แนวทางการจัดทำผลงานทางวิชาการ


ผลงานทางวิชาการ คือ เอกสารหรือหลักฐาน ใด ๆ ที่สร้างขึ้นจากการศึกษา ค้นคว้า รวบรวม เรียบเรียง วิเคราะห์หรือสังเคราะห์ ซึ่งแสดงถึงความชำนาญการหรือความเชี่ยวชาญในการสอน หรือการนิเทศหรือการบริหารสถานศึกษาของผู้จัดทำผลงาน และได้นำไปใช้ในการพัฒนางานในหน้าที่

แนวทางการจัดทำผลงานทางวิชาการ

 

1. เนื้อหาที่สนใจ  แนวทางในการจัดทำผลงานทางวิชาการ

 

2. สาระสำคัญของเนื้อหาโดยสรุป  ผลงานทางวิชาการ คือ เอกสารหรือหลักฐาน ใด ๆ ที่สร้างขึ้นจากการศึกษา ค้นคว้า รวบรวม เรียบเรียง วิเคราะห์หรือสังเคราะห์ ซึ่งแสดงถึงความชำนาญการหรือความเชี่ยวชาญในการสอน หรือการนิเทศหรือการบริหารสถานศึกษาของผู้จัดทำผลงาน และได้นำไปใช้ในการพัฒนางานในหน้าที่  เช่น  ถ้าเป็นผลงานทางวิชาการของครู  ก็จะหมายถึง เอกสารหรือหลักฐานที่แสดงถึงความชำนาญการหรือเชี่ยวชาญในการสอน ถ้าเป็นผลงานทางวิชาการของศึกษานิเทศก์ ก็จะหมายถึง เอกสารหรือหลักฐานที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญในการนิเทศการศึกษา และถ้าเป็นผลงานทางวิชาการการของผู้บริหารสถานศึกษา ก็จะหมายถึง เอกสารหรือหลักฐานที่แสดงถึงความชำนาญการหรือเชี่ยวชาญในการบริหารสถานศึกษา  เป็นต้น 

ก.ค.ศ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการประเมินผลงานวิชาการไว้ว่า ผลงานทางวิชาการที่ดีและผ่านการประเมินจะต้องมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ

1.   มีคุณภาพ   ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพจะต้องมีความสมบูรณ์ถูกต้องตามหลักวิชาการกับความคิดสร้างสรรค์และผลงานทางวิชาการนั้น

2.   มีประโยชน์  ผลงานทางวิชาการจะต้องมีประโยชน์ต่อนักเรียน นักศึกษา หรือเป็นประโยชน์ความก้าวหน้าในวงวิชาการหรือวิชาชีพครู

ประเภทของผลงานทางวิชาการ

            ก.ค.ศ.ได้กำหนดประเภทของผลงานทางวิชาการที่เสนอขอ ให้แสดงถึงความรู้ ความ สามารถ ความชำนาญการ และความเชี่ยวชาญ ของผู้ขอให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ซึ่งแบ่งตามลักษณะของผลงานทางวิชาการเป็น 3 ประเภท ดังนี้
          1. ผลงาน งานแต่ง เรียบเรียง งานแปล หนังสือหรือเขียนบทความทางวิชาการ  ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับการพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว และผลงานดังกล่าวสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

          2. ผลงานวิจัย  ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ได้รับการพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว และผลงานดังกล่าวสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาและการ พัฒนาคุณภาพการศึกษา

          3. ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น เช่น

                   3.1 การประเมินงาน หรือการประเมินโครงการที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่

                   3.2  สื่อ นวัตกรรมทางการศึกษา เช่น ผลงานด้านการจัดทำสื่อการเรียนการสอน ผลงานด้านการคิดพัฒนารูปแบบนวัตกรรมที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงานทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งอาจจัดทำเป็นเอกสาร หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ รวมทั้งเทคนิค วิธีการจัดการเรียนรู้อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

                   3.3  เอกสารประกอบการปฏิบัติหน้าที่เป็นเอกสารที่สามารถใช้ประกอบในการปฏิบัติหน้าที่ทั้งด้านการเรียนการสอน บริหารจัดการศึกษา และการนิเทศการศึกษา ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานในหน้าที่ให้สูงขึ้น สำหรับแผนการจัดการเรียนรู้ให้ใช้เป็นเอกสารประกอบการประเมินคุณภาพปฏิบัติงานเท่านั้นมิให้นำมาใช้เสนอเป็นผลงานทางวิชาการ


3. แง่คิดที่ได้จากเนื้อหา เมื่อศึกษา แนวทางในการจัดทำผลงานทางวิชาการ  ตามประเภทของผลงานทางวิชาการ และขอบข่ายของผลงานทางวิชาการตามคู่มือการประเมินผลงานทางวิชาการ ดังกล่าวแล้ว  ทำให้ทราบแนวทางในการพัฒนา  จัดทำผลงานทางวิชาการ  แต่ละชนิด  ประเภท  เพื่อขอรับการประเมินวิทยฐานะได้

 

 

                        วิชัย  กันสุข บันทึก

 

 

...........................................................................

 

บรรณานุกรม

 

                    เจริญ  บางเสน  ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคใต้

 

หมายเลขบันทึก: 194388เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2008 20:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มีกรอบในการเขียนผลงานวิชาการประเภทต่าง ๆ จะทะยอยส่งขึ้นบนเว็บไซต์ Web for share นะคะ เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อเครือข่ายการพัฒนาครูของ ผอ. ค่ะ

ขอบคุณ มากครับ...ถ้ามีเนื้อหาเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา(R&D)บ้างก็จะดีมากครับ

อยากได้แนวไหนคะ มีเอกสาร PDF เกี่ยวกับงานวิจัยอยู่หลายเรื่อง (ไม่แน่ใจว่าเรื่องไหนเป็น R&D บ้าง)ท่านผอ. ลองดูประชาสัมพันธ์หน้าเว็บไซต์นะคะ จะพยายามหาไฟล์ขึ้นให้ แล้วจะแจ้งทางเว็บไซต์ค่ะ

ขอแจม ด้วยคนครับ

การจัดทำผลงานทางวิชาการมีด้วยกัน 2 ส่วน ใหญ่ โดย ส่วนที่ 1 เป็นการรายงานผลการปฏิบัติงานของตนเอง ว่าได้ผลเป็นอย่าง ( มีตั้งแต่ประวัติเป็นต้นไป จนถึงผลที่เกิดกับผลเรียน เป็นต้น )

ส่วนที่ 2 เป็นผลงานทางวิชาการ ซึ่งมีหลายประเภทแต่สำหรับครู ผู้บริหาร ควรมีนวัตกรรม ซึ่งต้องผ่านกระบวนการวิจัยจึงจะถึงว่าเป็นที่ยอมรับ

ปัญหาอยู่ที่ว่า เราจะหานวัตกรรมอย่างไร อะไร แล้วจะดำเนินการอย่างไร นี้ที่เป็นปัญหาอยู่ เมื่อสร้างนวัตกรรมแล้วรู้ได้อย่างไรว่ามีคุณภาพ จะหาใครช่วยตรวจ แล้วการสร้างเครืองมือของเราอย่างไรอีก สำหรับครูแล้วเป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันคิด อีกประเด็นจะเขียนรายงานอย่างไร ของสำนักใดจึงจะถูกอกถูกใจ

ขอกรอบการเขียนสมรรถณะหลักและการเขียนรายงานของวิทยะฐานเชียวชาญบ้างไหมคะ ดิฉันกำลังคิดว่าจะส่ง แต่ยังไม่มีแนวทางที่จะเขียนเลย หวังว่าคงจะได้รับความกรุณาจากท่านผู้รู้นะด่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท