CoP (No.3)


วงจรชีวิตของ CoP

วงจรชีวิตของ CoP

CoP เปรียบได้กับสิ่งมีชีวิตรูปแบบหนึ่งซึ่งมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย และมีระดับพลังขึ้นลงตามช่วงจังหวะของชีวิตในฐานะนักพัฒนาชุมชน เราจะต้องทำความเข้าใจวงจรชีวิตของชุมชนอย่างถ่องแท้ เพื่อกระตุ้นพลังของชุมชนในยามที่เหงาหงอย ให้ชุมชนมีพลวัตอยู่ตลอดเวลา กราฟต่อไปนี้แสดงให้เห็นพลังของชุมชนที่ผันแปรไปตามช่วงระยะต่าง ๆ ของวงจรชีวิต ซึ่งในแต่ละช่วงระยะจะมีความตึงเครียดในรูปแบบต่าง ๆ ที่ท้าทายชุมชนอยู่ นักพัฒนาชุมชนจะต้องทำความเข้าใจในความตึงเครียดเหล่านี้ และพยายามสร้างสภาวะสมดุลไม่ให้ความตึงเครียดเอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป

ช่วงที่หนึ่ง (Potential Stage) เป็นช่วงแห่งการมีศักยภาพ ช่วงนี้เป็นช่วงของการค้นหาเครือข่ายอย่างไม่เป็นทางการที่พูดคุยหรือแลกเปลี่ยนความรู้ในโดเมนนั้นอยู่แล้ว การค้นให้พบเครือข่ายดังกล่าวมีความสำคัญต่อการพัฒนา CoP เป็นอย่างมาก เพราะคนที่อยู่ในเครือข่ายจะมีศักยภาพในการพัฒนาในสู่การเป็นสมาชิกของ CoP ได้โดยคนเหล่านี้มีแรงปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ในหัวข้อดังกล่าว แม้ว่าจะไม่ได้รับแรงกระตุ้นอะไรเลยจากองค์กร นอกจากนั้น คนเหล่านี้ยังค่อนข้างมีความคุ้นเคยกัน ทำให้องค์ประกอบของความเป็นชุมชนค่อนข้างเข้มแข็งเช่นกัน อย่างไรก็ดี ประเด็นสำคัญก็คือ การทำให้สมาชิกสามารถจินตนาการได้ว่า เมื่อเครือข่ายของพวกเขาขยายตัวใหญ่ขึ้น พวกเขาจะได้รับประโยชน์อะไรเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่เป็นอยู่

ช่วงที่สอง (Coalescing Stage) เป็นช่วงที่สมาชิกชุมชนเริ่มรวมตัวกัน ในช่วงระยะนี้ พลังของชุมชนจะพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก สมาชิกบางคนไม่เคยเจอหน้ากัน ก็ได้พบเจอกัน ได้แลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ ๆ กันทุกคนต่างมีความกระตือรือร้นที่จะทำความรู้จัก และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อผ่านไปได้สักระยะ ความแปลกใหม่เริ่มหมดไป พลังจะเริ่มตกลงเข้าสู่ภาวะปกติ ในช่วงระยะนี้ชุมชนจะพบกันความตึงเครียดรูปแบบหนึ่ง โดยชุมชนต้องการระยะเวลาบ่มตัว ทั้งนี้สมาชิกต้องอาศัยเวลาในการทำความสนิทสนมคุ้นเคย และพัฒนาความไว้วางใจซึ่งกันและกัน หากปราศจากการบ่มตัวแล้ว การแลกเปลี่ยนความรู้จะเกิดขึ้นแต่เปลือกนอก ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อองค์กรพยายามกดดันให้ชุมชนส่งมอบคุณค่าให้เห็นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะองค์กรและผู้บริหารที่ยังไม่ค่อยเชื่อมมั่นในแนวคิดเกี่ยวกับ CoP สักเท่าใด

ช่วงที่สาม (Maturing Stage) เป็นช่วงที่สมาชิกเริ่มพัฒนาความสนิทสนมคุ้นเคยกันอย่างแท้จริง เข้าทำนองรู้เขารู้เรา และมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ ชุมชนยังไม่พัฒนาทักษะและแนวทางในการแลกเปลี่ยนความรู้เฉพาะตัวที่มีประสิทธิภาพและเห็นผลเป็นรูปธรรม พลังของชุมชนจึงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะนี้ ชุมชนจะพบกับความตึงเครียดระหว่างการมุ่งเน้นกับการขยาย โดยสมาชิกชุมชนอยากมุ่งเน้นพูดคุยกับกลุ่มสมาชิกที่เริ่มต้นในช่วงแรกมาด้วยกัน เพราะมีความสนิทสนมคุ้นเคยกัน และยังรู้ดีว่าหัวข้อเรื่องใดที่ทุกคนสนใจที่จะแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ร่วมกัน แต่เมื่อชุมชนเริ่มมีชื่อเสียงขึ้น สมาชิกใหม่ ๆ ก็อยากที่จะมาเข้าร่วมในชุมชุม อย่างไรก็ดี สมาชิกใหม่มักทำให้เกิดผลกระทบต่อความสนิทสนมของกลุ่มสมาชิกเดิม และยังนำหัวข้อเรื่องใหม่ ๆ มาพูดคุย ซึ่งอาจไม่เป็นที่สนใจของสมาชิกเดิมก็ได้ อย่างไรก็ตาม การขยายตัวจากสมาชิกใหม่ก็มีความสำคัญ เพราะจะทำให้ความรู้ใหม่ ๆ ไหลเข้าสู่ชุมชนด้วย

ช่วงที่สี่ (Stewardship Stage) เป็นช่วงที่ชุมชนมีพลังสูงสุด อย่างไรก็ตาม ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ เมื่อจึงจุดสูงสุดแล้วก็ย่อมตกลงเป็นธรรมดา CoP ก็เช่นกัน หน้าที่ของนักพัฒนาชุมชนคือการออกแบบกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะช่วยกระตุ้นให้พลังของชุมชนฟื้นกลับคืนมาอีกครั้ง จะเห็นได้จากกราฟ ที่พลังของชุมชนในช่วงระยะนี้จะขึ้น ๆ ลง ๆ ตลอดเวลา ปัจจัยที่ตัดสินว่า CoP จะมีช่วงชีวิตที่ยาวนานหรือไม่นั้น จะอยู่ในช่วงระยะนี้ ชุมชนที่ไม่ได้มีการออกแบบและดูแลที่ดีพอ เมื่อพลังพุ่งถึงจุดสูงสุดก็จะดิ่งลงต่ำสุดอย่างรวดเร็ว ทำให้มีช่วงชีวิตที่สั้นอย่างไม่ควรเป็น ความตึงเครียดในสิ่งใหม่ ๆ ความรู้สึกเป็นเจ้าของเกิดขึ้นเมื่อชุมชนมีชื่อเสียงและมีสิทธิมากขึ้นในองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีเพราะจะทำให้ชุมชนมีพลังที่จะขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง อย่งไรก็ตาม ชุมชนที่มีความรู้เป็นเข้าของมากเกินไปอาจทำให้เกิดความรู้สึกหลงตัวเองด้วยเช่นกัน ชุมชนเหล่านี้อาจคิดว่าความรู้ที่มีอยู่นั้นเยี่ยมยอดแล้ว ดังนั้น จึงเป็นต้องเปิดโลกทัศน์ของชุมชนและทำให้พวกเขามองเห็นโอกาสเรียนรู้ว่าโลกภายนอกชุมชนนั้นพัฒนาไปเพียงใดแล้ว

ช่วงระยะสุดท้าย (Transformation Stage) เป็นช่วงที่พลังของชุมชนค่อย ๆดิ่งลงในช่วงนี้เป็นช่วงที่ชุมชนต้องตัดสินใจว่า พวกเขายังควรที่จะรวมตัวกันต่อไป หรือจะแยกย้ายและปฏิรูปสู่การเป็นโครงสร้างทางสังคมรูปแบบอื่น ๆ ชุมชนบางแห่งที่มีโดเมนที่หมดคุณค่า แทนที่จะยุบชุมชนทิ้ง พวกเขาก็ยังคงรวมตัวกันเป็นเครือข่ายแบบไม่เป็นทางการต่อไป ในขณะที่บางชุมชนอาจยุบตัว แล้วกระจายตัวกันไปร่วมกับชุมชนอื่น ๆ ที่มีโอเมนที่สร้างคุณค่าให้กับพวกเขาได้มากกว่า

http://www-ddc.moph.go.th/download/KM/

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1955เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2005 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 11:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท