เตรียม.. การประเมินประจำปี


สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องปฏิบัติเอง

ช่วงเดือนมิถุนายน ทั้งเดือน สนุกสนานกับการเตรียมการรับการประเมินต่าง ๆ ก็สนุกดี !! (มีเครียดบ้าง แต่ก็ผ่านไปแล้ว .....)

การประเมินแรก คือ การประเมินผลงานของสถานีอนามัย โดย คณะกรรมการจาก CUP คือ โรงพยาบาลอุดรธานีและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง สิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมก็คือผลงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (ทุกครั้งที่รอรับการประเมิน จนท. ทุกคนต่างก็ตื่นเต้น ++ เหมือนรอรับประกวดนางงามอย่างไร อย่างนั้น...ต้องเตรียมข้อมูล เอกสาร ผลงาน ไว้ให้เรียบร้อย รวมทั้งช่วยกันดูแลสถานที่ให้สะอาด สะอ้าน งามตา... ทีมงานเราคิดเหมือนกัน จึงทำงานได้ดี..สมหน้าตา ..อิ อิ)

งานของสถานีอนามัย ไม่ง่ายอย่างที่หลายคนคิด.. แต่ก็ไม่ยากเกินกว่าที่เราจะทำได้

แม้ว่า..สถานีอนามัยจะเป็นหน่วยปฐมภูมิด้านสุขภาพ  แต่ก็ต้องดูแลสุขภาพประชาชน เหมือน 1 กระทรวงสาธารณสุขเลยทีเดียว ...เราให้การดูแลสุขภาพทั้ง 4 มิติ คือ ป้องกัน ส่งเสริม รักษา และฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งดูแลตั้งแต่ก่อนเกิด จนถึงตาย รวมการดูแลทุกกลุ่มอายุซึ่งแบ่งกลุ่มอายุต่าง ๆ ดังนี้ 0-5 ปี 6-12 ปี 13-20 ปี 21-44 ปี 45 - 59 ปี และ 60 ปีขึ้นไป งานต่าง ๆ จะแบ่งแยกตามกลุ่มอายุนั้น ๆ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และกระทรวงสาธารณสุข   

ผู้บริหารบางคน คิดว่าเราทำงานตามนโยบาย เท่านั้น เมื่อผลงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ก็หยุดทำงาน ...ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น ...(ผู้บริหาร ล้อเล่น ..อิ อิ) ..

จะเล่าให้ฟังนะค่ะ ...ว่าที่สถานีอนามัยเราทำอะไรกันบ้าง ตามมาซิค่ะ

การเตรียมเอกสารสรุปผลงาน รับการประเมิน...

กิจกรรมการบริการสุขภาพมีทุกวันค่ะ ไม่มีวันหยุดราชการ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ ..ก็ไม่รู้ว่าจะเจ็บป่วยเมื่อไหร่นี่ค่ะหมอ ..(เสียงผู้ป่วย) การเปิดบริการตรวจโรคทั่วไป รวมถึงการดูแล ฉีดยา ทำแผล เย็บแผล อุบัติเหตุฉุกเฉิน จึงมีทุกวัน ตั้งแต่ 8.30 - 20.30 น. ซึ่งเป็นนโยบายที่ดี ที่ผู้บริหารให้มีการจัดเวรนอกเวลา ไว้ดูแลผู้ป่วยในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและครอบคลุม เหตุผลอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ลดความแออัดของผู้ป่วยที่โรงพยาบาล

นอกเหนือจากการรักษาพยาบาลในผู้ป่วยทั่วไปแล้ว ในแต่ละสถานีอนามัย..(คิดว่ามีทุกสถานีอนามัยนะคะ )  ก็ยังมีคลีนิกต่าง ๆ ในการให้บริการสุขภาพประชาชน (ขอประชาสัมพันธ์..อิ อิ) ในการรักษาพยาบาล มีคลีนิกเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ไว้ดูแลผู้ป่วยในพื้นที่ที่รับผิดชอบ และพื้นที่ข้างเคียง ที่สะดวกมารับบริการที่นี่ ..เพราะเราไม่ปฏิเสธผู้ป่วยอยู่แล้ว ที่สถานีอนามัยเชียงพิณ ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน - ความดันโลหิตสูง รวมประมาณ 300 คน ไม่มากไม่น้อย ...(คลีนิกเบาหวาน - ความดันโลหิตสูง มีแพทย์จากโรงพยาบาลมาตรวจผู้ป่วย  เฉพาะช่วงเช้า สัปดาห์ละ 2 วัน ..) 

ส่วนด้านการส่งเสริมสุขภาพก็มีคลีนิกฝากครรภ์ คลีนิกตรวจสุขภาพเด็กดี ฉีดวัคซีน ประเมินพัฒนาการเด็ก คลีนิกวางแผนครอบครัว ตรวจมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปีขึ้นไป และมารดาหลังคลอด คลีนิกให้คำปรึกษา ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ

นอกจากงานบริการในสถานีอนามัย  ก็มีกิจกรรมในชุมชน ประจำวัน เช่น การออกเยี่ยมบ้าน ในประชาชนกลุ่มต่าง ๆ แบ่งเป็น กลุ่มสุขภาพดี กลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการ กิจกรรมในชุมชนประจำเดือน เช่น การออกสุ่มลูกน้ำยุงลาย ตรวจประเมินหน่วยพิฆาตลูกน้ำยุงลาย (อสม.) กิจกรรมรณรงค์คัดกรองเบาหวาน - ความดันโลหิตสูง ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน และกิจกรรมประจำเทอม / ปี คือการตรวจสุขภาพนักเรียน การฉีดวัคซีนในนักเรียน

เมื่อมีเวลาว่าง ...จากการให้บริการ กิจกรรมที่ต้องทำอีกอย่างคือ การสรุปแฟ้มครอบครัว จัดการเอกสาร รายงาน จัดระบบงานต่าง ๆ ตามตัวชี้วัด ...(ที่มากมาย)  เป็นกิจกรรมที่ต้องทำ ต้องมี ซึ่งเกณฑ์ชี้วัด และตัวชี้วัดต่าง ๆ มีมากขึ้นตามการพัฒนาที่มีมากขึ้น ..(เป็นเรื่องธรรมดา)

การทำงานดูแลสุขภาพประชาชน เป็นงานทำบุญ เราจะมีความสุขทางใจมากทีเดียว เมื่อผลของการให้การพยาบาลและการดูแลของเรา ช่วยให้ประชาชน พึงพอใจ ทุเลาหรือหายจากโรค ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ตามสภาวะสุขภาพที่เขาเป็นอยู่ ตลอดจนการมีคุณภาพชีวิตที่ดี (เป้าหมายสูงสุด....)

ปัจจุบันการสร้างสุขภาพ ให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ ...เป็นการดูแลสุขภาพยุคใหม่ สอดคล้องกับนโยบาย สร้างนำซ่อม ...คือ เน้นการสร้างสุขภาพในคนสุขภาพดีไม่ให้ป่วย ...สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องปฏิบัติเอง ..อะไรทำนองนี้

เล่ากิจกรรมปฏิบัติงานที่สถานีอนามัยให้ฟังอย่างคร่าว ๆ ก่อนนะคะ

มาถึงการรับประเมินครั้งที่ 2  คือ การประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ ตามแนวนโยบาย ของ สปสช. ทีมประเมินจาก CUP อื่น ซึ่งเป็นอนุกรรมการแต่งตั้งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เกณฑ์ชี้วัดก็จะแตกต่างออกไป  แต่ก็อิงอยู่ในงานทั้งหมด ซึ่งเป็นการประเมินอีกระดับหนึ่ง

เกณฑ์การประเมินตามแนวทางของการดำเนินงาน ศูนย์สุขภาพชุมชน (PCU) มาตรฐาน 5 กลุ่มงาน 98 ตัวชี้วัด ส่วนใหญ่ก็ผ่าน และผ่านแบบมีเงื่อนไข ...ก็คงต้องแก้ไขปรับปรุงกันต่อไป...

ทีมประเมินจาก สปสช. (ทีมต่าง CUP  )

และการประเมินครั้งล่าสุด (น่าจะเป็นการประเมินครั้งสุดท้าย ในปีงบประมาณนี้) เป็นการประเมินการขึ้นทะเบียน ดำเนินงานศูนย์แพทย์ชุมชน (CMU) ซึ่งเน้นให้มีแพทย์มาให้บริการที่สถานีอนามัย ร่วมคิด ร่วมทำ มีการดำเนินงานที่มากกว่างานประจำ...(ตามคำชี้แจงของอาจารย์...ที่ดูแล จากสปสช. สาขา ที่จังหวัดขอนแก่น) การประเมินเป็นภาพรวมทั้งจังหวัด โดยการนำเสนอผลงาน...ของแต่ละแห่งที่ดำเนินงานศูนย์แพทย์ชุมชน  ....ก็คงต้องร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมดำเนินการกันต่อไป (ไม่ได้ร่วมนำเสนอ ..เนื่องจากวันนั้นมีการประชุมหลายอย่าง หลายงาน        ต้องแบ่งเจ้าหน้าที่อยู่ดูแลผู้ป่วยที่สถานีอนามัย ...จึงรับหน้าที่นี้ ..เพราะต้องอยู่เวรนอกเวลา)

ก่อนจบ...กิจกรรมอีกอย่างหนึ่งของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย คือการไปร่วมประชุม อบรม ...ในงานต่าง ๆ เพราะเราเป็นกลุ่มเป้าหมายของการอบรม ...ผู้จัด ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และอื่น ๆ  ...ช่วงปลายปีงบประมาณมีการอบรมหลายอย่าง เพื่อเตรียมวางแผนการทำงานในปีต่อไป

คราวหน้าจะเล่าเรื่องกิจกรรมการอบรมแนวใหม่ ...ที่ผู้ปฏิบัติงานอย่างเราสามารถนำไปใช้ได้...

สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องปฏิบัติเอง ....ขอบคุณค่ะ

อาหารเที่ยงหมออนามัย...กินอย่างมีคุณค่า .. !!!

หมายเลขบันทึก: 195233เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2008 11:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ดูจานอาหารข้างบนแล้ว กรรมการประเมินรับประทานเกลี้ยงเลย เชื่อว่า "ผ่านชัวร์" ครับ(แต่ถ้าทีมงานเป็นคนรับประทาน เหลือแต่จานไว้ให้ดู คงจะไม่ผ่านแน่ ๆ )
  • วันหลัง ลองสรุปงานแต่ละวันไว้ใน "อนุทิน" ของ G2K หรือจัดเตรียมไว้ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ จะสะดวกในการตรวจมากขึ้นนะครับ
  • ผมเคยลองให้กรรมการประเมิน เข้าไปตรวจสอบหรือนั่งดูฐานข้อมูลของผมเอง(ให้ login และ pw) ซึ่งมี 1) งานสอน  2) งานวิจัย  3) งานบริการทางวิชาการ 4) งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  และ 5)งานร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหรืองานที่ได้รับมอบหมายอื่น ๆ ซึ่งฐานข้อมูลทั้ง 5 รายการ ผมสรุปเป็นประจำทุกสัปดาห์ ๆ ละ 30 -40 นาที   ปรากฏว่า กรรมการตัดสินให้คะแนนได้ง่ายขึ้นครับ เราเองก็ไม่ต้อง      เตรียมเอกสารเป็นกองมหึมา สะดวกมากครับ   ปรากฏว่า กรรมการดูตัวอย่างผลงานอาจารย์ประมาณ 4-5 คน(จากฐานข้อมูลของแต่ละคน) ตัดสินผลได้เลยครับ

สวัสดีค่ะดร. สุพักตร์

  • คงต้องจัดระบบการสรุปผลงานประจำวันใหม่ตามคำแนะนำแล้วล่ะค่ะ เพราะปัจจุบัน ได้บันทึกประจำวันเป็นสมุดบันทึกความดี มีรายละเอียดว่าเราทำอะไรบ้าง (ความดี) ในแต่ละวัน เขียนใน file excel ค่ะ แล้วปริ๊นเป็นเดือน ๆ เก็บไว้
  • หน่วยงานให้ทำ Portfolio ซึ่งมีหลายหัวข้อ รวมบันทึกความดีด้วย
  • จะลองเรียนรู้ที่จะบันทึกในอนุทิน (ซึ่งยังไม่ได้ลองทำดู)
  • ประโยชน์ที่ได้จากการบันทึกใน G2K ที่ได้ทำไปแล้ว คือเรื่องเล่า จาก PCU (ผลงานของสอ. )ปริ๊นรวมเรื่องเป็นเล่ม ส่ง สสจ. ยังไม่ได้รับการตอบกลับเลยค่ะ แต่ก็คิดว่า น่าจะดี ..(เข้าข้างตัวเอง..อิ อิ)
  • จะรอฟังคำแนะนำดี ดี อีกนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ

ดอกรำเพยหน้าบ้าน ...ออกดอกให้ได้ชื่นชมทั้งปีค่ะ

  • มาให้กำลังใจพี่เรา
  • ดีใจที่พี่เขียนออกมาเรื่อยๆๆ
  • คาดว่าการประเมินคงผ่านไปได้ด้วยดี
  • ขอเอาใจช่วยครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ขจิตที่รัก..ของหลายคน

  • ดีใจหลาย..ที่มาให้กำลังใจ
  • ก็กำลังรอ รางวัล..จากอาจารย์ คนเก่งอยู่นี่คะ
  • เลยต้องพยายามเขียนออกมาเรื่อย  ๆ ..อิ อิ
  • ขอบคุณค่ะ

สนุกกับงานนะครับ อ่านแล้วมีความสุขร่วม

ว่าแต่ว่าคุณหมอไม่รู้จักป่วยด้วยหรือครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ กร มกุชะ

  • ก้อ ! สนุก ค่ะ ได้พบปะผู้คนมากมาย
  • ได้ใช้ความรู้ ...ได้สัมผัสชีวิตจริง ๆ
  • ดีใจค่ะที่มีความสุขร่วม
  • .........
  • ป่วยบ้างนะค่ะ แต่เล็กน้อย...
  • กินยาสมุนไพร ก็หาย...อิ อิ
  • ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน  ยาอมมะแว้ง
  • ขอบคุณค่ะ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท