บันทึกนี้ใช้ชื่อว่า “ทบทวนเพื่อพัฒนา”


บทเรียนเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าอย่าไว้วางใจนักกับเทคโนโลยี

อันที่จริงแล้วพื้นที่พัทลุงแหม่มมีโอกาสได้ลงมาสัมภาษณ์ข้อมูลรอบหนึ่งแล้วระหว่างวันที่ 19 21 มิ.ย.51 (โดยมีพี่ภีม อ.ตุ้ม พี่รัช และแหม่มร่วมขบวนด้วย) ซึ่งแหม่มก็ยังจับต้นชนปลายเรื่องราวในพื้นที่ได้ไม่ดีเท่าไหร่นัก อาจเพราะตัวเรานั้นยังไม่ค่อยได้หยิบจับเอาเรื่องราวของพื้นที่พัทลุงที่ขับเคลื่อนผ่านมาแล้ว หรือข้อมูลบริบทต่าง ๆ แหม่มไม่ได้เตรียมตัว เตรียมตนอ่านข้อมูลไปเบื้องต้นก่อน แต่ผลจากการได้ถอดเทปจากการสัมภาษณ์ข้อมูลบุคคลในพื้นที่ก็ช่วยแหม่มได้เยอะนะค่ะ (ร่วมด้วยช่วยกันกับพี่รัชถอดเทป ...พี่รัชสรุปประเด็นนะค่ะ(-ในส่วนการวิเคราะห์+สรุปประเด็นก็เป็นส่วนหนึ่งที่แหม่มจะต้องพัฒนาให้มากขึ้นและอย่างรวดเร็วด้วย-) ลองเข้ามาดูข้อมูลประเด็นจากการสัมภาษณ์ข้อมูลได้ที่นี่ http://km4fc.wu.ac.th )

            ครั้นการลงพื้นที่รอบที่ 2 ก็ได้มาถึงระหว่างวันที่ 7 10 กรกฎาคม 2551 มีพี่รัช (รัชนี สุขศรวรรณ) น้องโอม พลวิชญ์ ทรัพย์ศรีสัญจัย (ผู้ช่วยอ.ปัทมาวดี) และแหม่ม ซึ่งการลงพื้นที่ครั้งนี้ประเด็น คือ การพูดคุยกับหน่วยงาน พมจ. ที่เกี่ยวข้อง โดยการติดต่อประสานงานของพี่โต นักวิจัยพัทลุงค่ะ กำหนดการที่ทราบเบื้องต้นก่อนลงมาพื้นที่

1)   วันที่ 7 กรกฎาคม 2551 สัมภาษณ์ข้อมูล พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพัทลุง (พมจ.พัทลุง) ตั้งแต่ 09.00 น. เป็นต้นไป

2)      วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 สัมภาษณ์ข้อมูล ศูนย์พัฒนาสังคมหน่วย 34 พัทลุง (ศพส.)ตั้งแต่09.30 เป็นต้นไป

3)   วันที่ 9 ภาคเช้า นัดสัมภาษณ์ข้อมูลกับ สปสช.ที่หาดใหญ่ ภาคบ่าย ร่วมเวทีการประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคมสวัสดิการภาคประชาชนสงขลา ครั้งที่ 7/2551 ณ สมาคมสวัสดิการภาคประชาชนสงขลา

4)   วันที่ 10 เวทีขับเคลื่อนกองทุนส่งเสริม การจัดสวัสดิการสังคมสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง กำหนดการตั้งแต่เวลา 09.00 16.30 น.

 

วันที่ 7 กรกฎาคม 2551 สัมภาษณ์ข้อมูล พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพัทลุง (พมจ.พัทลุง) ตั้งแต่ 09.00 น. เป็นต้นไป มีการเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงเวลาการนัดสัมภาษณ์ข้อมูลเป็นช่วง 13.00 น. แหม่ม พี่รัช และน้องโอม เลยไปหาร้านอินเตอร์เน็ตเพื่อตรวจเช็คข้อมูลที่ทางจันทบุรีส่งมาให้และไปนั่งทำงานที่ศูนย์ประสานงานเพื่อรอเวลาค่ะ

13.15 -15.00 น.สัมภาษณ์ข้อมูล โดยมีผู้ร่วมวงดังนี้ พี่แดง เครือวัลย์  แก้วนก(อนุกรรมการฯพัทลุงนักพัฒนาสังคม 6ว) พี่บล อุบล ทองสลับล้วน (อนุกรรมการฯพัทลุงนักพัฒนาสังคม 8ว)พี่โต เทพรัตน์ จันทพันธ์(นักวิจัย) พี่สาว ธิดา คงอาษา (ทีมวิจัย) น่าเสียดายนักที่เทคโนโลยีก็ทำให้เราสูญเสียฐานข้อมูล+ ภาพบรรยากาศที่บันทึกไว้จนได้ (บทเรียนเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าอย่าไว้วางใจนักกับเทคโนโลยี) (อิอิ แต่ตอนนี้กู้คืนมาได้แล้วงั้นดูภาพบรรยากาศที่แหม่มนำมาฝากกันนะค่ะ)แหม่มจึงขอศึกษาจากเอกสาร ผนวกกับที่ได้บันทึกด้วยลายมือของตนเอง สรุปบันทึกที่คิดว่าไม่ค่อยจะน่าอ่านนัก (^_^) เพื่อเป็นการทบทวนข้อมูล เพื่อให้ตนเองได้รู้จัก พมจ.มากขึ้น นะค่ะ

 

   พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพัทลุง

หน้าที่ความรับผิดชอบ

            สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพัทลุง เป็นราชการส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม การสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการพัฒนาสังคม การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตสถาบันครอบครัวและชุมชน อำนาจหน้าที่ คือ

1)      ศึกษาวิเคราะห์และรายงานสถานการณ์สังคมและเศรษฐกิจเพื่อการกำหนด นโยบายระดับจังหวัด รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไข

2)   ประสานและจัดทำแผนงาน โครงการและกิจกรรมด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ของจังหวัดให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวง

3)      ส่งเสริมและประสานการดำเนินงานการจัดกิจกรรมต่างๆ  ตามภารกิจเป้าหมายของหน่วยงานในกระทรวง

4)      ส่งเสริมสนับสนุนและประสานการดำเนินงานกับองค์กรเครือข่ายในจังหวัดทั้งภาครัฐและเอกชน

5)   ส่งเสริมประสานงานและดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมรวมทั้งส่งต่อให้หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดสวัสดิการสังคมตามกฎหมาย

6)      เป็นศูนย์ข้อมูลด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระดับจังหวัด

7)   เผยแพร่ประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้มีการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งความก้าวหน้าทางวิชาการและผลการปฏิบัติงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

8)      ปฏิบัติร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดสวัสดิการสังคม(ที่เป็นประเด็นงานวิจัยฯ) ตาม พรบ.ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546 กำหนดให้คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอนโยบาย มาตรการ และแผนการจัดสวัสดิการสังคมของจังหวัดต่อคณะกรรมการ มาตรา 20 ให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งรับผิดชอบในงานคณะกรรมการการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัด และให้มีหน้าที่การจัดทำแผนการจัดสวัสดิการสังคมเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัด

            ภาพงานภายในของ พมจ.พัทลุง ที่แหม่มพอจะจับประเด็นจากการสัมภาษณ์ข้อมูลได้ในเวทีนะค่ะ

1)      งานสวัสดิการสังคมลักษณะกองทุน จะมีพี่แดง เครือวัลย์  แก้วนก รับผิดชอบหลัก

ในส่วนนี้ มีการแต่งตั้ง โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานทุกอนุกรรมการฯ

            ฝ่ายนโยบาย(งบประมาณจาก กสจ.ชาติ)

         อนุกรรมการฯวิเคราะห์ รับรอง (เป็นประธาน)

         อนุกรรมการฯบริหารกองทุน(มีการประชุมหารือกันบ่อยๆ)

ฝ่ายแผน

         อนุกรรมการฯเฝ้าระวังเตือนภัยสังคม (มีทีมงานมาจากหลายภาคส่วนซึ่งเคยมีการจัดประชุม 1 ครั้ง)

         อนุกรรมการฯจัดการฐานข้อมูล (เชื่อมฐานข้อมูลกับ อบต.)

2)      งานสวัสดิการสังคมเชิงกลุ่มเป้าหมาย จะมีคุณจุฑารัตน์ รับผิดชอบ

3)   งานสวัสดิการสังคมพิทักษ์คุ้มครองสิทธิ์ (เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไป)ส่งเสริมประสานงานและดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม รวมทั้งส่งต่อหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

 

หน่วยงานย่อยที่แหม่มน่าจะทำความเข้าใจให้มากขึ้น(เพราะยังงุนงงและสับสนกับมันนัก)

อพม.

อพม.ย่อมาจาก อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) คือ อาสาสมัครที่ปฏิบัติงานด้านต่างๆ ในชุมชนอยู่แล้วและสนใจเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เพื่อท้องถิ่นของตนเอง
     
คุณสมบัติ อพม.  
  1. เป็นคนในชุมชน / หมู่บ้าน  
  2. บรรลุนิติภาวะ  
  3. สนใจและใส่ใจเรียนรู้ด้านการพัฒนาและด้านข้อมูลข่าวสาร  
  4. รักท้องถิ่น  
  5. เชื่อมั่่ันในแนวคิด พึ่งตนเอง  
  6. การศึกษาอ่านออกเขียนได้  
  7. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี และสามารถสื่อสารเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง  
  8. เอื้ออาทรและสนใจช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาในชุมชนและสังคม

หน้าที่/ภาระกิจ ของ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)

 

1. ชี้เป้า เฝ้าระวัง คือ การสำรวจและรวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมายและผู้รับบริการ การเฝ้าระวัง
การส่งเสริมและแก้ไขปัญหาด้านสังคมเบื้องต้น และการรายงานสถานการณ์ทางสังคมของชุมชน

 

2. เชื่อมกลุ่มเดิม เสริมสร้างกลุ่มใหม่
คือ การประสานงาน การส่งต่อผู้รับบริหารและการให้ความร่วมมือและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ส่วนราชการและเอกชนที่เกี่ยงข้อง

 

3. ร่วมใจทำแผนชุมชน
คือ ควรเป็นผู้ผลักดันหรือกระตุ้น ให้ชุมชนร่วมมือ ร่วมใจกัน ระดมความคิดเพื่อจัดทำแผนของชุมชนโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ เช่น การจัดทำแผนสวัสดิการชุมชน

 

 

 

ศพค.

 

            ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน เป็นศูนย์กลางในการเฝ้าระวังป้องกัน แก้ไข ส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ครอบครัว ให้คำแนะนำและมีการบริหารจัดการในรูปของคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนซึ่งประกอบด้วยตัวแทน/องค์กร/กลุ่มในชุมชนและตัวแทนเครือข่ายครอบครัว (กลุ่มครอบครัว 5-10 ครอบครัว)

            หน้าที่

1)      สำรวจ/ศึกษาปัญหา

2)      เผ้าระวัง ป้องกัน แก้ไขปัญหา/ให้คำแนะนำ (ยาเสพติด เอดส์ สิ่งแวดล้อมการค้าหญิงและเด็ก เศรษฐกิจ ฯลฯ

3)      พัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว

 

 

ส่วน ศพส.ลองติดตามอ่านบันทึก ทบทวนเพื่อพัฒนา ตอนต่อไปนะค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #พัฒนาตนเอง
หมายเลขบันทึก: 193902เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2008 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะหนูแหม่ม

แม้อาจารย์ตุ้มจะไม่ได้ไปลงพื้นที่พัทลุงด้วยครั้งนี้เพราะว่าติดภารกิจนำเสนอข้อค้นพบของงานวิจัยให้พม.ส่วนกลางที่กรุงเทพฯ (ต่อด้วยเวทีของศูนย์ปราชญ์ฯ มูลนิธิข้าวขวัญที่สุพรรณค่ะ) แต่ก็ส่งกำลังใจไปให้ตลอดนะคะ ที่สำคัญคือมั่นใจว่าพวกเรามีศักยภาพในการเรียนรู้และมีพลังในการเคลื่อนงานค่ะ...ประมาณว่า "ทำโลด" ..โดยเฉพาะมีพี่รัชอีกทั้งคน...ไม่ต้องให้เป็นห่วงเท่าไหร่เลยใช่ไหมจ๊ะ

รอติดตามอ่านข่าวคราวของพื้นที่พัทลุงตอนต่อไปค่ะ สู้สู้ ^-^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท