ภาพพจน์


ภาพพจน์

ภาพพจน์

        ภาพพจน์คือการใช้ภาษาเพื่อให้กระทบใจผู้อ่าน   และเกิดอารมณ์สะเทือนใจ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดภาพในใจ (จินตภาพ)  โดยใช้ถ้อยคำภาษาที่ไม่กล่าวตรงๆ  ด้วยวิธีการต่าๆ เช่น

๑.ภาพพจน์อุปมา

๒.ภาพพจน์อุปลักษณ์

๓.ภาพพจน์บุคคลวัต

๔.ภาพพจน์อติพจน์

๕.ภาพพจน์สัทพจน์

๖.ภาพพจน์ปฏิพากษ์

๗.ภาพพจน์สัญลักษณ์

๑.ภาพพจน์อุปมา  

        เป็นการเปรียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่ง โดยนำสองสิ่งที่ต่างจำพวกแต่มีลักษณะเด่นเหมิอนกันมาเปรียบเทียบกัน ใช้คำแสดงความเปรียบว่า เหมือน  คล้าย  ดัง  ดั่ง  กล  อุปมา  เพียง ดุจ  ประดุจ เล่ห์  หรือคำอื่นๆ  ที่มีความหมายคล้ายนี้  ดังตัวอย่าง

                                  -  เด็ดแดดั่งเด็ดใย      บัวแบ่ง  มาแม่

                                  -  คุณแม่หนาหนักเพี้ยง       พสุธา

                               คุณบิดรดุจอา -                     กาศกว้าง

                               คุณพี่พ่างศิขรา                     เมรุมาศ

                                พระอาจารย์อ้าง                    อาจสู้สาคร

                                                                      (โคลงโลกนิติ)

                                 -  จำปาจำเปรียบเนื้อ     นางสวรรค์  กูเอย   

                                                    จำปา

 

                                 - ซ่อนกลิ่นกลิ่นแก้วซ่อน      นาสา  เรียมฤๅ

                            ตาดว่าตาดพัสตรา                   หนุ่มเหน้า

                            สลาลิงเล่ห์ซองสลา                 นุชเทียบ  ถวายฤๅ

                            สวาดดั่งเรียมสวาทเจ้า              จากแล้วหลงครวญ

                                                                        (.........)

ซ่อนกลิ่น

 

๒.ภาพพจน์อุปลักษณ์

            เป็นการเปรียบว่าสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง  โดยนำสิ่งสองสิ่งที่ต่างจำพวกกัน  แต่มีลักษณะเด่นเหมือนกันมาเปรียบเทียบกันเช่นเดียวกับอุปมา  แต่ใช้คำแสดงความเปรียบว่า  เป็น , คือ (ไม่ใช้ความเปรียบว่าเหมือน  คล้าย  ดัง  ฯลฯ อย่างอุปมา)  ดังตัวอย่าง           

                                   -  ลมพัดคือพิษต้อง        ตากทรวง   

                                   -  อินทนิลคือแข่งคม      เนตรแต้ม

                                   -   พ่อตายคือฉัตรกั้ง    หายหัก

                                   แม่ดับดุจรถจักร           จากด้วย

                                   ลูกตายบ่วายรัก           แรงร่ำ

                                   เมียมิ่งตายวายม้วย      มืดคลุ้มแดนไตร

                                                                           (โคลงโลกนิติ)

          บางครั้งอาจไม่ต้องใช้คำเปรียบเลยเลยก็ได้  ตัวอย่างเช่น

                                  -  โอ้เจ้าดวงสุริยันจันทราทั้งคู่ของแม่เอ่ย 

                                 แม่ไม่รู้เลยว่าเจ้าจะหนีพระมารดาไปสู่พาราใดไม่รู้ที่....

                                                                              (มหาเวสสันดรชาดก)

 

                                                    อินทนิล

 

๓.  ภาพพจน์บุคคลวัต

       หมายถึง  การสมมุติสิ่งไม่มีชีวิต  พืช  สัตว์  หรือความคิดที่เป็นนามธรรมให้มีความคิด ความรู้สึก และอาการแสดงออกอย่างมนุษย์ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น  ตัวอย่างเช่น

                                -  กรวดทรายกระจิริดเร่ร่อน      มาหลับนอนข้างขอนไม้ล้ม

                              กาละช้าหึงกลึงจนกลม           นานนมกว่าล้านปีปลาย

                                                                           (ลำนำภูกระดึง)        

                           

 

 

                                -  เราจักยินพิณทิพย์กระซิบว่า    

                             หลังจากฟ้าชอุ่มหมองด้วยร้องไห้

                             หลังพายุดุเดือดเหือดหายไป

                             ฟ้าจะแผ้วผ่องใสไร้ราคิณ

                                                                            (มปป.)

                               -  เสียงคลื่นโครมโถมตะครุบก้อนศิลา

                             จนหน้าตาแตกยับลงสับเงา

                                                                            (พระอภัยมณี)

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 193530เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2008 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นกำลังใจให้คุณครูค่ะ ;))

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท