เก็บมาเล่า ดูงาน TOYOTA (ตอนที่ 2)


Human Robot

หลังจากที่เยี่ยมชมเมืองโบราณและทานข้าวเที่ยงแล้ว ทีมของเราก็ได้เดินทางเข้าสู่บริษัทโตโยต้า ใช้เวลา 30 นาทีก็ถึงที่หมาย วันนั้นเป็นวันศุกร์ที่ทางบริษัทอนุญาตให้พนักงานสามารถแต่งตัวได้ตามสบาย (free day) พนักงานทุกคนจึงดูแล้วสบายสบาย (เฉพาะพนักงานในสายofficeเท่านั้นนะครับ) การศึกษาดูงานในครั้งนี้ผมจะนำเสนอใน 2 รูปแบบ

รูปแบบที่ 1 แบบบรรยายให้เห็นภาพ

วิทยากรในวันนั้น คือ คุณสุทิน เห็นประเสริฐ (ถ้าจำไม่ผิดตำแหน่งคือผู้อำนวยการสถาบันโตโยต้า) โดยวิทยากรจะใช้เวลา 40 นาที ซึ่งใช้ powerpoit ประกอบการบรรยาย เป็นภาษาอังกฤษ และ ภาษาญี่ปุ่น ปนเปกันไป แต่วิทยากรมีความเป็นมืออาชีพมาก สามารถเล่า บรรยาย ยกตัวอย่าง ที่ทำให้ผมเห็นภาพได้อย่างไม่ต้องดูของจริง

วิทยากรได้บอกถึงหัวใจของบริษัทโตโยต้า นั่นคือ The Toyota Way... (ปรัชญาของบริษัท) ซึ่งถือได้ว่าเป็น DNA ที่จะฝังเข้าไปให้พนักงานทุกคนที่จะเข้ามาร่วมทำงาน โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การอบรมก่อนเข้าทำงานจริง 1 สัปดาห์ หรือแม้กระทั่งการที่ประธานบริษัทจากญี่ปุ่นมาเดินจับมือกับพนักงานทุกคนของทุก ๆ ปี ผมถือว่าเป็นกลวิธีที่สามารถนำมาปรับใช้ได้กับหลายระบบงาน ทั้งเอกชน ราชการ

และเมื่อใช้เวลาตั้งแต่ 13.00-13.40 น. วิทยากรก็จบการบรรยาย ซึ่งสิ่งที่น่าชื่นชมคือสามารถบริหารเวลา 40 นาทีที่ได้บอกไว้ก่อนข้างต้นได้อย่างสมบูรณ์แบบ ประเภทวินาทีต่อวินาที (ทำให้ผู้ฟังรู้ถึงจุดหมายเวลาของการนั่งฟัง ต่างจากวิทยากรหลายท่านที่ผมเคยเห็น) จากนั้นก็เปิดโอกาสให้สามาชิกเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย (UKM) ได้ซักถามและก็เริ่มยิงคำถามเป็นชุด ๆ

เป็นสิ่งที่น่าสังเกตว่าคำถามที่ทุกคนถาม เหมือนกับว่าผู้ตอบทราบมาก่อนแล้วว่าจะต้องถามแน่ (ประสบการณ์แท้แท้) และทำให้คำตอบที่ออกมาสามารถคลายความสงสัยได้ทุกคำถาม

ขอขอบคุณ คุณสุทิน เห็นประเสริฐ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย

รูปแบบที่ 2 สัมผัสสถานที่การผลิตจริง

ก่อนที่จะเดินทางไปดูการผลิตจริง พนักงานประชาสัมพันธ์หน้าตาหน้าเอ็นดู 2 คน ก็มาสอนการใส่หูฟัง หมวกแก็บสีดา เนื่องจากในโรงงานมีเสียงดัง ฝุ่นละออง และย้ำให้ทุกท่านต้องเดินตามเส้นทางสีเขียวที่กำหนดเท่านั้น (กว้างประมาณ 1 เมตร) เพื่อความปลอดภัย เนื่องจากมีรถขนอะไหล่วิ่งอยู่ตลอดเวลา ระหว่างการดูการผลิตในแต่ละ line มัคคุเทศก็จะอธิบายอย่างละเอียดโดยผ่านหูฟัง เป็นขั้นเป็นตอนอย่างที่ได้รับการฝึกมาอย่างหนัก ตามที่บริษัทปรารถนา

สิ่งที่ได้เห็นคือ Human Robot คือ พนักงานทุกคนต่างก้มหน้าก้มตาทำงานของตนเองอย่างไม่สนใจใคร เพราะลักษณะงานเป็นลักษณะเส้นตรงในการผลิต ถ้าจุดใดเกิดปัญหา หรือ หยุด ก็จะหยุดทั้งระบบ (1 นาที สามารถผลิตรถ vigo ได้ 1 คัน ถ้าหยุดไปซัก 10 นาที จะสูญเงินไปเท่าใด) ดังนั้นทุกคนจึงตั้งหน้าตั้งตาทำงาน เพื่อไม่ให้ระบบใหญ่เสีย (เป็นระบบที่ดี และไม่ได้ในตัวของมันเอง)  

สรุปการดูงานในครั้งนี้ สำหรับตัวผมเองนั้น ได้สัจธรรมที่ว่า "การฟังกับการเห็นสภาพจริงนั้นอาจไม่ใช่สิ่งเดียวกันเสมอไป"

เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการศึกษาดูงานในโรงงานแล้ว ทีม UKM ก็เดินทางไปร้านอาหาร 13 เหรียญ เพื่อทำการทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ (AAR : after action review) โดยมี ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด เป็นผู้ดำเนินรายการ

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณผู้ประสานงาน UKM และสมากชิกทุกท่าน

KPN

ภาพบรรยากาศ

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19325เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2006 17:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นำเสนอครั้งแรกได้ดีครับ ยินดีด้วย และต่อต่อไป

นำเสนอครั้งแรกได้ดีครับ ยินดีด้วย และต่อต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท