การจำแนกประเภทผู้ป่วย : ข้อคิดเห็นจากกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้


การจำแนกประเภทผู้ป่วย : ข้อคิดเห็นจากกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ส่วนนี้เป็นข้อคิดเห็นจากกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับการจำแนกประเภทผู้ป่วย :

1. คู่มือจำแนกประเภทผู้ป่วย

1.1 มีความละเอียด สามารถนำมาใช้ในผู้ป่วยแต่ละกลุ่มแต่ละประเภทได้

1.2 มีความยุ่งยากในการจำต้องใช้เอกสารประกอบในการจำแนกผู้ป่วยแต่ละราย

1.3 น่าจะมีการสรุปสั้นๆ ให้เข้าใจง่ายเพื่อให้ง่ายต่อการจำแนก โดยเฉพาะกลุ่มโรคต่างๆ

1.4 คู่มือจำแนกประเภทผู้ป่วยมีความละเอียด และเหมาะสมในการนำมาใช้จำแนก

1.5  แบบบันทึกการจำแนกประเภทผู้ป่วย ศ.1 เข้าใจง่ายกว่า พยบ.064

1.6 3จ   3ก  5ค   5จ  CCU  มีคู่มือจำแนกประเภทผู้ป่วยแต่ไม่ได้ใช้เนื่องจากใช้เวลามาก แต่มีการจำแนกประเภทผู้ป่วยทุกเวร แต่ไม่ได้ลงรายละเอียดเป็นรายข้อ จะใช้ความรู้เรื่องการจำแนกประเภทผู้ป่วยแล้วสรุปเป็นตัวเลขระดับผู้ป่วยเลยว่าเป็นระดับใด

1.7 แบบประเมินที่มีอยู่ดีมาก แต่ปฏิบัติได้ยาก ต้องใช้เวลาลงรายละเอียดนาน

1.8 ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติมีดังนี้

* หอผู้ป่วยที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก ให้แต่ละทีมรับผิดชอบลงข้อมูลเพราะทราบอาการผู้ป่วยมากกว่าผู้อื่น

* หอผู้ป่วย CCU มีผู้ป่วย 8 เตียงจึงไม่มีปัญหาในการจำแนกประเภทผู้ป่วย

* การจำแนกประเภทผู้ป่วย  ควรสรุปให้เป็นแผ่นเดียวในผู้ป่วยแต่ละกลุ่มเพื่อเป็นแนวทางที่สะดวกในการจำแนกได้เร็วขึ้นเหมือนตัวอย่างของแผนกการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ

2. วิธีการประเมินในแต่ละเวร

2.1 หัวหน้าทีมเป็นผู้จำแนกประเภทผู้ป่วยในทีมที่ตนเองดูแล แล้วให้หัวหน้าเวรนำข้อมูลมารวบรวมไว้

2.2 ให้หัวหน้าเวรเป็นผู้สรุปช่วงปลายเวรของแต่ละเวร

2.3  กรณีที่จำไม่ได้สามารถนำคู่มือมาเปิดดูได้

2.4 ใช้ความจำว่าแต่ละหมวดประกอบด้วยอะไรบ้าง แล้วนำมาสรุปประเภทผู้ป่วย

2.5 วิธีการจำแนกในแต่ละเวร จำแนกตามอาการโดยใช้แบบประเมิน และเพื่อความสะดวกในการประเมินแต่ละเวรให้เปลี่ยนเฉพาะหมวดที่มีการเปลี่ยนแปลง

2.6 พยาบาลหัวหน้าเวรสรุปแต่ละเวรโดยประเมินโดยสรุป

2.7 แยกให้หัวหน้าทีมแต่ละทีมประเมินตามแบบ ศ.1 (3ข) โดยใช้คู่มือจำแนกประเภทผู้ป่วยแบบย่อ

2.8 หัวหน้าทีมแต่ละทีมสรุปประเภทผู้ป่วยตามอาการ

2.9 หัวหน้าเวรเป็นผู้สรุปประเภทผู้ป่วยแต่ละเตียงโดยไม่ได้แจงรายการ

2.10 ใช้เทคนิคที่เหมาะสมแต่ละหน่วยงาน และลงข้อมูลให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง

3. การสรุปประเภทผู้ป่วย

3.1 สรุปตาม mode ไม่นำมาหาค่าเฉลี่ย กรณีมีค่าต่างกัน 2 ค่าเลือกลงค่าที่สูงกว่า

3.2 ยังไม่มีความเที่ยงตรงเนื่องจากผู้ประเมินไม่มีความเข้าใจ

3.3 การสรุปประเภทผู้ป่วย ใช้วิธีนำ 12 กิจกรรม แล้วนับคะแนนที่มีจำนวนมากที่สุดเป็นผู้ป่วยประเภทนั้น

3.4 ใช้ความชำนาญประกอบกับคู่มือจำแนกประเภทผู้ป่วย

3.5 ลักษณะของผู้ป่วยที่จำแนกออกมาอาจไม่ตรงกับการปฏิบัติจริงในคลินิก โดยเฉพาะผู้ป่วยทางจิตเวช ควรให้ความสำคัญทางด้านจิตใจมากกว่าทางกาย

 

4. ผลการทดลองจำแนกประเภทผู้ป่วยจากผู้ป่วยกรณีศึกษา

มีความหลากหลายในประเภทผู้ป่วยทั้ง 2 กรณี เนื่องจากไม่สามารถทราบอาการโดยละเอียดเหมือนจำแนกประเภทผู้ป่วยจริงๆ และอาการของผู้ป่วยสามารถประเมินได้ละเอียดตามประสบการณ์ของผู้จำแนก ผลการจำแนกประเภทผู้ป่วยทั้ง 2 กรณีจึงจำแนกเป็นทั้งผู้ป่วยประเภท 3-4-5 ซึ่งมีความหลากหลายและแตกต่างกันมาก

 

ข้อควรคำนึงจากกลุ่ม

       1. กรณีผู้ป่วยหนักและถึงแก่กรรมช่วงท้ายเวร ไม่ได้ลงข้อมูล

       2. กรณีผู้ป่วยหนักท้ายเวรแล้วย้ายลง ICU

       3. กรณีผู้ป่วยหนักท้ายเวรแล้วถึงแก่กรรมหรือย้ายลง แล้วรับผู้ป่วยใหม่เข้ามาเป็นผู้ป่วยอีกประเภทหนึ่งซึ่งเบา

       ซึ่งกรณีเหล่านี้ทำให้การลงข้อมูลภาระงานคลาดเคลื่อน จะมีวิธีการอย่างไรที่จะเก็บข้อมูลได้ทั้งหมด

แต่ละหอผู้ป่วย หน่วยงาน นำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมในแต่ละบริบทนะคะ 

 

หมายเลขบันทึก: 195124เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2008 18:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • อยากได้สูตรคำนวณ productivity จังเลยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ ป้าแดง

  • ทำข้อมูลหา Productivity ให้แล้วนะคะ ที่นี่ ค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

ต้องการทราบวิธีการจัดแบ่งประเภทผู้ป่วย 5 ประเภท ใช้เกณฑ์การแบ่งอย่างไร

ขอบพระคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท