โครงงานวิทยาศาสตร์ ตอนที่ 2


สูตรวิเคราะห์ความจ๊าบของโครงงานวิทยาศาสตร์

ผมได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง เขาได้เสนอสูตรคำนวณความเป็น "นวัตกรรม" ของสิ่งประดิษฐ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆ ซึ่งผมเห็นว่าน่าจะมาดัดแปลงสูตรนี้เพื่อเอามาใช้พิจารณาความ "จ๊าบ" ของโครงงานวิทยาศาสตร์ ดังนี้ครับ

ความจ๊าบ = ประโยชน์ส่วนเพิ่ม / (ทรัพยากร + ของเหลือทิ้ง)

หมายความว่า โครงงานของเราจะ "จ๊าบ" มาก ด้วยหลักคิดต่อไปนี้

  1. โครงงานจะจ๊าบมาก ถ้ามีประโยชน์เพิ่มขึ้นจากของเดิมมากหรือมีองค์ความรู้ใหม่ ถ้าโครงงานไหนทำแล้วดีเท่าเดิม ความจ๊าบจะเป็น 0 (ศูนย์) ถ้าโครงงานไหนแย่กว่าของเดิม ความจ๊าบติดลบครับ
  2. ถ้าทำอะไรบ้างอย่าง จะของเดิม ของใหม่ แต่หากทำโครงงานแล้ว ใช้ทรัพยากรน้อยลง นั่นคือ การประหยัดเพิ่มขึ้น หรือลดต้นทุนการผลิต ความจ๊าบก็จะเพิ่มขึ้นครับ ทรัพยากรในที่นี้ หมายถึง วัสดุ สิ่งของ สารเคมี พลังงาน เวลา กำลังคน ฯลฯ
  3. เช่นเดียวกัน จะของเดิม ของใหม่ แต่ถ้าทำโครงงานแล้ว มีของทิ้งน้อยลง เราก็ประหยัดมากขึ้น ความต้องการในการกำจัดขยะน้อยลง มลพิษ มลภาวะน้อยลง ลดภาวะโลกร้อน (เกี่ยวไหมเนี่ย) ความจ๊าบก็จะเพิ่มขึ้น
  4. ถ้าไม่ใช้ทรัพยากรเลย และไม่มีขยะเลย ความจ๊าบเป็นอนันต์ครับ
  5. สำหรับผู้ที่ไม่ใช่วัย "จ๊าบ" นะครับ "จ๊าบ" แปลว่า เจ๋งเป้ง สุดยอด ที่สุดของที่สุด แล้วแต่ว่าศัพท์เชยๆ คำไหนจะอยู่ในยุคของท่านครับ

หมายเลขบันทึก: 193215เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2008 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท