การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน
คณะทำงานจัดการความรู้ การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน

ถอดบทเรียนความก้าวหน้าของการบริการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลบ้านผือ ปี 2551


ถอดบทเรียนความก้าวหน้าของการบริการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลบ้านผือ ปี 2551

ถอดบทเรียนความก้าวหน้าของการบริการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลบ้านผือ   ปี 2551

                งานบริการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลบ้านผือ มีสถานที่ตั้งอยู่ที่ชั้น 2 ตึกศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นที่ตั้งในลักษณะสำนักงาน ไม่ค่อยเหมาะสมในด้านสถานที่ตั้ง  อย่างไรก็ตามเมื่อเข้ามาถึงส่วนจัดบริการแพทย์แผนไทย มีการจัดบริการนวดแผนไทย ประคบสมุนไพร ยังไม่ได้จัดบริการอบสมุนไพร ซึ่งอาจจะต้องวิเคราะห์ความจำเป็นเหมาะสม ในการจัดบริการ

                ด้านสถานที่ ค่อนข้างกะทัดรัด ออกจะคับแคบเมื่อเทียบกับผู้รับบริการต่อเดือน 200 คนขึ้นไป ข้อมูลช่วงเดือนพฤษภาคม , มิถุนายน แต่มีการปรับปรุงจากเดิมขึ้นมาก ในด้านของอาชีวอนามัยของผู้ให้บริการ ดดยมีพัดลมดูดอากาศ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแล้ว รวมทั้งมีที่นวด 2 ชุด เป็นฟูกหุ้มหนังเทียมบนตั่งขาสิงห์  ตัวละ 4,000 บาท สวยสง่า ถึงแม้ผ้าปู ม่าน จะใช้ผ้าของโรงพยาบาลก็ไม่แปลกอะไร เพราะหลาย ๆ ที่ก็ทำอย่างนี้ แต่ก็มีบางที่ใช้ผ้าพื้นเมือง เช่นกุดจับ , หนองหาน เป็นต้น 

                ด้านบุคลากร ระบบบริการอยู่ในกลุ่มเทคนิคบริการ ซึ่งมีเภสัชกรพิชญาภา รับผิดชอบหัวหน้างานแพทย์แผนไทย เดิมทีเริ่มจาก ภญ.ประกายรุ้ง , ภญ.จิราภา หาญคุโน , ภญ.นำพร , ภญ,ประพาภรณ์ , ภญ.จีรนันท์ ตามลำดับ ผู้รับผิดชอบงานให้ความใส่ใจเป็นอย่างดี  

                ด้านคุณภาพการจัดบริการ มีการเตรียมเอกสารพรรณนา ใบกำกับหน้าที่งาน  JSJD ซึ่งผู้ประเมินเห็นว่าผู้รับผิดชอบงานและผู้ปฏิบัติงานแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลให้ความสำคัญ และมีความพยายามที่จะพัฒนาการดำเนินงานเป็นอย่างดี

การจัดทำความเสี่ยงในการให้บริการ มีทีมคุณภาพของโรงพยาบาลให้ดำเนินการในรุปแบบรวม ซึ่งน่าจะได้จัดทำในส่วนของบริการแพทย์แผนไทยในเชิงประเด็นที่เกี่ยวข้อง หน้า 118 119

การกำหนดตัวชี้วัดมาตรฐาน ยังไม่ได้กำหนดในเชิงรายละเอียดของบริการแพทย์แผนไทย  เป็นเรื่องของการวัดเฉพาะความพึงพอใจในภาพรวมของการบริการ

                ด้านการจัดบริการ  

การให้บริการส่งเสริมสุขภาพ ยังไม่ได้จัดการบริการการให้ความรู้อย่างเป็นรูปธรรม หรือเป็นแผนงานที่แน่นอน แต่มีการให้ความรู้ร่วมกับหน่วยเคลื่อนที่ทุกเดือน เช่นมีการสอนนวดเท้า นัดมาเป็นกลุ่มที่วัด ทุกวันศุกร์ร่วมกับ พีซียู  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดีมาก เพียงแต่ขาดการบันทึก

การให้คำแนะนำเรื่องการป้องกันโรค มีการจัดทำรายการความรู้ที่จะให้กับผู้รับบริการ ซึ่งจะทำได้ แต่การลงข้อมูลจะทำได้เป็นบางครั้ง แต่ทำแยกเป็น 2 ฉบับ  ซึ่งจะเป็นการเพิ่มภาระงาน  น่าจะใช้วิธีการใช้ตัวเลขสีที่แตกต่าง เช่น สีแดง  มีการกำหนดไว้ 4 ข้อ / หัวเรื่อง   จะเป็นการนวดไป คุยไป  และได้ทำเป็นเอกสารแผ่นพับสำหรับแจกจ่าย มีการกายบริหารท่าฤาษีดัดตน เป็นต้น

อาจจะต้องกำหนดใน 2 เรื่องให้ชัดเจน คือ

1.เรื่องอะไรที่จะต้องให้กับคนไข้  

2.เนื้อหาตามเรื่องนั้น ๆ ที่จะต้องให้ที่พนักงานควรจะมีความรู้

3.การบันทึกผลงานการให้ความรู้ในรูปแบบที่จะไม่เพิ่มภาระ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานได้ดำเนินการอยู่แล้ว (อันนี้ก็เป็นตัวอย่างได้)

การให้บริการนวดเพื่อการป้องกันโรคแทรกซ้อน มีการให้บริการแบบที่คนไข้มาในบริบทของโรงพยาบาลเอง ซึ่งก็สามารถให้บริการได้ มีการจัดรูปแบบบริการที่ชัดเจนหลังคลอด หรืออัมพฤกษ์ อัมพาต หรือสูงอายุ

ด้านการพัฒนาบริการ โรงพยาบาลบ้านผือร่วมกับกลุ่มพัฒนาระบบบริการ Medical SPA จัดบริการนวดเท้ากับผู้ป่วยเบาหวาน มีผลการดำเนินงานค่อนข้างดีมากทั้งจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม และประสิทธิผลของการดำเนินการ จัดให้เป็นต้นแบบตัวอย่างได้  Best Pratice

หมายเลขบันทึก: 192930เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2008 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท