ประสบการณ์จากหอผู้ป่วย


ฉันโชดดีที่มีทีมงานที่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ได้ประสบการณ์มากๆจากทีม ผู้ป่วยและครอบครัว

ฉันโชดดีที่มีทีมงานที่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน  ได้ประสบการณ์มากๆจากทีม  ผู้ป่วยและครอบครัว

ถ้าเปรียบกับหนัง  บางครั้งฉันมีโอกาสได้เป็นนางเอกบ้าง  ตัวประกอบบ้าง  ชีวิตกับการทำงานสนุก  มีชีวิตชีวาได้ทุกๆวันค่ะ  

ดูหนึ่งในตัวอย่างที่ฉันเคยบันทึกไว้นะคะ

 http://gotoknow.org/file/birdleela/ward.doc

หมายเลขบันทึก: 192503เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2008 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

การเรียนรู้ผู้ป่วยเบาหวานและครอบครัว

ประสบการณ์จากหอผู้ป่วย

กรณีผู้ป่วยคนที่ 1 อายุ 65 ปี มา Admit รพ. 4 ครั้งแล้วในช่วง 2 เดือนนี้ด้วยภาวะ hypoglycemia ทุกครั้ง

แพทย์ผู้รักษางดยา DM แล้วตั้งแต่ Admission ครั้งๆก่อน แต่ผู้ป่วยมีปัญหารับประทานอาหารได้น้อยมาก มื้อละ 2-3 คำมาตลอด 2 เดือนนี้ ร่วมกับมีอาการสับสน นอนไม่หลับ

Admission ครั้งนี้ ผู้ป่วยยังคงมีปัญหารับประทานอาหารได้น้อยมาก มื้อละ 2-3 คำเหมือนเดิม ต้อง On IV Fluid 10% D/N/2 ตลอด แต่ยังมีภาวะ hypoglycemia BS ต่ำตลอดระยะเวลาที่นอนรพ.มา 6 วัน ทั้งๆที่งดยาเบาหวานแล้ว

Admission ครั้งนี้ พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการปรึกษากับแพทย์หลายๆคนเพื่อช่วยแก้ปัญหาผู้ป่วย Intern  Staff Staff ที่ร่วม round Ward Staff ที่ออกตรวจใน DM Clinic

(สังเกตพบว่า ผู้ป่วยมีลักษณะผิวหนัง ใบหน้า แขนขา คล้าย steroid withdrawal - ผิวหนังบาง ใบหน้าบวม แขนขาลีบเล็ก) ในที่สุดแพทย์ให้ยา prednisolone 1* 3pc หลังได้รับยา 2 doseผู้ป่วยรับประทานได้หมดถาด ( ตามที่โรงพยาบาลจัดให้ ) ผู้ป่วยสามารถจำหน่ายกลับบ้านได้ในวันรุ่งขึ้น DTX ก่อนจำหน่ายดีขี้น =192 mg%

กรณีผู้ป่วยคนที่ 2 อายุ 60 ปี เป็น DM มา 5 ปี Control DMได้ดี โรงพยาบาลอุดรธานีส่งกลับให้ไปรับยา DMต่อที่ สอ. ตั้งแต่ เม.ย.2547 มา Admit รพ.ครั้งนี้ด้วยภาวะ hypoglycemia เป็นครั้งที่ 2

จากการประเมินสภาพผู้ป่วย พบปัญหาที่น่าสนใจดังนี้

1.สมุดประจำตัวผู้ป่วย DM พบว่า ผล FBS ที่สอ. 2 พ.ค.48=50mg% แต่ผู้ป่วยยังคงได้รับยา DM เดิม Dose เดิม (Daonil 1*2 )

2.ผู้ป่วยให้ประวัติว่า ก่อนเกิดอาการ hypoglycemia ทำงานดายหญ้าจนเหนื่อยเหงื่อออกเยอะแต่ปริมาณอาหารที่รับประทานเท่าเดิม

3.ผู้ป่วยสูบบุหรี่วันละ 4 มวนทุกวัน

พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยดังนี้

1.ให้ข้อมูลแพทย์คลินิก DM /ประสาน วสค. เพื่อร่วมแก้ปัญหาเรื่องแนวการรักษาและส่งต่อรักษา ผู้ป่วย DM ใน PCU / สอ.

2.สอนผู้ป่วยและผู้ดูแล ถึง การประเมินภาวะ hypoglycemia และ hyperglycemia และการปรับอาหาร กิจกรรม และการออกกำลังกายที่เหมาะสม

3.ให้ผู้ป่วยศึกษา CD ความรู้เรื่องโรคDM 3 แผ่นต่อเนื่องที่บ้านร่วมกับครอบครัว ได้แก่ การมีชีวิตอยู่กับโรคเบาหวานอย่างปกติสุข อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และ การออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน

กรณีผู้ป่วยคนที่ 3 อายุ 75 ปี ทราบว่าเป็น DM และ HT มา 5 เดือน มาadmit ด้วยภาวะ hypogcemia

ปัญหาสำคัญทีพบคือ ผู้ป่วยและผู้ดูแลขาดทักษะในการประเมินภาวะ hypoglycemia และการปรับอาหาร-กิจกรรมและการออกกำลังกายที่เหมาะสม และผู้ป่วยสูบบุหรี่ทุกวัน วันละ 5 มวน

พยาบาล มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วย ดังนี้

1.สอนผู้ป่วยและผู้ดูแล ถึงการประเมินภาวะhypoglycemia และ hyperglycemia และการปรับอาหาร-กิจกรรมและการออกกำลังกายที่เหมาะสม

2.สร้างแรงจูงใจ ผู้ป่วยและผู้ดูแลในการงดสูบบุหรี่ (หลังผู้ป่วยจำหน่ายออกจากรพ. ได้รับข้อมูลจากบุตรว่า ผู้ป่วยงดบุหรี่มาได้ 1 สัปดาห์แล้ว)

3.ให้ผู้ป่วยศึกษา CD เรื่อง DM 3 แผ่นต่อเนื่องที่บ้านร่วมกับครอบครัว ได้แก่ การมีชีวิตอยู่กับโรคเบาหวานอย่างปกติสุข อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และ การออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน

กรณีผู้ป่วยคนที่ 4 อายุ 76 ปี Old CVA และ DM 3 ปี มา admit ด้วย ภาวะ hyperglycemia (Admit รพ. 4 ครั้งในช่วง 1 ปี admit ครั้งนี้ หลังสอ.ไปเยี่ยมบ้าน 1 วันและเป็น readmission ภายใน 28 วัน ด้วยอาการเดิม คือ hyperglycemia)

ปัญหาสำคัญของผู้ป่วยคือ

1.การควบคุมอาหาร (ผู้ดูแลและจัดหาอาหารให้ผู้ป่วยรับประทานคือภรรยา) ภรรยาผู้ป่วยยังขาดความรู้เรื่องการเตรียมอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย

2.Admitครั้งก่อน ให้ยา Daonil และASA gr 5 2 เดือน แต่แพทย์ไม่นัด FU เพื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยและผู้ดูแลเข้าใจว่าสามารถหยุดยาได้ แต่อาจไม่มารับการรักษาต่อ

พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วย ดังนี้

1.การสอนและให้ความรู้ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลในการดูแลตนเองโดยเฉพาะเรื่องการควบคุมอาหาร

2.ประสานแพทย์ผู้รักษาเรื่องการรักษา ย้ำผู้ป่วยให้ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาอย่างต่อเนื่อง

สรุปข้อค้นพบสำคัญจากประสบการณ์ครั้งนี้

1.พยาบาล เป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วย เพราะพยาบาลเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดผู้ป่วยที่สุด เป็นผู้ที่รู้ข้อมูลของผู้ป่วยและผู้ดูแลที่ดีที่สุด ถ้ามีการประเมินผู้ป่วยแบบองค์รวม การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างพยาบาลกับแพทย์ผู้รักษา ในประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุของการนอนรพ.ครั้งนี้ จะทำให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยมีความถูกต้องและครอบคลุมมากขึ้น

2.การมองปัญหาผู้ป่วยโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง มุ่งมั่นในการแสวงหาทีมงานและผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยแก้ปัญหาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยมีกำลังใจที่เข้มแข็งและกล้าหาญในการพิทักษ์สิทธิ์ผู้ป่วย จะทำให้เกิดทีมงานในการช่วยเหลือผู้ป่วยในปัญหาที่แก้ไขยากเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ในที่สุด

3.การเชื่อมโยงการดูแลจากรพ.และ PCU-สอ. ยังต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเป็นพี่เลี้ยง นิเทศและการติดตามกำกับการทำงานในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ทั้งในเรื่องการรับผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีจากรพ.เพื่อรักษาต่อที่PCU/สอ. การส่งผู้ป่วยกลับมารักษาต่อที่รพ.กรณีผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนไปและเกินศักยภาพPCU/ สอ..ในการรักษาต่อ การดูแลผู้ป่วยเบาหวานต่อเนื่องที่บ้าน และ ฯลฯ

4.D/P ทั้งในIPD และคลินิก DM ยังไม่เพียงพอในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยดูแลตนเองได้ ควรมีการปรับรูปแบบร่วมกันในทีมสหสาขา เพื่อสามารถประเมิน (Assess ) ผู้ป่วยได้ครอบคลุมองค์รวมและให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาผู้ป่วย เพื่อตอบสนองปัญหาผู้ป่วยได้ถูกต้องและครอบคลุม

5.แนวทางการรักษาและการนัด FU ผู้ป่วย DM ซึ่งเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง ยังมีรูปแบบหลากหลาย และบ่อยครั้งผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

สวัสดีค่ะ น้องเต้าเจี้ยว

  • เยี่ยมค่ะ ชื่นชมๆๆค่ะ

ขอให้คุณเต้าเจี้ยวและทีม 3ต มีกำลังใจทำงานต่อไปอย่าเพิ่งท้อ..เพราะ case แบบนี้มีเยอะมากในชุมชน ต้องเข้าถึงและเข้าใจ ใช้ความอดทนมากๆค่ะ

..น้องเจี้ยว ..ปลาดาวที่รัก...

...อ่านแล้วเห็นภาพชัดเจน..ปัญหาเบาหวานมีหลากหลายรูปแบบให้แก้ไข เราจะช่วยกันเก็บปลาดาวกันต่อไปเป็นกำลังให้เจี้ยวและทีมทุกคน..สู้ๆ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท