หนังสือเล่มนี้รออ่านและรอการปฏิบัติ


                    วันหยุดนำหนังสือในตู้มาอ่านเช่นเคย  วันเสาร์นี้หยิบหนังสือออกมาจากตู้ ๒ เล่ม ๆ แรกเป็นแผนรายงานผู้บริหาร และเล่มที่ ๒ เป็นแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าน่าน  ผมได้เขียนข้อความไว้ในปกในว่า ได้รับหนังสือมาเมื่อ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๙

                    ผมเขียนข้อความว่า  นพ.บุญยงค์  วงศ์รักมิตร  ผู้หลักผู้ใหญ่ที่พวกเราให้ความเคารพศรัทธาเสมอมา กล่าวว่า " หนังสือเล่มนี้ รอการอ่าน และ รอการปฏิบัติ " ในวันที่รับหนังสือมามีการประชุมคณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน  ได้ผมขีดเขียนว่า  ควรตั้งทีมอ่าน  ทีมสื่อสาร

                    อันที่จริงคณะอนุกรรมการฯ  ไม่มีชื่อผมหรอกครับ  เมื่อผู้หลักผู้ใหญ่ให้หนังสือมาผมนำมาใส่ตู้หนังสือไว้  จังหวะเหมาะจะเอามาอ่าน   การได้อ่านในวันนี้อีก  ทำให้ผมนึกถึงเรื่องการเตรียมประชุมร่วมแก้ไขปัญหาป่าไม้ที่ดิน จ.น่าน

                    ปัญหาต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากคนเราไม่ค่อยอ่าน  เมื่อไม่อ่านก็ไม่รู้ทั้ง ๆ ที่พวกเขาเหล่านี้มีอำนาจหน้าที่   หรือหากอ่านก็ไม่พยายามที่จะทำความเข้าใจในบทบาทหน้าที่  และไม่พยายามที่จะสื่อสารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   ทำให้เสียโอกาสมากมาย ที่สำคัญเรื่องราวที่ศึกษามาเป็นเพียงหนังสือเท่านั้น   เมื่อถึงเวลาหนึ่งทำอะไรไม่ได้อีกแล้ว  หรือหากจะทำเนื่องจากล่วงเลยเวลามานาน ข้อที่ศึกษาจึงทำได้ยากยิ่งขึ้น

                    ผมคิดว่า  พวกเราควรได้อ่านและนำเสนอไปตามสื่อต่าง ๆ และไปยังผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง โดยขีดเขียนหรือสื่อสารแบบง่าย ๆ   เพื่อว่าข้อที่ศึกษามาจะได้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป

                    หนังสือเล่มนี้เกิดจากการที่ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากระรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ว่าจ้างให้บริษัท ซินครอนกรุ๊ป จำกัด และบริษัท มรดกโลก จำกัด เป็นที่ปรึกษาในการจัดทำแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าน่าน ตามสัญญาจ้างที่ปรึกษา สัญญาเลขที่ ๒๒/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๔๗

                    คณะผู้ศึกษาจัดทำหนังสือ เมื่อ มิถุนายน ๒๕๔๘ โดยรายงานในหนังสือฉบับผู้บริหาร ประกอบด้วยเนื้อหาสาระรวม ๕ ส่วน คือ ( จำนวน ๓๖ หน้า )

                    ส่วนที่ ๑ กระบวนการศึกษาการจัดทำแผนและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน

                    ส่วนที่ ๒ การศึกษาเพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าน่าน

                    ส่วนที่ ๓ การศึกษาและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมพื้นที่เมืองเก่าน่าน

                    ส่วนที่ ๔ แผนและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า

                    ส่วนที่ ๕ สรุปและข้อเสนอแนะ

                    สำหรับหนังสืออีกเล่มเป็น แผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าน่าน  ใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำกับ ควบคุม เพื่อดูแลและคุ้มครองความเป็นเมืองเก่าที่สำคัญในอดีตให้คงคุณค่าของสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม วัฒนธรรมประเพณี และการสืบทอดอารยธรรมที่ยาวนานไว้   คณะผู้ศึกษาใช้กระบวนการศึกษาโดยสำรวจสภาพพื้นที่  ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง  การศึกษาเชิงลึกจากผู้รู้  ภูมิปัญญา การสำรวจจากประชาชน และรวมถึงการใช้กระบวนการรับฟังความคิดเป็น จนสามารถกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าน่านที่สำคัญ  ประกอบด้วย พื้นที่ใจเมืองน่าน และพื้นที่เวียงพระธาตุแช่แห้ง  รวมถึงเสนอให้ประกาศขอบเขตดังกล่าวให้เป็นเมืองเก่า ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า พ.ศ.๒๕๔๖  สาระสำคัญ คือ

                   - ประวัติศาสตร์และการพัฒนาของเมือง

                   - ศักยภาพพื้นที่เมืองเก่าน่าน

                   - วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน

                   - นโยบาย แนวทาง หลักการ วิธีการในการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน

                   - แผนและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน

                   - ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนและผังแม่บท

                   คณะผู้ศึกษาเขียนข้อความฝากไว้ว่า หวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานฉบับนี้จะเป็นแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่านที่มีความเป็นไปได้สูงสุด ภายใต้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ( เล่มนี้มีความหนา ๒ ซม.)

 

หมายเลขบันทึก: 193751เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2008 13:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

มติ ครม. วันอังคารที่20 กันยายน 2548 

 มติคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน เรื่อง คณะรัฐมนตรีพิจารณามติคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า เรื่อง การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน

ตามที่คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) เป็นประธานกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่าเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการฯ ทั้ง 3 ข้อดังนี้

1. การประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าน่าน และเวียงพระธาตุแช่แห้งเป็นพื้นที่อนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า

2. แผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าน่าน

3. การแต่งตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน ดำเนินงานในพื้นที่เมืองเก่าน่าน โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ ทั้งนี้ คณะกรรมการ ฯ ชี้แจงว่า สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ ได้จัดทำแผนแม่บทและมีหัวแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองน่านเก่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1. วัตถุประสงค์

1.1 เพื่อให้มีการอนุรักษ์อาคาร สถานที่ คูน้ำ-คันดินและกำแพงเมือง ศาสนสถาน รวมทั้งภูมิทัศน์ ที่มีคุณค่าและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและสถาปัตยกรรม และสภาพแวดล้อมโดยรวม

1.2 เพื่อให้มีการพัฒนาในพื้นที่บริเวณเมืองเก่า มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนแม่บท การอนุรักษ์ รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเมืองเก่า

1.3 เพื่อให้บริเวณเมืองเก่าน่าน และเวียงพระธาตุแช่แห้ง ได้รับการคุ้มครอง ดูแลรักษาไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติตลอดไป

1.4 เพื่อให้มีองค์กรหลักในการบริหารจัดการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองน่าน

1.5 เพื่อให้เมืองเก่าน่าน และเวียงพระธาตุแช่แห้งได้รับการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีคุณภาพระดับชาติ/ประเทศ

2. ขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าที่ต้องเร่งร่างแผนอนุรักษ์และพัฒนา

2.1 พื้นที่ในเมืองน่าน เนื้อที่รวม 0.18 ตารางกิโลเมตร

2.2 พื้นที่เวียงพระธาตุแช่แห้ง เนื้อที่รวม 0.13 ตารางกิโลเมตร

3. ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์

3.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การกำหนดพื้นที่เมืองเก่าประกอบด้วย 3 กลยุทธ์

3.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างกลไกการบริหารจัดการเมืองน่านเก่าและพื้นที่โดยรอบเชิงบูรณาการ ประกอบด้วย 8 กลยุทธ์

3.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างธรรมชาติ ศิลปกรรม และคุณภาพชีวิต ประกอบด้วย 1 กลยุทธ์

3.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การใช้ประโยชน์เมืองเก่าน่านอย่างรู้คุณค่าเพื่อประชาชนในเขตเมืองเก่า ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์

3.5 ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมการเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์

3.6 ยุทธศาสตร์ที่ 6 การส่งเสริมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารอนุรักษ์และพัฒนาเมืองน่านเก่า ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์

4. คณะกรรมการฯ ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 3/2548 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2548 เห็นชอบแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองน่านเก่าแล้ว ดังนั้น เพื่อให้บริเวณเมืองเก่าน่านได้รับการคุ้มครองดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม และดำรงคุณค่าความเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมสำคัญยิ่งของประเทศไว้ได้ ตลอดไป

ตามมาอ่าน เพื่อจะได้รู้จักชาวน่านมากยิ่งขึ้น

ด้วยความยินดีโอกาสต่อไปแวะมาเยือนอีกนะครับ ยินดีต้อนรับ

คุณเพิ่มสุข ขอขอบใจมากครับผม

ขอบคุณข้อความแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ให้ประโยชน์และสาระมากมายคะ

โหลดไม่ได้ครับ ไฟล์ไม่สมบูรณ์ เปิดได้แต่กิติกรรมประกาศหน้าเดียว

คุณเพิ่มสุขฯ ครับ  รับทราบและร่วมกันเผยแพร่  ขอขอบใจ ๑๐ มีนาึคม ๒๕๕๔

เท่าที่ติดตามมาถึงวันนี้ ปลายปี ๒๕๕๗ ต่อเนื่อง ๒๕๕๘ น่านนัวเนียไปหมด อย่างไรก็ดี รู้สึกดีใจที่กลุ่มอนุรักษ์เมืองเก่าเมืองน่าน ได้แสดงท่าทีชัดเจนทักท้วงเกี่ยวกับการทาสีถนน บริเวณเขตเมืองเก่า ทำให้ผิวจราจรลื่น สร้างความเดือนร้อนเสียหาย โจษขานอย่างมาก ว่า จะสร้างเมืองเก่าเป็นเมืองใหม่แล้วหรืออย่างไร ? ตามภาพ ช่วง ๘ -๑๑ มกราคม ๒๕๕๘ คุณอภิญญา เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา หรือดีเจ ปุ้ย ไปบันทึกภาพถนนทาสีเกิดปฎิกิริยา เป็นฟองทำให้ถนนลื่น เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้สัญจรระมัดระวังเป็นพิเศษ

เพิ่มเติมกระดานก่อนหน้า เนื่องด้วย ๘ - ๑๑ ม.ค.๒๕๕๘ เกิดฝนตก ทำให้สีที่ทาบนพื้นถนนเกิดปฎิกิริยาฯ เป็นฟอง ได้ค้นหาข้อมูลว่า ในระดับชาติล่าสุด ใครมานั่งหัวโต๊ะเรื่องเมืองเก่า ได้ข้อมูลตามข้อความต่อไปนี้. -

คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2557 มีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 120/2557 เรื่องมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

1.รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ)

1.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

1.2.5 คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า

คณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน พ.ศ.๒๕๕๘ ครับ อนุเมืองเก่าน่าน-58.pdf

คณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน พ.ศ.๒๕๕๘ (ปรับปรุงใหม่ครับ)

20150717195625.pdf

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท