พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์


ประวัติศาสตร์ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ปราสาทพระวิหาร

 พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์

         พล ตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 11 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาพึ่ง ประสูติเมื่อ วันอังคารที่29 ธันวาคม 2400

         สมัยที่เป็นข้าหลวงต่าง พระองค์ มณฑลอีสาณ ร. ศ.112 - 129 นั้นยังมีพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นและกรมขุน โดยลำดับ ประทับที่อุบลราชธานี  พระองค์เคยดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในราชการทั้งฝ่ายทหาร และพลเรือนมามากจนเป็นนายพลและปลัดทัพบกเป็นอธิบดีศาลฎีกา และกรรมการตรวจความศาลฎีกา เป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการมาแล้วเมื่อมีราชการสำคัญขึ้นก็ต้องเสด็จไป จัดการตามที่ทรงไว้วาง พระราชหฤทัยตรัสใช้ ต้องทำหน้าที่จเรเป็นข้าหลวงไปส่งกองทัพซึ่งยกไปปรามฮ่อข้าศึกที่มาย่ำยี่ พระราชอาณาเขตทางเมืองหลวงพระบาง ตั้งอยู่ที่เมืองพิชัย

          หลัง จากนั้นก็ต้องเสด็จไปเป็นข้าหลวงใหญ่ ที่มณฑลนครราชสีมา เมื่อ ร. ศ.112 แล้วได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงต่างพระองค์มณฑลอีสาณ ในปลายปีนั้นเอง

          ทรงใฝ่พระทัยในราชการ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน อยู่มิได้ขาดไม่ย้อท้อต่อความลำบากแต่อย่างใด อาศัยสติปัญญา วิริยะอุตสาหะ ไม่ประมาท จึงสามารถเห็นการไกลและอุบายวิธีที่ถูกต้องทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ การปกครองของพระองค์ก็เป็นไปโดยธรรมและมีประสิทธิภาพ เหมาะสมแก่ภาวะของบ้านเมือง และความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นอันมาก

          อีกทั้งเป็นผู้ค้้นพบปราสาทพระวิหาร ซึ่งอยู่ในเขตการปกครองของประเทศไทย ขึ้นอยู่กับบ้านภูมิซรอล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ (ค.ศ.1899, ร.ศ.-118) และเมื่อ พ.ศ. 2442 พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้เสด็จไปยังปราสาทแห่งนี้ และทรงขนานนามว่า "ปราสาทพรหมวิหาร" ซึ่งต่อมาเรียกกันทั่วไปว่า "ปราสาทพระวิหาร" ซึ่งพระองค์ได้จารึก ร.ศ. และพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดีว่า 118 สรรพสิทธิ

          ในปีที่เกิดขึ้นตอนปลายปี ร. ศ.11 9 นั้นเอง ยังความตื่นกลัวด้วยเชื่องมงายให้หายไป ประชาชนมีแก่ใจทำมาค้าขาย ติดต่อกันได้ทั่วมณฑลจนเจริญเป็น ปึกแผ่นขึ้นมาก เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติทั้งทางการทหาร การตำรวจการปกครอง การศาล การคมนาคม และราชการทั่วไปทรงทนุบำรุงพระศาสนา การศึกษา และการทำมาหากินโดยชอบของประชาชนจนเป็นที่เคารพรัก ของประชาชนทั่วไป เมื่อสถานะการณ์เป็นที่วางพระราชหฤทัยได้แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จกลับกรุงเทพฯ และให้เป็นเสนาบดีกระทรวงวัง เมื่อต้นปี ร. ศ.129 ก่อนเสด็จสวรรคตเพียง 6 เดือน เท่านั้น

          ในต้นรัชกาลที่ 6 ได้เลื่อนยศขึ้นเป็นกรมหลวงและเมื่อกราบถวายบังคมลาออกจากราชการ เพราะทรงพระชราและพระอนามัยไม่สมบูรณ์ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งไว้ในที่สมุหมนตรีเสนาบดีที่ปรึกษาราชการ ในพระองค์ อันเป็นตำแหน่งใหม่ ไม่ต้องมีกระทรวง

          สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2465 พระชันษา 65 ปีเป็นต้นราชสกุลชุมพล ในเจ้าจอม มารดาพึ่ง ในรัชกาลที่ 4 มณฑลทหารบกที่ 6 ปรารภพระคุณข้างต้นนี้ด้วยความร่วมมือของข้าราชการ และประชาชน ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต สร้างพระรูปนี้ไว้เป็นอนุสาวรีย์ จารึกพระเกียรติคุณไว้ให้ปรากฎเป็นที่เคารพ สักการะแก่สาธุชนสืบไป ประดิษฐานไว้ ณ ค่ายสรรพสิทธิ์ฯ เมื่อ พ. ศ. 2506 สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จ ฯ เปิดอนุสาวรีย์ พล. ต. พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ณ ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ อ. วารินชำราบ จ. อุบลราชธานี เมื่อ วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2526 มทบ.22 กำหนดให้วันที่ 3 เมษายน ของทุกปีเป็นวันที่ระลึกกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ( วันที่ 3 เมษายน 2465 เป็นวันสิ้นพระชนม์ของ พล. ต. พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์)

หมายเลขบันทึก: 194672เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2008 06:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 04:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สักวา เป้ยตาดี มีลิขิต
ร้อยสิบแปด สรรพสิทธิ นิมิตหวัง
ประกาศให้ ใครใครรู้ สูจงฟัง
พระวิหาร ทั้งหลัง บนฝั่งไทย

นับแต่นั้น ผ่านมา คราบัดนี้
ร้อยเก้าปี มีคง ยังสงสัย
หายไปแล้ว ฤๅยังยืน บนผืนไทย
รีบเร่งให้ ปักปัน กันเถิดเอย.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท