สรุปกิจกรรม วันที่ 2 มีนาคม 2549 เรื่อง การบริหารกิจกรรมทางการศึกษา


สรุปผลการจัดกิจกรรม
โครงการประสานงานวิจัยการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น  จังหวัดมหาสารคาม
เรื่อง  การบริหารกิจรรมวิจัยทางการศึกษา
วันที่  2  มีนาคม   2549
ณ  โรงเรียนบ้านเม็กดำ  อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย  จังหวัดมหาสารคาม

ความเป็นมา

                   ฐานคิดสำคัญของการบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานคือ “การจัดการศึกษาที่ให้โอกาสชุมชนได้มีส่วนร่วม   มีความเหมาะสมสอดคล้องกับท้องถิ่นและเอื้อต่อการปฏิบัติงานร่วมกัน   กับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  ที่มีทิศทางการทำงานมุ่งเน้นไปที่  “สร้างสรรค์ปัญญา  พัฒนาท้องถิ่น”    ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคาม ได้ริเริ่มที่จะพัฒนา  “ชุดโครงการประเด็นการศึกษา” และที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก (สกว.) สำนักงานภาค   แล้วจำนวน  9  โครงการ  โดยต้องการให้ความรู้ใน  เรื่องการบริหารกิจกรรมวิจัยทางการศึกษา   ให้แก่  9  โครงการที่อนุมัติแล้ว มีทีมวิจัยโครงการละ  5  คน  รวม  45  คน  เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ โดยได้เชิญ  รศ.ดร.ประวิต  เอราวรรณ์  เป็นวิทยากรการประชุมเชิงปฏิบัติการ มีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคามเขต 2   และศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม  เขต 2 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ   เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ภารกิจ / กิจกรรม  ของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น  ชุดประเด็นการศึกษา  ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ  บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์    และมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับต่อไป

 วัตถุประสงค์
            1.  เพื่อให้นักวิจัยได้ตระหนักถึงความสำคัญของแนวคิด หลักการ ของการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนโดยการใช้รูปแบบกระบวนการของการวิจัย
            2.  เพื่อเกิดความเข้าใจการจัดการโครงการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ  ทุกคนในทีมวิจัยมีส่วนร่วมและมีบทบาทที่เหมาะสม
            3.  เพื่อให้เกิดการทำกิจกรรมตรงตามที่โครงการกำหนดไว้  และเป็นไปตามที่วางแผนไว้
            4.  เพื่อให้ได้แผนปฏิบัติงานร่วมกันในโครงการวิจัยและมีแผนร่วมระหว่างโครงการวิจัยกับศูนย์ประสานงาน ฯ


กิจกรรมสำคัญ
เช้า 
          ฟังการบรรยาย  จาก  ดร. ประวิต  เอราวรรณ์  เรื่อง  งานวิจัยเพื่องท้องถิ่น  (Community – Based  Research :  CBR)
บ่าย
          ฟังการสรุปกิจกรรม  บุญผะเหวต  วันที่  10 – 12  มีนาคม  2549 ของโครงการ  การจัดกระบวนการเรียนรู้ ฮีต ๑๒ คอง ๑๔ และประเพณีในชุมชน เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ในนักเรียนโรงเรียนบ้านเก่าน้อยโดยชุมชน :  กรณีศึกษาชุมชนบ้านเก่าน้อย  โดย  ผอ.บุยทอม  บุญยรัตน์


สรุปประเด็นสำคัญ
เช้า
อะไรคือ  งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
                1.  ที่ผ่านมามักเชื่อว่า  การสร้างความรู้เป็นหน้าที่ของนักวิชาการ  นักศึกษา ป.โท  ส่วนชาวบ้าน  ผู้ถูกวิจัย  ถูกถาม  ถูกสังเกตเท่านั้น

                2.  CBR  เชื่อว่า  ชาวบ้านสามารถเป็น  ผู้สร้างความรู้เพราะรู้จักและเข้าใจปัญหาของตัวเองดีที่สุด

                3.  CBR  เน้นให้  คนในชุมชนเข้าร่วมกระบวนการคิด  ตั้งคำถาม  วางแผน  และทำวิจัยเพื่อหาคำตอบอย่างเป็นระบบและเรียนรู้จาการทำงาน

ผลที่เกิดขึ้น

                1.  CBR  ไม่ได้เน้นที่  ผลการวิจัย  แต่เน้นที่  กระบวนการ

                2.  กระบวนการวิจัย  คือ  เครื่องมือเสริมสร้างพลังอำนาจ  “empower” ให้คนในชุมชน  จัดการชีวิตของตัวเอง

                3.  ผลการวิจัย  คือ  คน หรือ  กลุ่ม ที่เกิดจากกระบวนการวิจัยที่มีศักยภาพในการป้องกัน  แก้ไขปัญหาและดูแลตนเอง

                4.  องค์ความรู้  คือ  การเรียนรู้ที่หน้างานจากการลงมือปฏิบัติร่วมกัน

กระบวนการ
                1.  ตั้งโจทย์วิจัย  โดยผ่าน  เวทีชุมชน  ประมวลสภาพการณ์และองค์ความรู้ในชุมชน
                2.  จัดระบบความคิด  (Conceptualization)  วิเคราะห์ความต้องการที่แท้จริงของชุมชน
                3.  จัดทำเอกสารเชิงหลักการ   (Concept  paper)  ที่ได้จากข้อสรุปเวทีชุมชน

                4.  วางแผนการวิจัย  โดยพัฒนาเป็นแผนปฏิบัติการ   (Action  plan)

                5. ลงมือปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ  โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้จากการทำงานร่วมกัน  (leaning though  action)

                6.  สังเกตผลที่เกิดขึ้น

                7.  สะท้อนผลการเรียนรู้เป็นระยะๆ  และปรับปรุงแผนปฏิบัติการ

                8.  รายงานผลการวิจัยที่เกิดขึ้น

บ่าย
         สรุปกิจกรรม  บุญผะเหวต  วันที่  10 12  มีนาคม  2549   ของโครงการ  การจัดกระบวนการเรียนรู้ ฮีต ๑๒ คอง ๑๔ และประเพณีในชุมชน เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ในนักเรียนโรงเรียนบ้านเก่าน้อยโดยชุมชน :  กรณีศึกษาชุมชนบ้านเก่าน้อย  โดย  ผอ.บุยทอม  บุญยรัตน์
กำหนดการ
วันที่  10  มีนาคม  2549

- จังหัน

-  เตรียมข้าวพันก้อน

-  ถวายเพล

-  แห่ดอกไม้

- เจริญพระพุทธมนต์

-  เทศมาลัยหมื่น มาลัยแสน
วันที่  11  มีนาคม  2549

-  เวลาตีสาม  แห่ข้าวพันก้อน

-  เทศสังกาด

-  เทศมหาชาด,กัณฑ์,เทศพร

-  ฉันจังหัน

-  เทศ  13  กัณฑ์

-  แห่กันหลอน

-  ทำพิธีคารวะพระสงฆ์  (ขอขมา)ให้พร
วันที่  12  มีนาคม  2549

-  จังหัน  ตักบาตร

-  ตรวจสอบ / รายงานรายรับรายจ่าย

-  ถวายปัจจัย / จัดเก็บสถานที่

-  ประเมินผล

*  วันที่  8 – 9  มีนาคม  2549  เด็กนักเรียนไปเรียนนอกสถานที่  อยู่ที่วัด  กิจกรรมที่เด็กนักเรียนทำคือ  ช่วยงานเตรียมวัสดุอุปกรณ์ทำงานร่วมกับผู้ใหญ่ในการเตรียมงานในวันที่  10 – 12  มีนาคาม  2549  และครูประเมินผลเด็กตั้งแต่วันที่  8 – 12  มีนาคม  2549  ว่าเด็กได้อะไรบ้างจากกิจกรรมนี้

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19267เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2006 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท