัตน์

3.    เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ เอกภาพ และเครือข่ายความร่วมมือ (Net work) ของผู้นำสหกรณ์

        ในการพัฒนาสหกรณ์

4.    เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

        กับการพัฒนาสหกรณ์

การบริหารโครงการ

 1. ที่ปรึกษาโครงการ ประกอบด้วย

       1.1  อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์       

      1.2  อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์  

      1.3  ประธานกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย

2. คณะกรรมการบริหารโครงการ  ประกอบด้วย

    2.1  ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์   (เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ)   ประธาน

    2.2  นายบุญส่ง   พานิชการ     (ผู้แทนจากกรมส่งเสริมสหกรณ์)                                  กรรมการ

    2.3  นายสมชาย    ศิริรุ่งกิจ     (ผู้แทนจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์)                                กรรมการ

    2.4  นายพรชัย    ลิมปภาส      (ผู้แทนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร)  กรรมการ

    2.5  ดร.ปรีชา    สิทธิกรณ์ไกร  (ประธานคณะกรรมการวิชาการ สันนิบาตสหกรณ์ฯ)           กรรมการ

    2.6  นายยม      นาคสุข         (ผู้อำนวยการศูนย์บริหารและพัฒนาทุนมนุษย์)                 กรรมการ

    2.7  นายวิทย์    ประทักษ์ใจ     (ผู้อำนวยการสันนิบาตสหกรณ์ฯ)                   กรรมการและเลขานุการ

 3. ผู้รับผิดชอบโครงการ

     3.1  นายวิทย์         ประทักษ์ใจ    (ผู้อำนวยการ สสท.)                   ผู้อำนวยการโครงการ

     3.2  นายวิจิตร        จะโรจร         (หัวหน้าสถาบันพิทยาลงกรณ)       ผู้บริหารโครงการ

     3.3  นางสาวสารินี  ไกรพจน์        (หัวหน้าฝ่ายฝึกอบรมที่ 1)             ผู้ประสานงานโครงการ

     3.4  นายณรงค์       ยี่หวา           (เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม)                    ผู้ประสานงานโครงการ

     3.5  นายบัณฑิต     เทนอิสระ      (เจ้าหน้าที่สารสนเทศ)                  เจ้าหน้าที่โครงการ

     3.6  นายภูมินทร์    เจือไทย        (เจ้าหน้าที่ฝ่ายโสตฯ)                    เจ้าหน้าที่โครงการ

 

กลุ่มเป้าหมาย

                กลุ่มเป้าหมาย รุ่นละ 40 คน จะพิจารณาคัดเลือกจาก ผลงานของผู้นำเอง และ ผลงาน

ของสหกรณ์  และจะกระจายให้ครอบคลุมสหกรณ์ทุกภาค และทุกประเภท  โดยเป็น กลุ่มผู้นำ

สหกรณ์  จาก 3 กลุ่มโดยประมาณ ดังนี้ 

1.       ผู้นำสหกรณ์ : ประธานฯ หรือกรรมการ หรือผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ จำนวนประมาณ

        ร้อยละ 60

2.       ฝ่ายจัดการสหกรณ์ : ผู้จัดการสหกรณ์ จำนวนประมาณ ร้อยละ  25  

3.       ฝ่ายราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  คือ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์

        และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  จำนวนประมาณร้อยละ  15

 

  รูปแบบและวิธีการอบรม

1.       การบรรยาย การอภิปราย การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เน้นการสร้างบรรยากาศแห่ง

        การเรียนรู้  มุ่งสู่ความเป็นเลิศ วิธีการคิด และมุมมองที่เปิดกว้าง การสร้างและสานวิสัยทัศน์

        การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม  และความคิดความเข้าใจอย่างเป็นระบบ มีเหตุมีผล   

2.       การค้นคว้า การทำรายงาน การสร้างสังคมการเรียนรู้ โดยใช้ระบบ  Internet

3.       การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การนำเสนอโครงการพัฒนาสหกรณ์ และการแสดงวิสัยทัศน์  

4.       การทัศนศึกษาดูงานในและต่างประเทศ

5.       การใช้ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา Coaching  ตลอดระยะเวลาการสัมมนา

หมายเหตุ : วิธีการเรียนรู้จะดำเนินการตามแนวทฤษฎี 4 L’s  

                     นำเสนอโดย  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

ระยะเวลาการอบรม

                        ระยะเวลาการอบรมประมาณ  150 ชั่วโมง  (ประมาณ 4 เดือน เริ่มเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม

2551) โดยจะเรียนในชั้นเรียนร่วมกัน ครั้งละ ไม่เกิน 3 วัน  หรือเดือนละไม่เกิน 2 ครั้ง  รวมแล้วไม่เกิน

21 วัน   ส่วน การศึกษาดูงานในประเทศและต่างประเทศ  ไม่เกิน 8 วัน รวมเวลาการอบรมตลอด

หลักสูตรไม่เกิน 29 วัน

 

เกณฑ์ในการประเมินผล และเกณฑ์ในการผ่านการอบรมเพื่อมอบวุฒิบัตร

     1.       เวลาเข้ารับการอบรม ต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

2.       มีคะแนนการเข้าร่วมกิจกรรม รวมแล้วไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ได้แก่

·       การมีส่วนร่วม      40 %

·       การส่งงานที่ได้รับมอบหมายทาง Internet หรือ Home work       30 %

·       การนำเสนอโครงการและวิสัยทัศน์      30 %

3.       การดูงานต่างประเทศ (จำเป็นต้องเข้าร่วมทุกคน ฉะนั้นจะไม่ได้รับวุฒิบัตร)

4.       การดูงานในประเทศ   (กรณีติดภารกิจจำเป็นไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ ต้องทำราย

        งานพิเศษ     ตามที่โครงการฯ กำหนด)

 

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.       ความรู้ความเข้าใจ   ผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 40 คน  มีความรู้ ความเข้าใจ ในหมวดวิชาที่เรียน

       ตามหลักสูตร  ตาม เกณฑ์ประเมินผลที่กำหนด

2.       ความพึงพอใจ   ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจ และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ รวมทั้งแลกเปลี่ยน

        ประสบการณ์  ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

3.       วิทยากร  มีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นไปตามที่กำหนดในหลักสูตร และผู้เข้าร่วมโครงการฯ

        พึงพอใจในระดับมาก

4.       การบริหารโครงการ  มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลตามเกณฑ์ที่กำหนดรวมทั้ง  สามารถควบคุม

        การใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามกรอบที่กำหนด

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  ผู้เข้ารอบรม มีความรู้ ความสามารถในการสร้างภาวะผู้นำ (Leadership) แก่ตนเอง แก่ทีมงาน

     แก่ผู้นำสหกรณ์ ผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์

2.  ผู้เข้าอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะด้านการบริหารจัดการ (Management Skills)  แก่ผู้นำ

     สหกรณ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความเปลี่ยนแลงในโลกยุคโลกาภิวัตน์

3.  ผู้เข้าอบรมมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เป็นเอกภาพ และเครือข่ายความร่วมมือ (Net work) ของ

     ผู้นำสหกรณ์ในการพัฒนาสหกรณ์

4.  ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาสหกรณ์

 

                           

                           My Music - โฮป-กำลังใจ

หมายเลขบันทึก: 195708เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2008 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ........คุณสารินี

       *-* แวะมาเยี่ยมครับ

       *-* เป็นโครงการที่ดีมากเลยครับ

       *-* ผมอยากเข้าอบรมด้วยต้องทำอย่างไร

      

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท