"รวมบริการ ประสานภารกิจ"งานบริการวิชาการมวล. (1)


ทำในหน้าที่ให้ดีที่สุด

ปัญหาของรัฐไทย นอกจากเรื่องการเมืองที่ไม่มีอุดมการณ์แล้ว ยังเป็นปัญหาเรื่องการจัดการ

ด้วยความซ้ำซ้อนของระบบราชการที่นอกจากสิ้นเปลืองงบประมาณแล้ว ยังสร้างปัญหาให้กับคนทำงานและชุมชนด้วย

จะออกจากวังวนนี้อย่างไร?  เป็นคำถามที่ใหญ่เกินตัวมาก

ที่ทำได้คือ ทำในหน้าที่ให้ดีที่สุด

หน้าที่แรกคือ งานพัฒนาระบบรวมบริการประสารภารกิจงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

หน้าที่สองคือ งานวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการของภาครัฐในประเด็นองค์กรการเงินชุมชน

หน้าที่สามคือ งานวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการของภาครัฐเชิงพื้นที่ระดับจังหวัด ท้องถิ่นและหมู่บ้าน

หน้าที่แรก เป็นงานในมหาวิทยาลัยที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐที่ประกาศว่าจะเป็น
"องค์กรธรรมรัฐ เป็นหลักในถิ่นและเป็นเลิศสู่สากล"
โดยที่ผมเป็นเฟืองตัวหนึ่งของระบบในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สังกัดศูนย์บริการวิชาการ  ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่าย(ไม่เป็นทางการ)สนับสนุนงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยตั้งแต่เดือนพฤษภาคม2551เป็นต้นมา

ระบบงานที่นี่ใช้แนวทาง"รวมบริการ ประสานภารกิจ"ซึ่งเป็นวิธีการลดต้นทุนจากความซ้ำซ้อนและทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สูงกว่าที่อาจจะไม่ไปด้วยกัน       ถ้าจัดการไม่ดี เช่น รวมบริการรถยนต์ทั้งมหาวิทยาลัย บริการห้องเรียนรวมทั้งมหาวิทยาลัย ไม่แยกตามคณะตามที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ดำเนินการอยู่ ซึ่งเป็นประเด็นรวมบริการในภารกิจที่เป็นรูปธรรมเป็นเรื่องๆไปที่สามารถแยกแยะได้ง่าย

แต่ในเรื่องที่เกี่ยวโยงกันอย่างซับซ้อนมากขึ้น เช่น งานบริการวิชาการซึ่งเป็น1ใน4ภารกิจของมหาวิทยาลัย
จะใช้แนวทาง "รวมบริการ ประสานภารกิจ"ในการดำเนินการอย่างไร?
และมีเรื่องอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง?
เป็นภารกิจที่ผมได้รับมอบหมายหรือจะเรียกว่าผมอาสาเข้ามาทำให้เห็นเป็นรูปธรรม
ซึ่งในช่วงเวลาประมาณ2เดือนที่ผมและทีมงานได้ใช้การจัดการความรู้โดยแบบจำลองปลาทู
ดำเนินการจนได้(ร่าง)กลุ่มงานและคุณลักษณะของคนทำงานที่จะทำหน้าที่นี้คือ
สนับสนุนงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยตามแนวทาง"รวมบริการประสานภารกิจ" ร่วมกับหน่วยงานต่างๆในมหาวิทยาลัยอย่างเป็นระบบ ครบถ้วนและมีความชัดเจน ดังนี้

 

หมายเลขบันทึก: 193415เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2008 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เรียน ท่าภีม คงได้ F2F กันที่ กระบี่ นะครับ มมส กำลัง เตรียมการ โดย ท่าน ผอ.ต่อ รับไปครับ

  • ตามมาดูพี่ภีม
  • สนใจงานที่สามครับ
  • หน้าที่แรกคือ งานพัฒนาระบบรวมบริการประสารภารกิจงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

    หน้าที่สองคือ งานวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการของภาครัฐในประเด็นองค์กรการเงินชุมชน

    หน้าที่สามคือ งานวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการของภาครัฐเชิงพื้นที่ระดับจังหวัด ท้องถิ่นและหมู่บ้าน

ขอบคุณอ.JJครับ

ไม่ทราบว่าKM-LOด้วย(ABC)2โมเดลมีหน่วยงานใดเป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อนครับ

อ.ขจิตครับ

หน้าที่สามจะทยอยเขียน เบื้องต้นอาจารย์มีอะไรเล่าสู่กันฟังบ้างครับ

ปัญหาการจัดการรัฐไทย สมมติว่า อุดมการณ์ดีแล้ว ปํญหาคือการจัดการ

ในฝัน.. รัฐไทยต้องเล็กกว่านี้ ปัจจุบัน รัฐคงเข้าใจว่า การทำให้เล็กลงคือ "การไม่เพิ่มและลดกำลังคน" แทัจริง การทำให้เล็กลงคือ "การทำอำนาจรัฐให้เล็กลง"ต่างหาก 

ระวังว่า สิ่งที่พวกเราทำงานร่วมกับรัฐ ทำไปทำมา เป็นการหนุนเสริมการรวมอำนาจของรัฐ รึเปล่า

 

ส่วนกลาง มีหน้าที่กำหนดนโยบาย

  • มี "ข้อมูล" ในการตัดสินใจดีพอหรือยัง (ตอบเลยว่าไม่ เพราะเราให้ความสำคัญกับข้อมูลน้อยมาก แถมข้อมูลผิดๆถูกๆ  เป็นชิ้นๆ ส่วนๆ)
  • มี "หลักเกณฑ์" ในการตัดสินใจอย่างไร (ส่วนใหญ่ไม่มี ขึ้นกับอำนาจต่อรองระหว่างรัฐมนตรี  ระหว่างหน่วยงาน) และ
  • ต้องไม่ตัดสินใจแบบ "คุณพ่อรู้ดี" หรือ "พิมพ์เขี่ยว" แผ่นเดียวใช้ทั่วประเทศ (ถ้าจะเป็นแผ่นเดียว  ต้องเป็นกรอบกว้าง แต่มีหลักการ)

ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ที่ต้องการอย่างแท้จริงคือ

  • "การกระจายอำนาจ" ที่ต้องทำพร้อมกับ "เสริมพลังชุมชน"

การบริหารมหาวิทยาลัย

  • "บูรณาการ" กับ "รวมศูนย์" มองพลาดนิดเดียว ผลการบูรณาการกลายเป็นการรวมศูนย์ได้... พบอยู่บ่อยๆในงานบริหารมหาวิทยาลัย
  • "ร่วมคิด แยกทำ" บางทีจะ work กว่าสำหรับสังคมไทยหรือเปล่า

หลักการบางประการทางเศรษฐศาสตร์

  • การแบ่งงานกันทำ  ใช้ประโยชน์จากความชำนาญเฉพาะ และความเข้าใจ (มีข้อมูล) ในงานที่ทำได้ลึกซึ้ง มีระบบแรงจุงใจที่ดี ก็จะมีโอกาสทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การรวมกลุ่ม ในการทำงาน  ได้ประโยชน์ถ้าต้องใช้ปัจจัยบางอย่างร่วมกัน  เช่น  สถานที่ เครื่องจักร  ตลาด
  • งานบางอย่าง  ที่ประกอบกับหลายส่วน บางส่วนอาจแบ่งกันทำ บางส่วนอาจร่วมกันทำ  เช่น แยกกันผลิต รวมกันขาย   คณะแยกกันเก็บข้อมูล แต่มีระบบ pool ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในการบริหาร

โมเดลปลาทุคงเป็นเครื่องมือหนึ่งในหลายๆเครื่องมือที่ต้องใช้  เป้าหมายร่วมนั้นสำคัญ  แต่ส่ิ่งที่ขาดไม่ได้อีกประการ คือ "ข้อมูล" ในการตัดสินใจ ...ไม่มีข้อมูล ก็ไม่รู้ว่า กระแสน้ำไหลไปทางไหน เชี่ยวกราก ปนเปื้อนสารพิษอย่างไร ... ไม่มีข้อมูล  ปลาทูก็จะกลายเป็นปลาตาใส   ..หางปลาหรือคลังความรู้ คงคล้ายๆกับข้อมูลที่พูดถึง  แต่ต้องเป็นคลังความรู้ที่จัดระบบแล้ว กลั่นกรองแล้ว และมีการ "ไหลเข้าไหลออก" ของคลังความรู้อยู่เสมอ

การวิจัยจะช่วยให้มีการไหลเข้าออก และจัดระบบคลังข้อมูล  ปัญหาคือ บางทีไม่รู้โจทย์วิจัย  คือ ไม่รู้ว่า  ข้อมูลที่ต้องการเพื่อการตัดสินใจคืออะไร

 

 

  

การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นถูกส่วนภูมิภาคช่วงชิง จึงเป็นรัก3เศร้า

ถ้าหน่วยจังหวัด ไม่ใช้ข้อมูลในการวางแผน แผนพัฒนาจังหวัดก็คงไปเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยจะทำงานร่วมกับหน่วยจังหวัดอย่างไร?

อบจ.กับจังหวัดจะประสานพลังกันอย่างไร?

นักวิชาการ นักการเมือง ระบบราชการและภาคชุมชนไม่มีจุดร่วมในการทำงาน?

อาจารย์มีประสบการณ์จากโออิตะ ของเราจะทำได้หรือไม่อย่างไร?

หน่วยท้องถิ่นทั้งอบต.และเทศบาล ใช้ข้อมูลในการทำแผนเพียงไร?

ผมคิดว่า เรากำลังเคลื่อนจากคุณพ่อรู้ดี(สั่งการ)มาเป็นฟังความเห็นประชาคม)และจะใช้ความรู้มากขึ้น อย่างน้อยก็ในโครงสร้างที่กำหนดไว้ว่าจะมีแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน แผนพัฒนาท้องถิ่น และแผนพัฒนาจังหวัด (แผนชาติมีมานานแล้ว)

ระบบแยกย่อยและรวมศูนย์ของราชการไทย และกระบวนการทำแผนโดยใช้ข้อมูลความรู้คือปัญหาสำคัญของประเทศไทย

เราคุ้นเคยกับใครจะใคร่ ค้าช้างค้า ค้าม้าค้า ค้าเงินค้าทองค้า

สอดคล้องกับ ตัวใครตัวมัน มือใครยาวสาวได้สาวเอา

ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

โออิตะ.. อยู่ภายใต้ระบบที่กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

ผู้ว่าฯมาจากการเลือกตั้ง จึงเลือกทีมงานที่ฝันและมุ่งมั่นไปในทิศเดียวกันและมีอำนาจในการตัดสินใจมากกว่าการรอนโยบายจากส่วนกลาง

นอกจากสหกรณ์แล้ว (ร่วมทุน แยกทำ ร่วมขาย) ชุมชนท้องถิ่นญี่ปุ่นก็ไม่ได้รวมกันมากนัก ดูๆแล้ว ทุนทางสังคมในพื้นที่ของไทยอาจจะแข็งแรงกว่าด้วยซ้ำ แรงยึดที่ก่อให้เกิดทุนทางสังคมของไทยมาจากฐานจิตใจ ความเอื้ออาทร และสายเลือดคือเครือญาติ แต่ดูเหมือนแรงยึดที่ก่อให้เกิดทุนทางสังคมในชนบทญี่ปุ่นคือ เพื่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ (เพราะทรัพยากรจำกัด) แต่เมื่อเศรษฐกิจชนบทไทยประสบปัญหา ก็ต้องมาจัดกระบวนกันใหม่

การเปลี่ยนแปลงทางสถาบัน (กฎหมาย กติกา การรวมกลุ่ม การทำแผน)ของชนบทไทย เกิดขึ้นชัดเจนตั้งแต่ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจและ รธน. 2540 (ขอบคุณ sif ด้วย) เห็นด้วยว่า ปัจจุบันทิศทางของเราดึขึ้น การมีแผนระดับพื้นที่เป็นสิ่งดีค่ะ (ที่ดีมากคือ เกิดกระบวนการเรียนรู้ ขอบคุณน้าประยงค์) เป็นนวัตกรรมของสังคมไทยทีเดียวค่ะ

ญี่ปุ่นเองก็มีการสนับสนุนแผน/โครงการสวัสดิการท้องถิ่น (แต่ยังไม่มีเวลาอ่าน) "อาหารปลอดภัย" เป็นหนึ่งในเรื่อง "สวัสดิการ" ค่ะ จุดต่างชัดๆคือ สวัสดิการท้องถิ่นของญี่ปุ่นเป็นเรื่องของท้องถิ่น ส่วนกลางนั้นสนับสนุนอยู่บ้าง แต่ไม่มี "ส่วนภูมิภาค" มาเป็นตัวคั่นกลางที่ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนลักลั่นของงาน

จะว่าไป เรื่องสวัสดิการ เป็นเรื่องที่น่าจะ "กระจายอำนาจ" ได้เต็มที่ คงมีเรื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อม การสาธารณสุข(เฉพาะการป้องกันโรค) และการศึกษา ที่มีลักษณะบางอย่าง (ผลกระจายในวงกว้าง) ส่วนกลางจึงค่อยเข้ามาช่วยทำงานหรือจัดระบบในประเด็นเหล่านี้

ญี่ปุ่นมีฐานข้อมูลที่ดีมาก การเก็บภาษี เก็บค่าธรรมเนียมตามรายได้จึงทำได้เต็มที่ ระบบภาษี..ชัดเจนว่าเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ด้วย

ที่สำคัญ สังคมญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับ "ความเท่าเทียม" ประเภทอวดร่ำอวดรวยนั้นไม่มีค่ะ คนกวาดถนนมีศักดิ์ศรีพอๆกับชาวนาและหมอ ...

สังคมที่พึงปรารถนานั้นต้องการองค์ประกอบมากมาย สังคมที่หลากหลายและเสรี (ไร้หลัก ลืมราก) อย่างสังคมไทย ...จะขยับยังไง ก็เหนื่อยค่ะ แต่ถ้าไม่ขยับวันนี้และไม่ช่วยกันขยับ ก็ไม่รู้จะถึงฝั่งเมื่อไหร่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท