ประสบการณ์กับสิ่งมีชีวิต


สิ่งมีชีวิตก็ได้แก่  คน  สัตว์  พืช  ทั้งหมดนี้  มีลักษณะพิเศษคือ  กินอาหารได้ด้วยตัวเอง  ขับถ่ายได้ด้วยระบบของตัวเอง  เจริญเติบโตได้ด้วยกลไกภายในตัวเอง  ขยายพันธุ์ได้ด้วยกระบวนการที่แตกต่างกันออกไป 

นอกจากนี้  คนและสัตว์ยังแตกต่างจากพืช  คือ  เคลื่อนที่เช่นเดิน  วิ่ง  ได้ด้วยตัวเอง

และยิ่งกว่านั้น  คนก็ยังแตกต่างออกไปอีก  คือ  คนพูดได้  คิดได้  รู้สึกด้านคุณธรรม  แต่สัตว์  พูดไม่ได้เหมือนคน  คิดไม่ได้เหมือนคน  และไม่มีคุณธรรม  โดยเฉพาะ  พืชแล้ว  ไม่มีความสามารถนี้อย่างสิ้นเชิง

นอกจากนี้  ในจำพวกสัตว์ด้วยกัน  ก็จะมีพวก "มีสมอง" กับ "พวกไม่มีสมอง"

ในพวกมีสมอง  ก็มีสมองเล็กบ้าง ปานกลางบ้าง  ใหญ่บ้าง โดยเปรียบเทียบสัดส่วนของขนาดหรือน้ำหนักของร่างกายของมัน  โดยที่ตามเงื่อนไขนี้ เราจะพบว่า  คนมีสมองใหญ่และสมบูรณ์มากกว่าสัตว์อื่น  จึงทำให้คน  "พูดได้" และ "คิดเหตุผลและคิดสร้างสรรค์ได้"

สิ่งที่เราจะพิจารณาเกี่ยวกับ"ประสบการณ์"ก็คือ 

คนเราเอง"มีสมองที่จะรู้สึกสัมผัส" ดังนั้น "เราจึงมีประสบการณ์กับสิ่งที่เราสัมผัส" 

ช้าง  ม้า  ลิง  นก  ปลา  มันก็มีสมอง  และคงมี "เซลล์" สมองที่ "คล้ายๆ" กับของคน ก็ต้องมี "การรู้สึกสัมผัส"  และดังนั้น "พวกมันจึงต้องมีประสบการณณ์" กับสิ่งที่มันสัมผัสได้เช่นกัน !

แต่สัตว์อื่นๆ "ที่ไม่มีสมองและ/หรือมีเซลล์ที่คล้ายเซลล์นิวโรน"ของสมองคน  สัตว์นั้น  ก็น่าจะ "ไม่มีการรู้สึกสัมผัส"  และดังนั้น  สัตว์พวกนั้นจึง "ไม่มีความรู้สึกประสบการณ์" กับสิ่งที่มันสัมผัส !!

พืชทั้งหลาย  "ไม่มีสมอง" ที่จะ "รู้สึกสัมผัส"  พวกมันจึง"ไม่อาจที่จะมีประสบการณ์"กับเหตุการณ์ใดๆได้เลย !!!

แต่การที่หลายๆคนมักพูดว่า  พืชก็มีประสบการณ์  นั้น  เป็นเพราะ "เขาลงสรุปเป็นนัยทั่วไป" (Generalization)  หรือ "อุปนัย"(Induction)  ไปจาก "ความรู้สึก" ของเขาเองไปสู่พืชเหล่านั้นว่าพืชเหล่านั้นคงจะ"มีความรู้สึกเหมือนที่คนรู้สึก"

แต่ถ้าเรายอมให้ "สิ่งมีชีวิต" ที่ "ไม่มีการรู้สึกสัมผัส" ว่า "มันมีประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมได้"  แล้ว  ก็ต้อง "นิยาม" คำว่า "ประสบการณ์" เสียใหม่ครับ

ในวงการศึกษา  หรือในพจนานุกรมบางเล่มที่นิยามยอมให้พืชหรือสัตว์ที่"ไม่มีสมอง"   ว่า "มีประสบการณ์"ได้นั้น  ก็คงเพื่อจะให้ "Materialism" แบบสุดโด่ง มีที่ใช้คำว่า "ประสบการณ์"บ้างกระมังครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #experience, induction
หมายเลขบันทึก: 192582เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2008 09:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

อาตมามีความเห็นต่างว่า สัตว์ก็น่าจะมีความรู้สึกด้านคุณธรรม เช่น แมว

  • บางตัวก็ชอบผิดศีลข้อ ๔ (ลักขโมย)
  • บางตัวก็อาจฝึกให้มีศีลข้อ ๔ ได้
  • แต่บางตัว ไม่อาจฝึกให้มีศีลข้อ ๔ ได้ หรือฝึกได้ยาก
  • ในขณะที่บางตัว มีศีลข้อ ๔ ตามธรรมชาติ

เมื่อพิจารณาเฉพาะศีลข้อ ๔ ก็จะเห็นได้ว่า ไม่แตกต่างจากคนทั่วไปเลย...

....

อีกอย่างหนึ่ง คือ พื้นฐานทางอุปนิสัย เช่น หมา

  • บางตัวหรือบางพันธุ์ ก็มีความภักดีและกตัญญูต่อผู้อื่นสูง
  • บางตัวหรือบางพันธุ์ ก็มี... น้อย
  • บางตัวหรือบางพันธุ์ ก็ดุร้าย
  • บางตัวหรือบางพันธุ์ ก็เสงี่ยมเจียมตัว
  • บางตัวหรือบางพันธุ์ ก็....
  • ฯลฯ

เมื่อพิจารณาทำนองนี้ จะเห็นได้ว่า ไม่แตกต่างจากคนทั่วไปเลย เหมือนกัน

.....

ตามที่ ยกตัวอย่างมา อาตมาคิดว่า่ น่าจะเป็นความรู้สึกด้านคุณธรรมเหมือนกัน... แต่ถ้าอาจารย์ว่า ไม่มี ... ก็ใคร่จะถามว่า ความรู้สึกด้านคุณธรรม ตามความเห็นของอาจารย์นั้น เป็นอย่างไร ?

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

ที่ผมกล่าวว่า"สัตว์ไม่มีคุณธรรม"นั้น ท่านแย้ง และถามว่า "คุณธรมตามที่ผมเข้าใจนั้นเป็นประการใด"

อันที่จริง เรื่อง Human Mind น้น ผมไม่เน้นเขียนเรื่องเกี่ยวกับ "ความประพฤติ" แต่โดยบังเอิญผมไปกล่าวถึงคำ "คุณธรรม.... " ดังกล่าวเข้า ท่านจึงถาม

คำว่า "คุณธรรม" หรือ Virtue นั้น ผมหมายถึง "ความรู้สึกด้านดีชั่วเกี่ยวกับความประพฤติของมนุษย์" เช่น "รู้สึกว่าจะขโมย"(รู้สึกชั่ว), แต่ก็ "รู้สึกว่าไม่ควรขโมย" (รู้สึกดี),ขึ้นมาด้วย เป็นความรู้สึกที่"เกิดขึ้นภายในบุคคล" แล้วแสดงออกมาเป็น"การกระทำ" หรือ "ความประพฤติ" ความรู้สึกดีชั่วดังกล่าวนี้คือความรู้สึกด้านคุณธรรม ในทางศาสนาพุทธก็ได้รวบรวม "กฎความประพฤติ"ไว้มากมาย ซึ่งได้แก่ ศีล และ ธรรม ต่างๆมากมาย

สัตว์ที่มีสมองต่างๆจากสมองเล็กจนถึงสมองใหญ่มาจนถึงคนจะมี"ความรู้สึกสัมผัส"(อาจจะมีสัตว์ที่ไม่มีสมองแต่มีเซลล์ประสาทที่คล้ายๆนิวโรนในคนรวมอยู่ด้วยก็ได้)

และในจำพวกสัตว์ที่มีสมองทั้งหมดในโลกเรา ยกเว้นคน จะ"ไม่มีความรู้สึกด้านคุณธรรม"

แมวมีสมอง เมื่อมันไม่ขโมยปลาย่าง มันก็"ไม่รู้สึก"ว่า มัน "ประพฤติดี" !

การที่บางคน "คิด"ว่ามันมีคุณธรรม นั้น เป็นเพราะว่า การกระทำของแมววไป"สอดคล้อง"กับมาตรการความประพฤติของคนเข้าโดยบังเอิญ ลองเปรียบเทียบดู

มาตรการความประพฤติของน : การไม่ขโมยนั้นเป็นการประพฤติดี

พฤติกรรมของแมว : แมวไม่ขโมยปลาย่าง

"เรา"ลงสรุป"ให้"แมว : แมวปะพฤติดี หรือ มีคุณธรรม

เรา"เอาความรู้สึกของเราไปใส่ให้กับแมว" แมวไม่รู้สึกเช่นนั้นเลย

ความกตัญญูของหมาก็เช่นเดียวกัน เราคงให้เหตุผลดังนี้กระมัง

เพราะว่า การกระทำเช่นนั้นของคนเรียกว่ากตัญญู

หมาก็กระทำเช่นนั้นด้วย

ดังนั้น หมาก็มีความกตัญญู

หมาเองไม่มีความรู้สึกเช่นนั้นเลย

การกระทำของหมาหรือของสัตว์อื่นๆบางการกระทำ อาจจะเป็นผลของกระบวนการวิวัฒนาการ (Evolution Procesess) และบางการกระทำอาจจะได้มาจากการเรียนรู้(Learning)

  • สัตว์ (บางจำพวก) มีคุณธรรมหรือไม่ ?

รู้สึกว่าประเด็นนี้ น่าสนใจ... ตามที่อาจารย์ขยายความมาก็พอจะบ่งชี้ได้ว่า ที่เรา (มนุษย์) รู้สึกว่าสัตว์มีคุณธรรม เพราะไปสอดคล้องกับเกณฑ์คุณธรรมของมนุษย์... (ไม่แน่ใจว่าถูกต้องหรือไม่ )

อาตมาก็สงสัยขึ้นไปอีกว่า สัตว์บางจำพวกที่นิยมอยู่เป็นฝูง (เน้นสัตว์ป่า มิใช่สัตว์เลี้ยง) คล้ายๆ กับสังคมของมนุษย์ เช่น ลิง ช้าง หรือฝูงไก่แจ้ในวัด เป็นต้น...

ในฝูงสัตว์เหล่านี้ มีระเบียบกฎเกณฑ์ มีผู้นำ มีการให้รางวัลและลงโทษ มีการขับไล่ออกจากฝูง เป็นต้น...

ดังนั้น จึงเป็นไปได้หรือไม่ว่า สัตว์ฝูงเหล่านี้ มีเกณฑ์คุณธรรมของมันเอง ซึ่งอาจคล้ายคลึงหรือผิดแผกไปจากมนุษย์...

และถ้าเราจะวิจัยประเด็นนี้ เราจะใช้เครื่องมือหรืออะไรเป็นตัวชี้วัดหรือประเมินค่า...  เพราะแม้ในสังคมมนุษย์ก็รับรู้กันว่าการจะวิจัยเพื่อบ่งชี้เกณฑ์คุณธรรมนั้น เป็นสิ่งที่ยากและจะมีข้อคัดค้านเสมอ จนกระทั้งบางแนวคิดบอกว่า มนุษย์มิได้มีคุณธรรม คุณธรรมเป็นเพียงสิ่งจอมปลอมของมนุษย์ นั่นคือ มนุษย์ก็มิได้แตกต่างจากสัตว์ในเรื่องคุณธรรม... ประมาณนี้

 

  • ตามนัยที่ว่ามาทั้งหมดนั้น จึงเป็นไปได้หรือไม่ว่า อาจารย์เชื่อว่า สัตว์ไม่มีคุณธรรม แล้วก็ใช้เหตุผลเพื่อสนับสนุน...
  • ณะที่อาตมาประหนึ่งจะเชื่อว่า สัตว์บางจำพวกก็มีคุณธรรม แล้วก็ใช้เหตุผลเพื่อสนับสนุน...

(ยังมีประเด็นอื่น ๆ แต่พักไว้ก่อน)

เจริญพร

 

 

นมัสการพระคุณเจ้า สัตว์บางจำพวกมีพฤติกรรมที่"เราคิดว่า"เป็นระเบียบ เช่น พฤติกรรมรวมกันเป็นฝูง พฤติกรรมเดินตามกันเป็นแถว (เช่นมด) มีพฤติกรรมทำรัง(เช่นนกกระจาบ,แมงมุม) พฤติกรรมกกลูก พฤติกรรมป้อนอาหารให้ลูก ฯลฯ เทียบกับ "ปทัสถาน"(Norm)ของกลุ่มในหมู่มนุษย์ ทำให้เราคิดเชิงเหตุผลเอาเองว่า เพราะว่า ข้อตกลงของกลุ่มคนและทำตามกันเราเรียกว่าวัฒนธรรม เพราะว่า ในกลุ่มสัตว์ก็มีข้อตกลงของกลุ่มของพวกมัน เพราะฉะนั้น ในกลุ่มสัตว์หรือสัต์ก็มีวัฒนธรรม ปัญหาก็คือ "ที่มา"ของกติกาดังกล่าว แตกต่างกัน เช่น ในหมู่คน "ตกลง"กันว่า "เมื่อพบผู้ใหญ่ ให้ไหว้", "ถอดรองเท้าก่อนเข้าโบสถ์", "ขับรถชิดซ้าย", ฯลฯ แต่การเดินตามกันของสัตว์, การอยู่รวมกันเป็นฝูง, มันไม่ได้ประชุมตกลงกัน เหมือนคน ! เราก็ไม่รู้ว่ามันได้มาอย่างไร เราจึง "ตั้งคำอธิบายขึ้นมา" เพื่ออธิบายเหตุการณ์เหล่านั้น คำอธิบายดังกล่าวก็คือ Evolution Theory ซึ่งทำให้เราคิดว่า "พฤติกรรมจำนวนหนึ่งทั้งของสัตว์และคนเป็นผลจากกระบวนการวิวัฒนาการ" เราเรียกพฤติกรรมเช่นนี้ว่า "สัญชาตญาณ" และ "พฤติกรรมอีกจำนวนหนึ่งเป็นผลจากการเรียนรู้" นักจิตวิทยาได้วิจัยพบว่าพฤติกรรมของคนประมาณ ๙๕ % ได้มาจากการเรียนรู้ และเมื่อได้นำพฤติกรรมที่เหลือมาวางเงื่อนไข ก็พบว่าวางเงื่อนไขได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราทำเช่นเดียวกันกับพฤติกรรมของสัตว์ ก็พบว่า เมื่อนำพฤติกรรมใดมาวางเงื่อนไข ก็ทำได้ทุกครั้ง แต่ยังมีอีกมากที่ยังไม่ได้ทดสอบ พฤติกรรมที่เหลืออยู่เหล่านั้น ก็ได้แก่พฤติกรรมที่พระคุณเจ้าและผมสงสัยรวมอยู่ด้วย และเรายังคงลงความเห็นว่า พฤติกรรมเหล่านั้นคงจะได้มาโดยการวิวัฒนาการและ/หรือการเรียนรู้

แน่นอนครับ สิ่งที่เป็นพวก "ขณะนี้ Unobservable" แต่มี "Posibility ที่จะสังเกตได้โดยตรงหรือโดยอ้อมในอนาคต" ยังมีอยู่เราจึงต้อง "เชื่อ" เอาไว้ก่อน และความเชื่อที่ว่านี้ ถ้าเราเขียนให้เป็นระบบแล้ว มันก็คือสิ่งที่เราเรียกว่า "ทฤษฎี"

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

  • คุยกับอาจารย์ ยิ่งคุยก็ยิ่งไปไกล...

กฎกติกาของมนุษย์ เช่น การยกมือไว้ การถอดรองเท้าก่อนเข้าโบสถ์ เกิดจากการเรียนรู้... ทำให้อาตมาจินตนาการว่า ถ้าเรานำสัตว์ชนิดเดียว กันสักตัวหนึ่ง เช่นวัวหรือควายจากฝูงหนึ่ง (สังคมหนึ่ง) ไปรวมไว้อีกฝูงหนึ่ง ซึ่งมีพฤติกรรมภายในฝูงต่างกัน... แล้วศึกษาว่า สัตว์ที่เพิ่งเข้ามาใหม่จะเรียนรู้หรือเลียนแบบและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากฝูงเดิมหรือไม่อย่างไร... ก็อาจได้สมมติฐานเพื่อตอบข้อสงสัยบางอย่างได้บ้าง

ประเด็นว่าคุณธรรมของมนุษย์เป็นเรื่องเหลวไหล มีอยู่ในจริยศาสตร์ ซึ่งอาตมาก็สนใจอยู่นิดหน่อย ... เอา Link มาฝากอาจารย์ คลิกที่นี้

ส่วนเรื่องอื่นๆ อาตมาว่าพักไว้ก่อน จะรออ่านบันทึกต่อไปของอาจารย์

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

ข้อคิดเห็นที่ ๔ ข้างบนนี้ อันที่จริงผมได้ย่อหน้า เว้นวรรค เอาไว้ดีแล้ว แต่พอกดที่"ตัวจัดการข้อความ" เพื่อใช้สีให้กับข้อความ แล้วกดบันทึก มันกลับมาเป็นรวมกันเป็นแถวยาวต่อกัน ไม่มีย่อหน้า ดังที่เห็น ทำให้เกิดคาบวรรค อ่านยาก ครับ

อันที่จริง การ"มีข้อตกลงของกลุ่ม"(ปทัสถาน /Group Norm) แล้วปฏิบัตืตามนั้น ไม่ถือเป็นการเรียนรู้ แต่ถ้า นาย ก.ไม่เคยรู้ข้อตกลงนั้นมาก่อน เมื่อมาเห็นทุกคนถอดรองเท้าก่อนเข้าโบสถ์ เขาก็ถอดตามบ้างนั้น ถือว่า"เป็นพฤติกรรมคล้อยตามเพื่อเลียนแบบ"ของนาย ก. แต่ถ้าครู่ต่อมามีคนมากระซิบว่า "ดีมากครับ" หรือหันไปดูรอบๆ ก็พบคนยิ้มให้พอใจกับการกระทำนั้น ดังนี้ ถ้าในครั้งต่อมาเขา "ถอดรองเท้าอีกเมื่อเข้าโบสถ์" ก็เรียกว่า "เขาเกิดการเรียนรู้"แล้ว

เรื่องที่พระคุณเจ้าลิงค์มาฝากนั้น ขอบคุณมากครับ ผมคลิกเข้าไปดูแล้ว ผมคิดว่าเขาคิดแปลกมากไป คล้ายๆกับคิดว่า คนประกอบด้วยอะตอม การที่เราเอามีดเสียบผ่านอะตอมของเนื้อเยื่อแลเลือดเข้าไปก็เหมือนไม่ถูกอะไร เหมือนกับเสียบเข้าไปในที่ว่างเปล่าฉะนั้นแหละ โดยลืมนึกถึงความสัมพันธ์ระหว่างอะตอมไป คนที่เชื่อก็ดูหมือนจะเป็นองคุลีมาลคนหนึ่ง ผมคิดว่า อาจจะมีความคลาดเคลื่อนในเหตุผลอยู่บางแห่งก็ได้ครับ ปล่อยให้พวกในสาขานี้เขาวิพากษ์กันก็แล้วกันครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

สวัสดีครับอาจารย์

สบายดีไหมครับ? ไม่ได้เห็นอาจารย์เขียนบทความใหม่มานานแล้ว แต่บังเอิญไปอ่านบทความใน Blog ของ อาจารย์สิทธิโชค (อาจารย์ที่คณะของผม) เลยชวนให้นึกถึงบทความของอาจารย์มากทีเดียว

พอเอ่ยชื่ออาจารย์ให้อาจารย์สิทธิโชคฟัง ปรากฏว่าอาจารย์สิทธิโชคบอกว่าเรียนปริญญาโทรุ่นเดียวกับอาจารย์ด้วย โลกกลมจริงๆ ครับ

(http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=sithichoke)

ขอบคุณ คุณ kafaak และขอฝากความคิดถึงมาถึงอาจารย์สิทธิโชคด้วยครับ

จะฝากความคิดถึงจากอาจารย์ไปถึงอาจารย์สิทธิโชคให้ครับ

ว่าแต่ อาจารย์ช่วงนี้ท่าทางจะยุ่ง เพราะเห็นว่าไม่ได้เขียน Blog ตอนใหม่ๆ มานานมากทีเดียว

ขอใช้เนื้อที่ประชาสัมพันธ์เล็กน้อยนะครับ

ในวันเสาร์ที่ 7 มีนาคม 2552 เวลา 13:00 - 17:00 น. จะมีการสัมมนาทางวิชาการฟรี เรื่อง "จิตวิทยาเชิงบวก: แนวทางใหม่ในการพัฒนาองค์การ" โดย รศ. ดร. สิทธิโชค วรานุสันติกูล และ นพ. สุทธิศักดิ์ คณาปราชญ์ ที่ห้องประชุม ศศ. 301 ตึกคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) ครับ สนใจสำรองที่นั่งได้ที่ [email protected] ครับ

ขอบคุณ ครับ

ผมไปร่วมประชุมไม่ได้ มีอะไรใหม่บ้างขอให้คุณ kafaak เล่าให้ฟัวด้วยก็แล้วกันนะ

ครับ จะมาอัพเดตข้อมูลให้อาจารย์ได้ทราบครับ

ผมไม่บันทึกคุยกับพวกเรานานเป็นเดือนครับ เหตุผลก็คือ Note Book ของผมขัดข้อง คราวแรกคิดว่าไวรัสเข้าเล่นงาน ช่างเขาก็ล้างเครื่องให้ มันดีขึ้นบ้าง พอได้บันทึกต่อ แต่อาการเดิมก็เกิดอีก และแรงขึ้น ช่างเขาก็ล้างให้อีก แต่กไม่ดีขึ้น จึงหยุดไปเป็นเดือน คิดจะบันทึกกับเครื่องตั้งโต๊ะ แต่ก็กลัวมันจะติดไวรัสอีก จึงไม่กล้า คราวนี้หยุดนานมาก มีช่างคนหนึ่งเขาสมมุติฐานว่าเป็นเพราะ keyboard แต่แก้ไม่ได้ ต้องหยุดไปนานตามที่เห็นครับ

เมื่อวานนี้ผมนึกได้ขึ้นมาว่า ถ้าถอด Keyboard ออกไม่ได้ เราหาคีบอร์รดอื่นมาต่อเข้าไปซี คิดได้ก็วิ่งไปตลาด ซื้มาใหม่เอี่ยมอันหนึง มาเสียบเข้า

พบว่าได้ผล !!

เลยได้พิมพ์ตอบมานี่แหละครับ

เลยเล่ามาให้ฟัง

เพื่อว่ามีคนฉลาดอยู่นานเหมือนผมบ้าง

ผมก็หายหน้าหายตาไปจากที่นี่นานพอสมควรทีเดียวเหมือนกัน... (งานค่อนข้างยุ่งครับ ปีนี้ได้เวลาทำวิทยานิพนธ์แล้ว กำลังคิดหาตัวแปรตัวสุดท้ายให้กับโมเดลอยู่ครับ)

ไม่ทราบว่าอาการขัดข้องของ notebook ของอาจารย์เป็นอย่างไร พอเล่าได้ไหมครับ?

สวัสดี คุณกาฝาก

ผมได้ข้อสรุปว่า ไวรัสเล่นงานครับ เพราะว่าเมื่อเอาเครื่องใหม่แทนที่ อีเมลที่มันล็อกเอาไว้ เปิดอ่านไม่ได้เลยมาเป็นเวลาหลายเดือน ก็เปิดได้ มันใข้ได้ปรกติ วันนี้เปิดเป็นวันแรกหลังจากหยุดมาหลายเดือน เกรงใจ โกทูโน แย่เลย เปิดอีเมลอ่านดูเห็นรายล่าสุดเป็นรายที่ ๕๕ ซึ่งก็คือ เพื่อนที่คุ้นเคย คุณกาฝากนั่นเอง

ทำวิจัยเรื่องอะไร เห็นว่ากำลังสร้างโมเดลอยู่ สร้างเอง เก่ง จะเรียก โมเดล หรือ ทฤษฎี ละ ตัวแปรตัวสุดท้ายมีด้วยหรือ ตัวแปรที่มีบทบาทใช่ไหม?

ขออวยพรให้สำเร็จตามประสงค์นะ

ไม่แน่ใจว่าจะเรียกสร้างเองหรือไม่... บังเอิญว่าผมเคยทำงานอยู่ในสายการผลิต โรงงานอุตสาหกรรม (ต้องใช้คำว่าเคย เพราะผมเพิ่งเปลี่ยนงานมาทำสาย IT เหมือนเดิม) ผมรู้สึกว่า ต่างประเทศนั้นให้ความสำคัญกับเรื่องของการลาออกมาก และมีงานวิจัยออกมาอย่างต่อเนื่อง มีตัวแปรที่เชื่อว่ามีปัจจัยต่อการตัดสินใจลาออกอยู่มาก "แต่" เวลาทำวิจัย เขากลับเน้นไปที่ระดับบริหาร

ผมเข้าใจว่า ในบริบทของต่างประเทศนั้น แรงงานไร้ฝีมือ หรือแรงงานระดับที่ออกแรง (พวก blue collar) หาได้ง่ายกว่าแรงงานระดับออฟฟิศ พวกระดับบริหาร เขาเลยมุ่งเน้นไปที่นั่น แต่สำหรับในประเทศไทย จากประสบการณ์ของผม ในแวดวงอุตสาหกรรม โดยเฉพาะที่เป็นสาขาเฉพาะด้าน พวก blue collar ในบาง field ก็เป็นพวกที่สำคัญเช่นกัน เพราะกว่าจะฝึกฝนให้มีความรู้ความชำนาญในระดับที่ทำงานได้คล่องแคล่ว ก็จำเป็นเหมือนกัน แต่ไม่เห็นมีใครทำ (หรือผมหาไม่เจอก็ไม่แน่ใจนะครับ) ก็เลยอยากทำเรื่องพวกนี้น่ะครับ

เผลอๆ อาจจะได้โมเดลใหม่สำหรับ blue collar ก็ได้ ต้องลองดูครับ

ดีมาก

ถ้าไม่เหมือนใคร ก็ "คิดริเริ่ม"

และถ้า "คิดริเริ่ม" ก็คือ "คิดสร้างสรรค์"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท