การเขียนบทความวิจัย ตอนที่ 11 ที่มาของบันทึกนี้


การเขียนบทความวิจัยนั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด

บันทึกเรื่องการเขียนบทความวิจัยก็กำลังเดินทางมาถึงบทเกือบสุดท้ายแล้วนะครับ ผมจึงขอเล่าที่มาของการเขียนบันทึกสักเล็กน้อย

บันทึกชุดนี้ เกิดจากความพยายามที่จะกระตุ้นให้เพื่อนๆ นักวิจัย ครู อาจารย์ นิสิต นักศึกษา ได้หันมาเห็นความสำคัญของการเขียนบทความวิจัย และให้เทคนิค เคล็ดลับที่เป็นประโยชน์ เพื่อชี้ให้เห็นว่า การเขียนบทความวิจัยนั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด

เนื้อหาของบันทึกมาจากประสบการณ์ของผมเองส่วนหนึ่ง และมาจากหนังสือของมูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.) เรื่อง "การเขียนบทความวิจัยระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" โดยมี ศ.ดร.ยอดหทัย เทพธรานนท์ และ ศ.ดร.ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ เป็นบรรณาธิการ นอกจากนี้ ยังได้รับข้อเสนอแนะและคำติชมจาก พี่ชายและผู้ร่วมงานคนเก่งอย่าง ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก ก็ขอขอบคุณท่านมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 193022เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2008 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 11:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ตามอ่านทุกตอน
  • แต่ไม่ได้แสดงความคิดเห็นไว้ครับ
  • เป็นประโยชน์แก่คุณครู อาจารย์ทุกๆๆท่านมาก
  • ขอบคุณอาจารย์มากครับ
  • สบายดีไหมครับ
อุดมศิลป์ ปิ่นสุข

ขอบคุณพี่ขจิตมากครับ เพราะพี่นี่แหละที่ทำให้ผมต้องมานั่งเขียน blog แม้ว่าจะนานๆ ออกมาเรื่องนึง แต่ก็พยายามเขียนให้ต่อเนื่องนะครับ

ไชยยศ ร่มรื่นบุญกิจ

ขอบคุณท่านอาจารย์มากครับที่แนะนำวิธีการบทความวิจัยที่มีประโยชน์และมีคุณค่ามากขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท